Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอมเส้นทางเดินศึก…
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอมเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอย
อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 43 ของถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จัดเป็นเส้นทางเดินที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ได้ชมพันธุ์ไม้หายาก เช่น กุหลาบพันปี บีโกเนียป่า ฯลฯ และสัตว์สงวนกวางผา นอกจากนี้กิ่วแม่ปานยังเป็นจุดชมทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ด้านหลังของ พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
เส้นทางกิ่วแม่ปานมีลักษณะเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไปทางทิศตะวันตก จนกระทั่งถึงบริเวณสันกิ่วแม่ปาน และอ้อมวกลงมาทางทิศใต้ตามสันกิ่วซึ่งเป็นทางลาดชันลงและสุดท้ายจะวกกลับมาทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางลาดชันขึ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อไปบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีความยาวประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ทางเดินมีทั้งเดินขึ้นเขา ลงเขา และพื้นราบผ่านป่า
เตรียมตัวไปกิ่วแม่ปาน
ในหน้าหนาวกิ่วแม่ปานมีอากาศหนาวมาก อุณหภูมิในตอนเช้าต่ำถึง 0-9 องศา และอาจมีอุณหภูมิติดลบที่ยอดหญ้าจนเกิดเป็นน้ำค้างแข็ง (แม่คะนิ้ง) นักท่องเที่ยวที่มาช่วงฤดูหนาว รอบเช้า ให้เตรียมเสื้อกันหนาว ถุงมือ หมวกใส่ไปด้วย ส่วนรอบบ่ายแดดค่อนข้างแรง ควรเน้นเสื้อผ้าที่กันแดด ไม่หนา และควรนำน้ำดื่มติดตัวไปด้วย
เส้นทางกิ่วแม่ปาน 21 จุด
- เฟิร์นยุคโบราณ บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเฟิร์นใบบางที่สุดในโลก มีมาแต่โบราณประมาณ 230 ล้านปี ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
- ป่าเมฆ ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว เช่น หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
- ป่าต้นน้ำ กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
- พรรณพืชไม้ป่าเมฆ ต้นก่อ (ต้นโอ๊ค) ต้นทะโล้ ต้นหว่าอ่างกา (พืชเฉพาะท้องถิ่น) ในป่านี้เป็นต้นไม้เมืองหนาว มีการปรับตัวให้อยู่ได้ในป่าหนาวและชุ่มชื้นสูง
- ป่าซ่อมป่า ป่าเมฆที่มีลมพัดแรง มักมีไม้หักโค่น ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มทำให้เกิดแสงส่องลงมายังพื้นดิน ต้นไม้รุ่นใหม่จึงงอกมาซ่อมแซม เป็นวงจรการพื้นฟูตนเองของป่า
- 1 more item...
ไบโอมบนบก
ไบโอมบนบก (terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้แบ่งออกได้หลายไบโอม แต่ไบโอมบนบกที่สำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่ ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลักใบในเขตอบอุ่น ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทราย และไบโอมทุนดรา เป็นต้น
ไบโอมป่าดิบชื้นป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมรอกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวิปเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิกลักษณะของภูมออากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายนับพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
-
ไบโอมป่าสน (coniferous forest) ป่าไทกา (taiga) และ ป่าบอเรียล (boreal) เป็นป่าประเภทเดียวกันที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปีพบได้ทางตอนใต้ของแคนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย และยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45-67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิอากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้งพืชเด่นที่พบ ได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) และเฮมลอค (hemlok) เป็นต้น
-
ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ทุ่งหญ้าแพรี่ (prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้าสเตปส์(steppes) ของประเทศรัสเซีย เป็นต้น สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชืดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี้ด้วย
-
ไบโอมทะเลทราย (desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางแห่งค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบเก็บสะสมน้ำ ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
-
ไบโอมทุนดรา (tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนานฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ทุนดราพบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยมาก ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินจะละลาย แต่เนื่องจากน้ำมาสามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้นๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย
-
ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่นป่าผลัดในใบเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest) พบกระจายทั่วไปในละติจูลกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปีและมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ต้นไม้จะทิ้งใบ หรือผลัดใบก่อนที่จะถึงฤดูหนาวและจะเริ่มผลิใบอีกครั้งจากฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึง ไม้ล้มลุก
-
ไบโอมสะวันนา (savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้ขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักมีไฟป่า เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ
-