Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (1.ภาวะโลกร้อน bb781fe2-gp0stpznf…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
1.ภาวะโลกร้อน
ปัญหา
เกิดจากการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas)
สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon)
กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
อื่นๆ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
-ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (น้ำมัน)
-ลดการใช้น้ำ
-ลดการใช้ไฟฟ้า
-การลดการใช้พลังงานอื่นๆ เช่น อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง
2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย
โมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้
อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ีต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน
ถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
สาเหตุ
การเผาไหม้เชื้อเพลิง
การผลิตซีเมนต์
การเผาไม้ทำลายป่า
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง
ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค
อื่นๆ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน
ขับรถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง
เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ
อื่นๆ
3.ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ปัญหา
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตามเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา 2 - 3 เดือนหรือนานกว่า เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO" หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
สาเหตุ
กิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก
ผลกระทบ
ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนีโญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกาตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนัก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
1.ช่วยกันรักษาความสะอาดไม่ให้เกิดมลพิษ เพราะมลพิษจะไปทำลายชั้นบรรญากาศของโลกได้
2.ปลุกต้นไม้ เพื่อลดภาวะโลกร้อน
4.ฝนกรด
ปัญหา
ปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
สาเหตุ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ฝนกรดเคยเกิดขึ้นที่
ผลกระทบ
ผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
ฝนกรดจะทำการละลายและพัดพาปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นไม้ไป นอกจากนี้แล้วอาจจะยังละลายสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในดิน เช่นอะลูมิเนียม (aluminum: Al) และปรอท (mercury: Hg) โดยพัดพาสารเหล่านี้ลงไปในแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบนิเวศในน้ำต่อไป
ผลกระทบที่มีต่อต้นไม้
นอกจากต้นไม้จะได้รับผลกระทบจากการที่สารอาหารในดินถูกชะล้างไปแล้ว ฝนกรดเหล่านี้ยังเป็นอันตรายต่อใบของพืชด้วย โดยการกัดกร่อนใบ ทำให้เกิดรูโหว่ ทำให้พืชขาดความสามารถในการผลิตอาหารจากการสังเคราะห์ด้วยแสง
ผลกระทบต่อการเกษตร
เมื่อฝนกรดตกลงมาจะทำให้พืชผล ส่วนมากตายลง เนื่องจากพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
เมื่อฝนกรดตกลงมาจะทำให้พืชผล ส่วนมากตายลง เนื่องจากพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
เมื่อฝนกรดตกลงมาและถูกดูดซึมลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ จะทำให้ น้ำบริสุทธิ์ในธรรมชาติทั่วไป มักจะเป็นกรดอ่อน ๆ หรือเบสอ่อน ๆ
ผลกระทบที่มีต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์
ฝนกรดอาจทำความเสียหายอย่างรุนแรงกับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของมนุษย์
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์น้อย
ปรับปรุงการสันดาป เพื่อควบคุมการเกิดสารประกอบออกไซด์ไนโตรเจน ด้วยการลดอุณหภูมิให้ต่ำลงกว่า ๑๕๐๐ องศาเซลเซียส
ควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการสันดาป
5.รูโหว่โอนโซน
ปัญหา
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
สาเหตุ
ปรากฏการณ์ที่ปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์ลดลง สาเหตุที่โอโซนถูกทำลายเกิดจาก คลอรีนซึ่งมาจากการใช้สาร CFC และปฏิกิริยาลูกโซ่ของออกไซด์ของไนโตรเจน ปฏิกิริยานี้จะเกิดอย่างรวดเร็วบนอนุภาคน้ำแข็ง ทำให้ทวีปแอนทาร์กทิกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 80 องศาเซลเซียส มีปริมาณโอโซนลดลงอย่างรวดเร็ว ผลของการลดลงของโอโซนทำให้การเกิดมะเร็งผิวหนังมีมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ มีความพยายามในการลดการสูญเสียโอโซน โดยการทำข้อตกลง วางมาตรการต่าง ๆ เพื่อหยุดการผลิตและใช้สารทำลายโอโซนตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา แต่สถานการณ์จะดีขึ้นต้องใช้เวลานาน เนื่องจากสารที่ทำลายโอโซนใช้เวลานานในการสลายตัวจากชั้นบรรยากาศ เช่น CFC - 11 อยู่ในบรรยากาศนานถึง 50 ปี รวมทั้งการเฝ้าระวังและศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสารเคมีในชั้นบรรยากาศและโอโซน
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องของอันตรายจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต ที่เป็นต้นเหตุของทั้งมะเร็งผิวหนัง และต้อกระจก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสียและวาตภัย
รวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
6.ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
ปัญหา
การเผาในที่โล้งแจ้ง เช่น การเผาเศษวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตรในที่ราบหรือที่ดอน การเผาขยะ การเผาพื้นที่ไร่หมุนเวียนในที่สูงเพื่อเตรียมการเพาะ
สาเหตุ
การจราจรเรียกว่าเป็นสัดส่วนหลัก เพราะกรุงเทพรถติดจึงทำให้เกิด PM 2.5 เป็นจำนวนมาก การเผาไหม้ในที่โล่ง เช่น เผากระดาษ การเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้านทำให้เกิดมลพิษข้ามแดน
ผลกระทบ
สุขภาพอ่อนแอ เกิดการเจ็บป่วย
เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการใช้รถส่วนตัว
เพิ่มการใช้รถสาธารณะ
ใช้รถระบบไฟฟ้าหรือระบบไฮบริค
7.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหา
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านปริมาณที่ลดน้อยลงจนใกล้ ภาวะขาดแคลน และด้านคุณภาพ เช่น ดินเสื่อมสภาพ แม่น้ำเน่าเสีย เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดสภาพเสื่อมโทรมและลดลง อย่างรวดเร็ว วิกฤตการณ์ทรัพยากรดินในประเทศไทย
สาเหตุ
สาเหตุจากธรรมชาติ
ไฟป่า
น้ำท่วม
แผ่นดินไหว
ภูเขาไฟระเบิด
สาเหตุจากมนุษย์
การเพิ่มของประชากร
การขยายตัวของชุมชนเมือง
เทคโนโลยีสมัยใหม่
การสร้างสิ่งก่อสร้าง
การกีฬา
การสงคราม
ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผลกระทบ
การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่า มนุษย์จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ จะมีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมง เป็นต้น
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ
การรักษาสมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษาสมดุลธรรมชาติ
กิจกรรมทางด้านอุตสหกรรม โดยไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดิน ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง พังทลายของดิน และปัญหาน้ำทิ้ง จากเหมืองลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดพลพิษทางน้ำ
กิจกรรมทางการเกษตร เช่น มีการใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เนื่องจากมีการสะสมสารพิษ ไว้ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตราย ในระยะยาวและเกิดความสูญ ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเจ็บป่วย ของประชาชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง
กิจกรรมการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการคำนึงถือสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปริมาณขยะที่มากขึ้น จากการบริโภคของเรานี้ ที่มากขึ้นซึ่งยากต่อการกำจัด โดยเกิดจาการใช้ทรัพยากร อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ลดน้อยลง เป็นต้น
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
ใช้ทรัพยากรให้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ปลูกต้นไม้ทดแทนตลอด
8.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สาเหตุ
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกินพอใช้ สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังทรงมุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ให้คุ้มค่าแต่ไม่เป็นการทำลายธรรมชาติ โดยจะต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป เช่น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
ผลกระทบ
ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่า ใช้จ่ายต่างๆ
ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
แนวทางจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
ทางตรง
การใช้อย่างประหยัด
การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก
การบูรณซ่อมแซม
การบำบัดและการฟื้นฟู
การใช้สิ่งอื่นทดแทน
การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน
ทางอ้อม
การพัฒนาคุณภาพประชาชน
การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย
ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี
การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล