Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (8.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการสิ…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
1.ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
เกิดจากการที่มีแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไปแก๊สเรือนกระจกตัวหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อใช้งาน
เกิดจากมนุษย์ทำโรงงานอุตสาหกรรม
เกิดจากการจราจรติดขัด
ผลกระทบ
ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น และผลกระทบในตอนเริ่มต้นจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
ความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาวหากโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ
หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้
เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น
พยายามรับประทานอาหารให้หมด
ช่วยกันปลูกต้นไม้
เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก
2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก
สาเหตุ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้
อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
การเผาไหม้เชื้อเพลิง
การผลิตซีเมนต์
การเผาไม้ทำลายป่า
ผลกระทบ
ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น และผลกระทบในตอนเริ่มต้นจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาวหากโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
พืชน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะกรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด
กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ
หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน หรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก
นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุดและลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การเป็นปอดของโลกสืบไป
ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะโดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ เช่น ลดความเร็วในการขับรถลง
ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสมและค่อยๆ เหยียบคันเร่งรถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว
ทดลองเดินให้มากที่สุด
3.ปรากฏการณ์ เอลนีโญ ลานีญา
เอลนีโญ
สาเหตู
กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมา
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์
แนวทางการป้องกันแก้ไข
2.ปลุกต้นไม้ เพื่อลดภาวะโลกร้อน
1.ช่วยกันรักษาความสะอาดไม่ให้เกิดมลพิษ เพราะมลพิษจะไปทำลายชั้นบรรญากาศของโลกได้
ลานีญา
สาเหตุ
กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออก
ผลกระทบ
ลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
1.ช่วยกันรักษาความสะอาดไม่ให้เกิดมลพิษ เพราะมลพิษจะไปทำลายชั้นบรรญากาศของโลกได้
2.ปลุกต้นไม้ เพื่อลดภาวะโลกร้อน
4.ฝนกรด
สาเหตุ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ผลกระทบ
ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (smog) ที่ทำอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้หากมีมากถึงระดับหนึ่ง
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์น้อย
ปรับปรุงการสันดาป เพื่อควบคุมการเกิดสารประกอบออกไซด์ไนโตรเจน ด้วยการลดอุณหภูมิให้ต่ำลงกว่า ๑๕๐๐ องศาเซลเซียส
ควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการสันดาป
การติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเพิ่มความยุ่งยากในการบำรุงรักษาอีกไม่น้อย การสร้างปล่องควันสูงลิบลิ่วไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ แต่เป็นการผลักภาระปัญหาจากสถานที่ใกล้เคียง ไปยังแหล่งที่อยู่ห่างไกลมากกว่าเท่านั้น
5.รูโหว่โอโซน
สาเหตุ
เกิดจากสารประกอบคลอรีน ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระป๋องสเปรย์ ชนิดต่างๆ ซึ่งระเหยขึ้นไปสะสมปะปนกับโอโซน และทำให้เกิดปฏิกิริยาการแตกตัวของโอโซน เป็นก๊าซออกซิเจน (O2) และอนุพันธ์อื่นๆของออกซิเจน
ผลกระทบ
พลังงานความร้อนบนพื้นโลกมากขึ้น
รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่นซึ่งเป็น อันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากขึ้น
ความร้อนอาจจะทำให้น้ำแข็งในบริเวณ ขั้วโลกใต้ละลายมากขึ้น
จากการรับรังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มขึ้น จึงทำให้พืชชั้นต่ำ เช่น แพลงก์ตอน สาหร่าย ไดอะตอม ยูกลีนอยด์เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ได้ ส่วนใบพืชชั้นสูงจะมีการสังเคราะห์แสงลดลง เพราะเซลล์คลุมรอบปากใบ (guard cell) ได้รับอันตรายจากแสง จะปิดปากใบจนวัตถุดิบ ไม่สามารถผ่านเข้าไปในใบได้เช่นเดิม จึงเป็นเหตุทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
2.อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสียและวาตภัย ทั้งนี้ เพราะต้นไม้จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการสังเคราะห์แสง การมีต้นไม้มากจึงช่วยลดปัญหาภาวะเรือน กระจกที่เกิดจากก๊าซนี้ได้ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่นผงและละอองต่างๆ ที่ทำให้อากาศเสีย รวมทั้งช่วยปะทะและลดความรุนแรงของลมพายุอีกด้วย
ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
8.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่มักเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะพบได้ในเกือบทุกประเทศ โดยประเทศไทยเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวในขณะนี้ เนื่องจากประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิและสังคม ฉบับที่ 10 ปี พ.ศ. 2550-2554 ด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหากไม่มีแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศได้ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาสิ่งแวดล้อมแลทรัพยากรธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยทรงเน้นงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ของพระองค์ จะมีแนวทางเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำทรัพยากรหรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เพื่อการบำบัดน้ำเสียและใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดกับมลพิษทางน้ำของประเทศโดยแต่ละโครงการจะมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
กังหันน้ำชัยพัฒนา
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
7.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
"การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" มีวิธีการหลายวิธีที่อาจนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การออกกฎหมาย การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษา และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากโครงการพัฒนาทั้งของภาครัฐบาลและภาคเอกชนตลอดจนการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมแก่เด็ก เราทุกคนควรรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและควรให้ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ก็เพื่อความสุขและความปลอดภัยในชีวิตของคนไทยทุกคน
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงานแสงแดด และอื่น ๆ มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สาธารณูปการต่าง ๆ เช่น ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ฝาย คูคลอง เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาและความเจริญของประเทศตลอดจนถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมดีก็จะส่งผลให้ประชาชนในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายประการซึ่งจำเป็นต้องแก้ไข เช่น เรื่องป่าไม้ถูกทำลาย น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย มลพิษของอากาศในพื้นที่บางแห่งมีมากจนถึงขีดอันตราย เหล่านี้เป็นต้น การแก้ไขในเรื่องเช่นนี้ อาจทำได้โดยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องโดยเร่งด่วน หลักการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาจทำได้ โดยพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ดังต่อไปนี้
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
ได้แก่ น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติและสินแร่
ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
มีอยู่ในธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ ดิน และอากาศ
6.ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM2.5
สาเหตู
กรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า สาเหตุของระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กำลังเกิดขึ้น มาจากสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า อากาศนิ่ง และมีสภาพอากาศปิด ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้น
ผลกระทบ
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ กล่าวคือ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
1.งดออกกำลังกาย-สวมหน้ากาก
2.ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่นพิษ
3.ลดการเปิดรับฝุ่นพิษเข้าอาคาร
4.ปิดห้องแอร์ให้สนิทช่วยลดฝุ่นพิษ
6.พัดลม+เครื่องฟอกอากาศลดฝุ่น
5.เครื่องฟอกอากาศช่วยอากาศปลอดภัย
7.ดูแลความสะอาดเครื่องปรับอากาศในรถลดฝุ่นได้