Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อมระดับโลก (ภาวะโลกร้อน hot4…
ปัญหาทรัพยากร
และ
สิ่งแวดล้อมระดับโลก
ภาวะโลกร้อน
ผลกระทบ
สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว หรือ Car Pool
ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัด
ลดการใช้พลาสติก
ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์
สร้างนโยบาย 5Rs- Reduce, Reuse, Recycle ,Reject ,Repair
สาเหตุ
เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก
ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม
ปัญหา
การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คือ
วิธีการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะมีแนวทางเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำทรัพยากรหรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ให้ประโยชน์
ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติ/โครงการพระราชดำริ
โครงการหญ้าแฝก
ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม
การปลูกป่าทดแทน
เป็นแนวทฤษฏีการพัฒนาป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม , ปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา และ ปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง
กังหันน้ำชัยพัฒนา
เป็นเครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำเพื่อบำบัดน้ำเสีย
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
การพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน ช่วยควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลท่วมผืนดินและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง รวมทั้งลดปัญหาดินเปรี้ยว
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ผลกระทบ
ผลกระทบที่เกิดจากเอลนีโญ
เชิงบวก
ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
ทำให้ธุรกิจบางชนิดได้รายได้ดี
เชิงลบ
ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง
ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม
ผลกระทบที่เกิดจากลานิลญ่า
มักเป็นประโยชน์สำหรับฤดูมรสุม
ทำให้ฝนตกหนักในออสเตรเลีย ซึ่งเกิดเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่ง
ทำให้เกิด
ฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย
มีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักและอุทกภัย
ทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกา
ตอนกลางตะวันตก
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ปลูกต้นไม้มากๆ
ลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงและพลังงานต่างๆ
ช่วยกันรักษาความสะอาดของชุมชนไม่ทำให้มีขยะเน่าเสีย
สาเหตุ
เอลนีโญ เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง
ลานีญา เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ปรากฏการณ์ลานีญา
ปัญหา
เอลนีโญ ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
ผลกระทบ
เมื่อหมอกควันและฝุ่นละอองที่เกิดการสะสมจากมลพิษของมนุษย์มีปริมาณมากขึ้นจนหมอกควันเหล่านี้ไปไหนไม่ได้ มันจึงลอยตัวอยู่บนอากาศที่เราใช้หายใจอย่างหนาแน่น
ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆเข้าไปในร่างกายของผู้คนและสัตว์ทำให้เกิดโรคต่างๆที่เป็นอันตราย
พืชอาจล้มตายได้ ส่งผลต่อการบริโภค เศรษฐกิจ
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ลดการเผาไหม้ต่างๆ เช่น น้ำมัน เชื่อเพลิงฟอสซิล
ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 และหมอกควันต่างๆเมื่อต้องออกจากบ้าน
ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ในบ้านหรือสถานที่ต่างๆ
สาเหตุ
หมอกควัน
เมื่อระบบอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อากาศไหลย้อนกลับลงสู่พื้นดิน เหล่าหมอกควันที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดินจึงไม่มีที่ไป มันจึงปกคลุมไปทั่วพื้นผิวส่งผลให้เรามักเห็นหมอกในยามเช้าบนภูเขา ทะเลสาบ หรือหมอกควันจากมลพิษในกรุงเทพ และมันจะไม่หายไปไหนจนกว่าอุณหภูมิของชั้นอากาศร้อนนั้นหายไป เหมือนดังที่เราเห็นหมอกหายไปหลังจากที่พระอาทิตย์ขึ้นไปได้สักพักหนึ่งแล้ว
ฝุ่นละออง PM 2.5
เกิดจากการเผา การสันดาปของเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งฝุ่นชนิดนี้มีความอันตรายเป็นอย่างมากเพราะด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ ของมันนั้นระบบป้องกันของมนุษย์ไม่สามารถที่จะกรองและกำจัดได้ทำให้ฝุ่นพวกนี้สามารถหลุดรอดเข้าไปภายในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้โดยง่าย
ปัญหา
หมอกควันและฝุ่นละอองจะเริ่มลอยตัวอยู่เหนือเมือง และดูไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลง โดยหมอกควันและฝุ่นละอองเหล่านี้นอกจากจะทำลายทัศนียภาพของเมืองแล้วยังทำลายสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงและน่ากลัว ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆตามมาอีกมากมายด้วย
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ลดการใช้น้ำมัน
ลดการเผาที่ทำให้เกิดมลพิษ
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลง
นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่
รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุดและลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า
ผลกระทบ
ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยและอุณหภูมิสูงสุดในที่ต่างๆสูงขึ้น เป็นผลให้มีจำนวนวันที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติสืบเนื่องจากภูมิอากาศ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัจจัยเสริมให้เกิด โดมความร้อน (Urban heat island) ที่รุนแรงขึ้นในเขตเมืองซึ่งมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการกักเก็บความร้อนอยู่แล้วอีกด้วย
และคาดว่าการเพิ่มสูงของอุณหภูมิเฉลี่ยยังส่งผลให้เกิดความต้องการพลังงาน พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นสูงขึ้น ทำให้เกิดการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า และอุปโภคบริโภค
สาเหตุ
เกิดจากก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ , มีเทน , ไนตรัสออกไซด์ , CFC
โดยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน
ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟราเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงานพวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
ปัญหา
ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้เกิดการเก็บสะสมความร้อนอยู่ภายในชั้นบรรยากาศที่ตัดความร้อนเอาไว้ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้โลกร้อนมากขึ้น โดยยิ่งมีแก๊สเรือนกระจกมากขึ้นเท่าไรความร้อนก็จะถูกกักไว้ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้โลกยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คือ
การจัดการ จัดสรร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการในระดับต่างๆของมนุษย์ โดยยึดหลักการอนุรักษ์ ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด ประหยัด และก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
แนวทางการปฏิบัติ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ใช้อย่างฉลาด หรือใช้ตามความจำเป็น ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย และไม่เกิดการสูญเปล่า หรือเกิดการสูญเปล่าน้อยที่สุด
การปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งที่เสื่อมโทรมให้คืนสภาพก่อนนำไปใช้ เพื่อให้ระบบสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
อนุรักษ์และคงไว้ซึ่งระบบสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเดิมให้ได้มากที่สุด
ประหยัดของที่หายาก และของที่กำลังสูญพันธุ์
ฝนกรด
ผลกระทบ
ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้
ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงของพืชลดลง
ทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ทำให้หินและสิ่งก่อสร้างต่างๆเกิดการผุพัง
ทำให้แหล่งน้ำเป็นพิษ ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง
ระมัดระวัง การดื่มน้ำฝนที่เป็นกรดและสารพิษอื่นๆ ซึ่งตกลงมาผ่านอากาศที่เป็นมลพิษในเมืองใหญ่
ปรับปรุงการสันดาป เพื่อควบคุมการเกิดสารประกอบออกไซด์ไนโตรเจน
ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ
ใส่ปูนขาวหรือสารที่ลดความเป็นกรดลงในแหล่งน้ำ
สาเหตุ
เกิดจากการรวมตัวของน้ำฝนและแก๊สออกไซด์ต่างๆ ของโลหะที่เกิดจากควันเสียจากโรงงานอุตสากรรม รวมถึงควันจากการเผาไหม้อื่นๆ ปะปนอยู่ในอากาศ(ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ) จึงทำให้ฝนมีสมบัติเป็นกรด
ปัญหา
น้ำฝนที่ตกลงมาบนโลกที่มีค่าเป็นกรด มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6
รูโหว่โอนโซน
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
ควบคุมการใช้สารที่มีผลทำลายชั้นโอโซน โดยลดการใช้สารซีเอฟซี
งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร เช่น มลสารที่ทำให้อากาศเสีย ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสีย
ผลกระทบ
เมื่อรังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำให้ตาเป็นต้อกระจกได้ และที่สำคัญ เมื่อโลกได้รับรังสียูวีมากขึ้นหรือรังสีที่มีความร้อน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย
สาเหตุ
มีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน
ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
ปัญหา
ก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศที่ทําหน้าทีป้องกันโลกจากรังสีอันตรายนอกโลก คือรังสีอัลตราไวโอเล็ต ทีหากมีมากเกินไปก็จะแผดเผาสิ่งมีชีวตในโลกให้มอดไหม้ได้ โดยโอโซนจะกรองรังสี นีไว้ไม่ให้ลงมาถึงโลกมากเกิน
แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทําลายลงอย่างมากด้วยสาร CFC จากมนุษย์