Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สืบค้นข้อมูลและอธิบายผลของการสำรวจพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้พืชและแม…
สืบค้นข้อมูลและอธิบายผลของการสำรวจพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้พืชและแมลงอันน่าอัศจรรย์ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
-
-
การก่อตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อสพ.) ได้รับการก่อตั้งตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยบุคคลที่ได้ชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม องค์การสวนพฤกษศาสตร์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาจนถึงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 จึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "สวนพฤกษศาสตร์แม่สา" เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่กรมป่าไม้จัดตั้งขึ้นให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ประจำภาคเหนือของประเทศไทย หลังจากที่ได้มีการสถาปนาองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขึ้น สวนพฤกษศาสตร์แม่สาก็ได้รับการโอนย้ายมาสังกัด อ.ส.พ. และได้รับการวางแผนและพัฒนาให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับสากลแห่งแรกของประเทศ มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรพืช ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ว่า "สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์"
ข้อมูลทั่วไป
-
มีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบๆได้
-
-
อาคารสารนิเทศ (Information Center)
ผู้มาเยี่ยมชมสามารถสอบถามข้อมูลทั่วไปและรับเอกสารแจกได้ที่เคาน์เตอร์ฝ่ายประชาสัมพันธ์ซึ่งอยู่ภายในห้องโถงของอาคาร ผู้สนใจสามารถขอชมวิดิทัศน์ และ มัลติวิชั่น สไลด์ เกี่ยวกับประวัติและการดำเนินงานของสวนพฤกษศาสตร์ฯ ได้โดยแจ้งความจำนงที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ บริการอื่นๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำดื่ม โทรศัพท์สาธารณะ สุขา ห้องขายของที่ระลึก และห้องปฐมพยาบาล
อาคารฝ่ายบริหาร (Administration Building)
เป็นที่ทำการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และเป็นที่ตั้งของสำนักอำนวยการ และสำนักพัฒนาธุรกิจ
อาคารสำนักพัฒนาและปลูกบำรุง (Garden Department)
ประกอบด้วยอาคารที่ทำการของสำนักพัฒนา-ปลูกบำรุง และกลุ่มอาคารเรือนกระจก (Conservatory and Glasshouses) อันเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมพรรณไม้ที่ปลูกตกแต่งภายในโรงเรือนไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งพรรณไม้หายาก และพืชสมุนไพร โรงเรือนกระจกใหญ่สุดมีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร สูง 33 เมตร ใช้เป็นโรงเรือนแสดงพรรณไม้เขตร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Tropical House) โรงเรือนกระจกอื่นๆ ได้แก่ โรงเรือนแสดงไม้น้ำ (Aquatic House) โรงเรือนไม้เขตแล้ง (Arid House) โรงเรือนกล้วยไม้และเฟิน (Orchid and Fern House) และ โรงเรือนรวบรวมพรรณไม้จำพวกไม้ประดับ พืชสมุนไพร เครื่องเทศ และ พืชผักพื้นบ้าน เป็นต้น
กลุ่มอาคาร “ศูนย์วิจัยและพัฒนา สง่า สรรพศรี” (Sanga Sabhasri Research and Development Center)
ประกอบด้วย 3 อาคาร คือ
- อาคารหอพรรณไม้ (Herbarium) เป็นสถานที่เก็บตัวอย่างพรรณไม้ที่ผ่านการอัดและอบแห้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบอนุกรมวิธานพืช มีห้องสมุดพฤกษศาสตร์ที่เปิดบริการให้นักวิชาการและผู้สนใจได้มาค้นคว้า (เฉพาะเวลาราชการ) มีศูนย์ข้อมูลพืช ที่จัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเก็บพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ภายในสวนฯ ข้อมูลตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ฯลฯ ซึ่งจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
- อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Science Museum) ปัจจุบันเปิดเป็นบางส่วนให้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการชั่วคราว ซึ่งจัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปี
3.อาคารวิจัย (Laboratory) เป็นสถานที่ปฏิบัติงานทดลองวิจัยของนักวิจัยจากสวนพฤกษศาสตร์ฯ และนักวิจัยในโครงการความร่วมมือจากสถาบันอื่น งานวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน คืองานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) งานอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ (Seed Conservation) งานพฤกษเคมี (Phytochemistry) และงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
อาคารศูนย์ฝึกอบรม (Training Center)
ประกอบด้วยอาคารประชุมสัมมนา ห้องพักที่ทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ภัตตาคาร สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย ฯลฯ ปัจจุบัน อ.ส.พ. อนุญาตให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการใช้ชื่อว่า “The Botanic Resort” นอกจากนี้แล้ว ยังมีค่ายพักแรมเยาวชน สำหรับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักเรียน –นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ได้เรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง
-
-
- เส้นทางพันธุ์ไม้ไทยและพืชสมุนไพร
เส้นทางนี้เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ไทยไว้กว่า 1,000 ชนิด อาทิ พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระหว่างเส้นทางเดินท่านจะพบพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และป้ายสื่อความหมายที่อธิบายสรรพคุณของพืชสมุนไพร แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ และมีการเสริมภูมิทัศน์ด้วยกล้วยไม้ไทยนานาชนิด ให้ความสวยงามและร่มรื่น เส้นทางเดินจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
- เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail)
ชาติ หรือ ไม้เลื้อย คือ พรรณไม้ที่ต้องการสิ่งที่อาศัยสิ่งยึดเกาะ (supporter) อื่นๆ ในการเลื้อยพันและยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้นในการเจริญเติบโต เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวไว้เองได้ นักพฤกษศาสตร์คาดว่าในประเทศไทยมีวัลยชาติอยู่ประมาณ 60 วงศ์ 160 สกุล รวมประมาณได้กว่า 2000 ชนิด และกว่าครึ่งของพืชจำนวนนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ส่วนใหญ่จะมีคุณค่าทางโภชนาการหรือสมุนไพรมีความสวยงาม สามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี สำหรับเส้นทางวัลยชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์นั้น เป็นเส้นทางทอดยาวไปตามสันเขา บางตอนค่อนข้างชัน มีการจัดปลูกพืชไม้เลื้อยไว้ตลอดทั้งสองข้างทาง รวมมากกว่า 250 ชนิด ระยะทางประมาณ 800 เมตร
- เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail)
เส้นทางนี้ผ่านแปลงรวมพันธุ์กล้วย บอน ปาล์ม เฟิน แปลงขิงข่า ปรง และสน ระยะทางประมาณ 600 เมตร
-
กลุ่มอาคารเรือนกระจก (Glasshouse Complex)
กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยเรือนกระจก 12 โรงเรือน ภายในจัดปลูกตกแต่งพรรณไม้ไว้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะพรรณไม้หายากและมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ เป็นสถานที่ที่นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งผู้สูงอายุ และเด็กๆ สามารถเข้าเที่ยวชม เรียนรู้สัมผัสคุณค่า และความงดงามของพรรณไม้ได้ตลอดทั้งปีทุกฤดูกาล
-
เรือนกระจกใหญ่
- เรือนแสดงไม้ป่าดิบชื้น จัดแสดงสภาพป่าและพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ สร้างบรรยากาศภายในด้วย เครื่องพ่นหมอกให้มีความชุ่มชื้นสูง นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งพื้นที่เป็นเนินเขาและน้ำตก มีทางเดินยกระดับเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้ชื่นชมความสวยงามของเรือนยอดพืชจากมุมสูงอย่างทั่วถึง
.
-
- เรือนไม้น้ำ จัดแสดงไม้น้ำและพืชชุ่มน้ำชนิดต่าง ๆ โดยเน้นพันธุ์บัวของไทย เป็นหลักและเสริมด้วยพรรณไม้น้ำ ไม้ชุ่มน้ำต่างๆ และพืชกินแมลง
- เรือนกล้วยไม้และเฟิน จัดแสดงกล้วยไม้และเฟิน
- เรือนพืชทนแล้ง จัดแสดงพืชไม้แล้ง พืชสกุลกระบองเพชรชนิดต่างๆ พืชสกุลศรนารายณ์ กุหลาบหิน เสมา และไม้แล้งทรงสูงหรือที่ยกลำต่างๆ
.
-
- เรือนรวมพรรณบัว จัดแสดงพรรณบัวต่างๆ โดยรวมพรรณบัวโดยเฉพาะของไทยและของเอเชีย
- เรือนแสดงพันธุ์สัปปะรดสี จัดแสดงพันธุ์สัปปะรดสีที่มีการนิยมปลูกกันในประเทศไทย
- เรือนแสดงบอนสีและหน้าวัว จัดแสดงบอนสี บอนป่า หน้าวัว ไม้ด่าง ไม้แคระ และพืชขนาดเล็กที่สวยงาม
- เรือนแสดงส้มกุ้ง จัดแสดงพืชสกุลส้มกุ้งที่รวบรวมจากทั่วประเทศและชนิดที่สวยงามจากต่างประเทศ
- เรือนแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ด่าง จัดแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ลูกผสมและไม้ต่างประเทศที่พบทั่วไปในท้องตลาด
- เรือนแสดงไม้ไทยหายาก จัดแสดงไม้ไทยและไม้ไทยหายากชนิดต่างๆ มีป้ายชื่อบอกรายละเอียดโดยย่ออย่างชัดเจน
11,12 เรือนแสดงพืชสมุนไพร จัดแสดงพืชสมุนไพรของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมป้ายบอกชื่อสรรพคุณต่างๆ โดยย่อ
-