Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (รูโหว่โอโซน 886C1A3F-1813-4A55-B3D6…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูโหว่โอโซน
คือ
ปรากฏการณ์ที่ปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์ลดลง
สาเหตุ
คลอรีนซึ่งมาจากการใช้สาร CFC และปฏิกิริยาลูกโซ่ของออกไซด์ของไนโตรเจน ปฏิกิริยานี้จะเกิดอย่างรวดเร็วบนอนุภาคน้ำแข็ง ทำให้ทวีปแอนทาร์กทิกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 80 องศาเซลเซียส มีปริมาณโอโซนลดลงอย่างรวดเร็ว
วิธีป้องกัน
ประเทศต่าง ๆ มีความพยายามในการลดการสูญเสียโอโซน โดยการทำข้อตกลง วางมาตรการต่าง ๆ เพื่อหยุดการผลิตและใช้สารทำลายโอโซนตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา แต่สถานการณ์จะดีขึ้นต้องใช้เวลานาน เนื่องจากสารที่ทำลายโอโซนใช้เวลานานในการสลายตัวจากชั้นบรรยากาศ เช่น CFC - 11 อยู่ในบรรยากาศนานถึง 50 ปี รวมทั้งการเฝ้าระวังและศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสารเคมีในชั้นบรรยากาศและโอโซน
ผลกระทบ
ลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ เช่น ระบบภูมคุ้มกันโรคบกพร่อง รังสีUV-Bที่สามารถยับยังการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ทำให้การให้วัคซีนไม่เกิดผล มะเร็งผิวหนัง อันตรายต่อดวงตา เกิดต้อกระจกหรือตาบอดได้เพราดวงตาไวต่อแสง อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการเกิดมะเร้งชนิดมีลาโนมาภายในลูกตาอีกด้วย ผลกระทบต่อมหาสมุทรเกี่ยวกับวงจรชีวิตสัตว์ทะเล ทำลายแพลงตอนซึ่งเป็นแหล่งอาหารขั้นแรกของสิ่งมีชีวิตในทะเล รังสีUV-Bทำลายตัวอ่อนของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ผลกระทบต่อพืชบกเพราะรังสีมีผลต่อกิจกรรมการดูดซึมไนโตรเจนของจุลิทรีย์ มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำ พืชที่ด้รับรังสีUV-Bมากมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตช้า แคระเกร็น มลพิษอากาศเพิ่มขึ้นมีหมอกควันพิษและฝนกรดเพิ่มมากขึ้น เกิดความสเยหายต่อวัสดุ เช่นอุปกรณ์ที่มีสารประกอบจำพวกPVC พลาสติก โพลิยูริเทน โพรพิลีน ผลิตภัณฑ์ยาง สีทาบ้าน สีรองพื้น ก
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีป้องกัน
การประหยัดของที่หายาก และของที่กำลังสูญพันธุ์
การปรับปรุง ซ่อมแซมสิ่งที่เสื่อมโทรมให้คืนสภาพก่อนนำไปใช้ เพื่อให้ระบบสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ใช้อย่างฉลาด หรือใช้ตามความจำเป็น ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย และไม่เกิดการสูญเปล่า หรือเกิดการสูญเปล่าน้อยที่สุด
คือ
การดำเนินงานต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด และการสงวนรักษา เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้ใช้ตลอดไป อย่างไม่ขาดแคลน หรือมีปัญหาใดๆ
ปัญหาหมอกควันฝุ่นละออง PM2.5
สาเหตุ
2 สาเหตุหลักของมลพิษ อาทิเช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้าง
วิธีป้องกัน
สำหรับใครที่มีอาการภูมิแพ้ แพ้ง่าย เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ (ช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลง) ควรเตรียมยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ
หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงถ้าคุณไม่ได้สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองด้วยควรไปพบแพทย์ด่วนๆ
ไปหาซื้อ Mask หรือหน้ากากปิดปาก เอาไว้สวมป้องกันฝุ่นละอองก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง หรือซื้อติดกระเป๋าไว้เลย จะได้หยิบมาใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
คือ
ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด
ภาวะโลกร้อน
ผลกระทบ
ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น
วิธีป้องกัน
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สาเหตุ
มนุษย์หันไปพึ่งการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน และในกระบวนการการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นนี้จะสะสมอยู่ที่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้หลังคากระจกดังกล่าวหนาขึ้น และเก็บความร้อนในบริเวณพื้นผิวโลกไว้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
คือ
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
สาเหตุ
การตัดไม้ทำลายป่าหรือการลดลงของปริมาณป่าไม้ของโลก
ก๊าซชนิดใหม่ซึ่งเริ่มมีขึ้นในราว ค.ศ. 1930 ซึ่งนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ตู้เย็น สเปรย์ และพลาสติก
กการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนการเผาไหม้ซากพืชการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
คือ
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่ความถี่แสงที่ตามองเห็นผ่านชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่และทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น แล้วจะมีการแผ่พลังงานนี้ออกมาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำ
วิธีป้องกัน
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดล
ลม
เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์
พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน
ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา
สาเหตุ
เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี
ผลกระทบ
ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่ ทางลบ
ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม
ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง
ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่ ทางบวก
ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
ทำให้ธุรกิจบางชนิดได้รายได้ดี
คือ
เอลนินโญ คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่น ในช่วงเวลาช่วงหนึ่งๆ จากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตะวันตกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เมื่อการอุ่นขึ้นของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้างก็ส่งผลกระทบต่อการ หมุนเวียนของบรรยากาศแผ่ขยายกว้างออกไป
ลา นินญา (ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กหญิงตัวน้อย) คือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับเอลนิโน เป็นการสะท้อนกลับแบบบวก(Positive Feedback) กระแสน้ำเย็นเปรู จะไหลกลับมาในทิศทางเดิม เพราะลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมาทางเอเซียอาคเนย์ ทำให้เอเซียอาคเนย์ มีพายุรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอุทกภัย และทำให้ทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุก แต่จะช่วยยับยั้งการเกิดพายุในทวีปอเมริกาใต้
วิธีป้องกัน
1.จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อรวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน
2.การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน
3.การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
4.การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีอนุรักษ์
๑. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้และเข้าใจวิธีการอนุรักษ์และบำรุงดินให้สมบูรณ์อยู่เสมอ มีพระราชดำริว่า “... การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุมชื้นของผืนดิน...” นอกจากนี้มีโครงการจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินที่ว่างเปล่า แล้วจดสรรให้เกษตรกรผู้ไรที่ดินได้มีที่ทำกิน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง จัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา ให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล
๒. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อศึกษาค้นคว้ารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ต้นน้ำลำธารมีอยู่ทั่วประเทศ ดังกล่าวแล้วในเรืองการพัฒนาแหล่งน้ำ
๓. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เละทรัพยากรแหล่งน้ำเป็นสิ่งคู่กัน การทำลายป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและซึมซับน้ำเก็บไว้ ทำให้แหล่งน้ำสูญหายไปด้วย นอกจากนั้น เมื่อไม่มีป่าซึมซับ น้ำฝนที่ตกลงมาก็สูญเปล่า บางแห่งก็หลั่งไหล ลงท่วมพื้นที่ทำกินและบ้านเรือนจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปลูกป่าทดแทนป่าที่เสื่อมโทรมโดยใช้วิธี ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักป่า และช่วยกันปลูกป่ารักษาป่า “เพียงแต่อย่ารังแก และรบกวน” ป่าก็จะขึ้นเองโดยธรรมชาติ สร้างแหล่งน้ำให้เลี้ยงต้นไม้ และปลูกพันธุ์ไม้บางอย่างเสริมบ้าง
แนวทางจัดการ
ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง
คือ
มุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติไม่เบียดเบียนหรือก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ให้คุ้มค่าแต่ไม่เป็นการทำลายธรรมชาติ โดยจะต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป เช่น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
ฝนกรด
วิธีป้องกัน
สามารถทำได้โดยการลดตัวการที่จะทำให้เกิดฝนกรด โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง จะสามารถทำให้ค่าความเป็นกรดในน้ำฝนลดลงได้
สาเหตุ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ
ผลกระทบ
ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช
สัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ในหินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์
คือ
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย