Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก :star: และ :star…
:star:ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก :star:
และ
:star:แนวทางจัดการกับการอนุรักษ์ :star:
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
ภาวะโลกร้อน
ปัญหา
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
สาเหตุ
สาเหตุภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะโลกร้อน
ผลกระทบ
อุณหภูมิโดยรวมของโลกที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการถดถอยของธารน้ำแข็ง (glacial retreat) การลดขนาดของอาร์กติก (Arctic shrinkage) และระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้าทั้งปริมาณและรูปแบบอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง
วิธีแก้ปัญหา
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
สาเหตุ
คาร์บอนไดออกไซด์ การเผาไหม้หรือการใช้เชื้อเพลิงพวก ฟอสซิล (Fassil Fuesls) เพิ่มขึ้น กับการตัดไม้ทำลายป่าหรือการลดลงของปริมาณป่าไม้ของโลก
มีเทน การเกษตรแผนใหม่ที่เป็นอยู่ทั่วโลก การปลูกข้าวและการเลี้ยงสัตว์ปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงพลโลกที่เพิ่มขึ้นราว 2 เท่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนั้นก๊าซมีเทนยังเพิ่มขึ้นจากกองขยะ จอมปลวก เหมืองถ่านหิน การขุดเจาะน้ำมันและเขม่าควันจากการเผาป่า
คลอโรฟูลโอโรคาร์บอน (CFC) เป็นก๊าซชนิดใหม่ซึ่งเริ่มมีขึ้นในราว ค.ศ. 1930 ซึ่งนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ตู้เย็น สเปรย์ และพลาสติก
ไนตรัสออกไซด์ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนการเผาไหม้ซากพืชการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยถ่านหินและน้ำมัน
โอโซน เกิดขึ้นเนื่องจากบริเวณที่เกิดมลพิษ และการเกิดปฏิกิริยาเคมีจากแสงแดด (Photochemecal reaction) นอนจากนั้น ละอองน้ำในบรรยากาศยังก่อให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณเมฆในอากาศซึ่งจะก่อให้เกิดความหนาวเย็นได้เช่นกัน
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
วิธีแก้ปัญหา
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซักโดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ปัญหา
เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้
สาเหตุ
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี
ผลกระทบ
ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม
ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง
วิธีแก้ไขปัญหา
การประหยัดน้ำเป็นเรื่องสำคัญที่เราสามารถทำกันได้ง่ายๆ ทุกคน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะทำกิจกรรมใดๆ เช่น ระหว่างล้างหน้า แปรงฟัน แต่ควรเปิดเฉพาะช่วงที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น อาจเปลี่ยนจากการอาบน้ำฝักบัว มารองใส่ถังแล้วตักอาบแทน เป็นต้น
ฝนกรด
ปัญหา
ป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
สาเหตุ
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ
ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ผลกระทบ
ฝนกรดจะทำการละลายและพัดพาปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นไม้ไป นอกจากนี้แล้วอาจจะยังละลายสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในดิน เช่นอะลูมิเนียม (aluminum: Al) และปรอท (mercury: Hg) โดยพัดพาสารเหล่านี้ลงไปในแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายกับระบบนิเวศในน้ำต่อไป
วิธีแก้ไขปัญหา
การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์น้อย
ปรับปรุงการสันดาป เพื่อควบคุมการเกิดสารประกอบออกไซด์ไนโตรเจน ด้วยการลดอุณหภูมิให้ต่ำลงกว่า ๑๕๐๐ องศาเซลเซียส
ควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการสันดาป
การติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเพิ่มความยุ่งยากในการบำรุงรักษาอีกไม่น้อย การสร้างปล่องควันสูงลิบลิ่วไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ แต่เป็นการผลักภาระปัญหาจากสถานที่ใกล้เคียง ไปยังแหล่งที่อยู่ห่างไกลมากกว่าเท่านั้น
รูโหว่โอนโซน
ปัญหา
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
สาเหตุ
ปรากฏการณ์ที่ปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์ลดลง สาเหตุที่โอโซนถูกทำลายเกิดจาก คลอรีนซึ่งมาจากการใช้สาร CFC และปฏิกิริยาลูกโซ่ของออกไซด์ของไนโตรเจน ปฏิกิริยานี้จะเกิดอย่างรวดเร็วบนอนุภาคน้ำแข็ง ทำให้ทวีปแอนทาร์กทิกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 80 องศาเซลเซียส มีปริมาณโอโซนลดลงอย่างรวดเร็ว ผลของการลดลงของโอโซนทำให้การเกิดมะเร็งผิวหนังมีมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องของอันตรายจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต ที่เป็นต้นเหตุของทั้งมะเร็งผิวหนัง และต้อกระจก
วิธีแก้ไขปัญหา
ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
ปัญหา
การเผาในที่โล้งแจ้ง เช่น การเผาเศษวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตรในที่ราบหรือที่ดอน การเผาขยะ การเผาพื้นที่ไร่หมุนเวียนในที่สูงเพื่อเตรียมการเพาะ
สาเหตุ
การจราจรเรียกว่าเป็นสัดส่วนหลัก เพราะกรุงเทพรถติดจึงทำให้เกิด PM 2.5 เป็นจำนวนมาก การเผาไหม้ในที่โล่ง เช่น เผากระดาษ การเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้านทำให้เกิดมลพิษข้ามแดน
ผลกระทบ
สุขภาพอ่อนแอ เกิดการเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น
วิธีแก้ไขปัญหา
ใช้รถระบบไฟฟ้าหรือระบบไฮบริค
ลดการใช้รถส่วนตัว
เพิ่มการใช้รถสาธารณะ
แนวทางจัดการกับการอนุรักษ์
แนวทางจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
ทางตรง
การบูรณซ่อมแซม
การใช้อย่างประหยัด
การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก
การบำบัดและการฟื้นฟู
การใช้สิ่งอื่นทดแทน
การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน
ทางอ้อม
การพัฒนาคุณภาพประชาชน
การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย
ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี
การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกินพอใช้ สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังทรงมุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ให้คุ้มค่าแต่ไม่เป็นการทำลายธรรมชาติ โดยจะต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป เช่น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่า ใช้จ่ายต่างๆ
ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย