Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก ((พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ และดูดซับรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่แผ่ลงมายังโลก จากเดิมที่รังสีและความร้อนนี้เข้าสู่ผิวโลกได้ในปริมาณน้อยเนื่องจากมีชั้นบรรยากาศที่ช่วยสะท้อนบางส่วนออกไปจากโลก แต่มลภาวะทางอากาศซึ่งสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมานาน ได้ดักจับความร้อนและเป็นสาเหตุให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งเรารู้จักปรากฏการณ์นี้ในชื่อของ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)"
มนุษย์เป็นสาเหตุให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง แม้ว่าพวกเขาจะไม่มั่นใจว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปในทางใดบ้าง แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวของโลกร้อนขึ้น ในอเมริกามีการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากฟอสซิลเพื่อจะผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาประมาณ 2 พันล้านตันในแต่ละปี ขณะเดียวกันในประเทศโลกที่สองก็เป็นแหล่งมลภาวะจากคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดจากภาคส่วนของการขนส่ง โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 1.7 พันล้านตันต่อปี
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้น มีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น การถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
คนเมืองเราปล่อยมลพิษเหล่านี้ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลกในปริมาณที่มหาศาล แต่การสะสมของมันในเมืองนั้นยังอยู่ในระดับที่พอรับได้ขององค์การอนามัยโลก เนื่องจากระบบอากาศจะพัดพาเจ้าฝุ่นเหล่านี้ให้ลอยขึ้นไปเหนือตัวเมือง เราจึงไม่ค่อยเห็นหมอกควันพิษสะสมที่เ้กิดจากฝุ่นพวกนี้ในวันปกติ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครนั้นมีตึกคอนกรีตสูงเรียงรายอย่างมากมาย ตึกเหล่านี้คือตัวกักเก็บความร้อนเป็นอย่างดี ตึกเหล่านี้จึงคายความร้อนออกอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืนทำให้อุณหภูมิของตึกลดลง ส่งผลให้อากาศรอบ ๆ ตึกลดลงตามไปด้วย
1.การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียที่รับมาจากคลองให้มีสภาพดีขึ้น โดยหนึ่งในโครงการปรับปรุงแหล่งน้ำที่สำคัญ
*ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงานแสงแดด และอื่น ๆ มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็คือ การกำหนดมาตรฐานเพื่อการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศและควบคุมแหล่งกำเนิดเพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด ตัวอย่างของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้นแล้ว ได้แก่ มาตรฐานค่าควันดำและค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ มาตรฐานคุณภาพอากาศเสียที่ระบายออกจากโรงงาน มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ มาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์ รถจักรยานยนต์และเรือ มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม มาตรฐานวัตถุมีพิษในอาหารและเครื่องสำอาง เป็นต้น
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรงห่วงใยในปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เมื่อชุมชนเมืองมีการขยายตัว จนทำให้หนองหานไม่สามารถรองรับน้ำเสียได้
*สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาทดลองวิจัยว่ามีปลาชนิดใดที่จะช่วยกินสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำเสียซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดน้ำเสียได้ มีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด โครงการวิจัยและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะมลพิษที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เนื่องจากภายในชุมชนยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ
กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำเพื่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยอาศัยวิธีการทำให้ออกซิเจนสามารถละลายลงไปในน้ำได้มากขึ้น
สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริก และกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
รังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำให้ตาเป็นต้อกระจกได้ และที่สำคัญ เมื่อโลกได้รับรังสียูวีมากขึ้นหรือรังสีที่มีความร้อน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย
ลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รูโหว่โอโซนเป็นเพียงชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซโอโซนอยู่บางเบาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดเป็นรูโหว่ที่ไม่มีก๊าซโอโซนอยู่เลย ในแต่ละปีก็จะมีขนาดของรูโหว่โอโซนแตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซน โดยแต่ละประเทศต่างได้ร่วมกันทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ในการลดการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก
เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้
และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง
ภาวะโลกร้อน
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ฝนกรด
รูโหว่โอโซน
ปัญหาหมอกควันpm2.5
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ