Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (3.ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา (สาเหตุ…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
3.ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
สาเหตุ
เอลนีโญ-ลักษณะของกระแสลมและกระแสน้ำจะเปลี่ยนไป โดยลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง กระแสลมเปลี่ยนทิศเป็นตรงกันข้าม เนื่องมาจากความกดอากาศและอุณหภูมิในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญนี้มักเกิดในเดือนธันวาคม
ลานีญา-ปกติลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทางตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตก ซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน
ผลกระทบ
เอลนีโญ-อุณหภูมิของอากาศสูงกว่าปกติ บริเวณที่ฝนตกชุกกลับแห้งแล้ง เช่น ในปีพ.ศ. 2540-2541 ประเทศไทยก็ประสบภาวะแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญเช่นกัน
ลานีญา- ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง
ปัญหา
เอลนีโญ--ปรากฏการณ์สภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลันที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมาก
ลานีญา- อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออก
เเนวทางการเเก้ไข
เอลนีโญ-การวางแผนและนโยบายระดับชาติ และระดับระหว่างประเทศ การที่รัฐบาลต่างๆ
ลานีญา-
1.การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
2.การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น
2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก
เเนวทางการเเก้ไข
ลดการใช้น้ำมัน
ปิดเครื่องปรับอากาศ
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด
นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่
รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด
ปัญหา
การที่โลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหากไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด
ผลกระทบ
-นักวิจัยบางท่านคิดว่าทำให้มีพายุหมุน (hurricanes, typhoons, and cyclones) มากขึ้น
-ทำให้ธารน้ำแข็ง (glaciers) ละลายเร็วขึ้น ซึ่งทำให้ระดับทะเลสูงขึ้นเล็กน้อย
-มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะในทะเล
สาเหตุ
CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟราเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงานพวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
8.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระองค์ จะมีแนวทางเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำทรัพยากรหรือวัสดุต่างๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เพื่อการบำบัดน้ำเสียและใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดกับมลพิษทางน้ำของประเทศโดยแต่ละโครงการจะมีหลักการและสาระสำคัญ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
กังหันน้ำชัยพัฒนา
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
4.ฝนกรด
ผลกระทบ
สารพิษที่ละลายมาจากดินลงสู่แหล่งน้ำต่างหาก ในสวีเดน มีทะเลสาบมากกว่าหนึ่งหมื่นแห่งที่ได้รับผลกระทบจากฝนกรด ทำให้มีสารปรอทละลายอยู่เป็นจำนวนมาก ประชาชนบริเวณแถบนั้นได้รับการเตือนโดยทางการไม่ให้รับประทานปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำเหล่านั้น
สาเหตุ
กระบวนการที่ก่อให้เกิดฝนกรดนั้น เริ่มต้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ การเผาไหม้คือปฏิกิริยาเคมีที่ออกซิเจน ในอากาศรวมตัวกับคาร์บอน , ไนโตรเจน , ซัลเฟอร์ และสารอื่น ๆ ที่ประกอบอยู่ในสารที่เกิดการเผาไหม้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซนั้นเราเรียกว่าก๊าซออกไซด์
ปัญหา
น้ำฝนที่มีค่าความเป็นกรด-เบส (pH value) ต่ำกว่าระดับ ๕.๖ กรดในน้ำฝนเกิดจากการละลายน้ำของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนทริกออกไซด์ ที่มีอยู่ในบรรยากาศ
เเนวทางการเเก้ไข
โดยวิธีการลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่จะเข้าสู่บรรยากาศจากโรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ และโรงงานอุตสาห์กรรมทั่วไป
1.ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม
ผลกระทบ
สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติรวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลก
ปัญหา
การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
เเนวทางการเเก้ไข
-การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (น้ำมัน)
-ลดการใช้น้ำ เช่น ใช้น้ำอย่างประหยัด อาบน้ำใช้ฝักบัว ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาการล้างมือ เป็นต้น
-ลดการใช้ไฟฟ้า เช่น ปิดสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งานเป็นต้น
6.ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
สาเหตุ
แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
ผลกระทบ
จมูกของมนุษ์ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
ปัญหา
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์
เเนวทางการเเก้ไข
สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้คือ หน้ากาก N95 หรือจะใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้เช่นกัน
7.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด และการสงวนรักษา เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้ใช้ตลอดไป อย่างไม่ขาดแคลน
5.รูโหว่โอนโซน
สาเหตุ
ยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง
ผลกระทบ
ปริมาณของรังสีอัลตราไวโอเลตจำนวนมาก อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบรุนแรง เกิดโรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา รังสีอัลตราไวโอเลตยัง ลดความสามารถของร่างกายมนุษย์ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ
ปัญหา
เมื่อรังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
เเนวทางการเเก้ไข
ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การจำกัดจำนวนยานพาหนะ ซึ่งยานพาหนะที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุในการปล่อย
จำกัดการขับขี่ยานพาหนะส่วนตัวหรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะเดินหรือขี่จักรยาน
ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สารทำความสะอาดที่มีสารเคมีที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
เลือกใช้สินค้าในครัวเรือนที่มีอ่านฉลาก ตรวจสอบว่าไม่ได้มีสารทำลายโอโซน เช่น CFCs หรือ ฮาลอนและ hydrofluorocarbons
ทิ้งตู้เย็นเก่าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ของคุณ ได้อย่างถูกต้อง[7]
อ้างอิง