Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อมระดับโลก (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักเ…
ปัญหาทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อมระดับโลก
ฝนกรด
ผลกระทบ
ฝนกรดจะทำการละลายและพัดพาาปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นไม้ไป นอกจากนี้แล้วอาจจะยังละลายสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในดิน เช่นอะลูมิเนียม และปรอท โดยพัดพาสารเหล่านี้ลงไปในแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบนิเวศในน้ำต่อไป
ค่า pH จะอยู่ที่ประมาณ 6 – 8 อย่างไรก็ตามฝนกรดอาจทำให้ค่า pH ในแหล่งน้ำบางแหล่งลดลงต่ำกว่านั้น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้น ๆ รวมไปถึงความสามารถในการละลายออกซิเจนในน้ำที่ลดน้อยลง เมื่อน้ำไม่สามารถละลายออกซิเจนไว้ได้ สิ่งมีชีวิตใต้น้ำก็ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ
สาเหตุ
ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ ( NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำและสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (H2SO4) , กรดไนตริก (HNO3)
ปรากฎการณ์เรือนกระจก
ผลกระทบ
สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
สาเหตุ
การผลิต CO2 จากกิจกรรมทางอุตสาหกรรม (ที่เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล) เพิ่มขึ้นรวมทั้งกิจกรรมของมนุษย์ในการผลิตซิเมนต์และการทำลายป่า [21] ได้ทำให้ CO2 มีปริมาณความเข้มเพิ่มขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ
CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหินและใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถึง 98%
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและการทำปศุสัตว์
ก๊าซมีเทน (CH4)
เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต ก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โอโซน (O3)
โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O)
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟรีออน" (Freon) มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ เป็นต้น
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้น
จากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง
และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม
ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การบําบัดนํ้าเสียด้วยผักตบชวา
การบําบัดนํ้าเสียด้วยพืชนํ้าเเละการบําบัดนํ้าเสียผสมผสานกัน
การบําบัดนํ้าเสียด้วยระบบบ่อบําบัดเเละวัชพืชบําบัด
กังหันชัยพัฒนา
การกําจัดนํ้าเสียด้วยวิธีธรรมชาติ
การจัดการทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติและสินแร่- น้ำมันปิโตเลียมและก๊าซธรรมชาติ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หมดสิ้นได้เมื่อหมดแล้วก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ หรือถ้าเกิดใหม่ก็ต้องใช้เวลานานหลายล้านปีจึงจะเกิดมีขึ้น
ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด
ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
เอลนีโญ - ลานีญา
สภาวะเอลนีโญ
เมื่อเกิดเอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้น
บริเวณชายฝั่งจึงขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเลทำให้ชาวประมงเปรูขาดรายได้ ขณะที่เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้แต่ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ ไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียในบางปีเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
สภาวะลานีญา
เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
รูโหว่โอโซน
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
ฝุ่น PM2.5
คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์
ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด อาทิเช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้าง ซึ่งเป็น 2 สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่
อันตรายจากคุณสมบัติทางเคมีและองค์ประกอบของฝุ่นละออง เช่น
ฝุ่นละอองที่มีคุณสมบัติเป็นกรด อาจก่อการระคายเคืองและการอักเสบของทางเดินหายใจ ละอองน้ำลาย
ที่ลอยฟุ้งกระจายในอากาศจากการไอจามของผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ
เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายและการระบาด
ของโรคในหมู่ประชาชนที่รับสัมผัส
ส่วนละอองรา เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสที่ล่องลอยปะปนอยู่กับฝุ่นละอองก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน