Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมระดับโลก (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการสิ…
ปัญหาทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อมระดับโลก
ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน
เราคงทราบแล้วว่าสภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่มีแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไป แก๊สเรือนกระจกตัวหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อใช้งาน มนุษย์เองเป็นผู้ปล่อยแก๊สนี้ออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อนำพลังงานมาใช้ ยิ่งเราใช้พลังงานมากเท่าใด ก็ยิ่งได้แก๊สเรือนกระจกออกมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว หากเราพิจารณาอัตราการใช้พลังงานในช่วงครึ่งศรวรรษที่ผ่านมา จะพบว่า สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นอย่างดี และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันนี้ ที่จริงแล้วเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของโลก หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะสมดุลได้ในเวลาไม่นานนัก แต่เนื่องจากมนุษย์เราเร่งผลิตแก๊สเรือนกระจกออกมามากเกินขีดความสามารถ ของโลกที่จะเยียวยาตนเองได้ทัน การเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วและรุนแรงจึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในครั้งนี้ ก็คือ มนุษย์
ผลกระทบ
ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น และผลกระทบในตอนเริ่มต้นจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง
-ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
-ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
-มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
-ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
-ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
-สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
-ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับประเทศยากจน ได้แก่ ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกา เอเชีย และ มหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจากระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ผลผลิตภาคเกษตรที่ต่ำลง
-ภาวะโลกร้อนทุกระดับจะทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกข์ทรมานมากที่สุด
แก้ไขและป้องกัน
1.ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศพัดลมลม หากเป็นไปได้ ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ สามารถทำได้เช่นหลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อนเนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2.เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้รถเมล์ เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อนและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผาไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3.เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิด เกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมื่อมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพ
ภายนอก
4.พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5.ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรือนกระจก
6.การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7.เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเราเราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8.ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ดังนี้อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9.ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังนั้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10.ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
แนวทางการป้องกัน
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซักโดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก
นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุดและลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การเป็นปอดของโลกสืบไป
ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะโดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ เช่น ลดความเร็วในการขับรถตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสมและค่อยๆ เหยียบคันเร่งรถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็วลง
ทดลองเดินให้มากที่สุด
สาเหตุ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้ นับว่าเป็นตัวการสำคัญที่สุด ในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ มันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหน่วยงาน IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา รายงานว่ามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่เมือง หรือการเกษตรมีประมาณ 1.6 Gtc (1.6 5 109 ตันคาร์บอน) ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ และแหล่งอื่นที่เป็นผลมาจากฝีมือ มนุษย์กำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลการศึกษาของ IPCC ยังระบุชัดว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม ในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าก๊าซชนิดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิของผิวโลกและชั้นบรรยากาศจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อไปอีก ล่าสุดนี้หน่วยงาน IPCC ได้รายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นโดยฝีมือมนุษย์นี้ ทำให้พลังงานรังสีความร้อนสะสมบนผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์ ต่อตารางเมตร ในปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ผลกระทบ
เมื่อมีก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น อุณหภูมิจะสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น ชายฝั่งจะถูกน้ำท่วมได้ อีกทั้งยังทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปฝนตกไม่ตามฤดูกาล จึงเกิดปัญหาต่อการเกษตร พืชผลไม่เจริญเติบโต
ปัญกาหมอกควัน ฝุ่นละออง pm.2.5
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.งดออกกำลังกาย-สวมหน้ากาก
2.ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่นพิษ
3.ลดการเปิดรับฝุ่นพิษเข้าอาคาร
4.ปิดห้องแอร์ให้สนิทช่วยลดฝุ่นพิษ
5.เครื่องฟอกอากาศช่วยอากาศปลอดภัย
6.พัดลม+เครื่องฟอกอากาศลดฝุ่น
7.ดูแลความสะอาดเครื่องปรับอากาศในรถลดฝุ่นได้
สาเหตุ
1.ควันพิษจากการจราจรและการคมนาคม ปัจจุบันในกรุงเทพ มีจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น โดยควันที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ปล่อย PM2.5
2.ควันและฝุ่นจากการเผาต่างๆ จริงๆแล้วในพื้นที่ของกรุงเทพไม่ได้มีพื้นที่เกษตรที่จะทำให้เกิดการเผาได้ แต่เป็นเพราะจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้านที่เผาเพื่อทำการเพาะปลูกประกอบกับกระแสลมที่พัดเอาควันเหล่านั้นเข้ามา ทำให้อากาศแย่ลง
3.ฝุ่นละอองจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ในปีนี้มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามากถึง 3 สายตามเส้นทางหลัก นอกจากนั้นยังมีการสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศจำนวนหนึ่ง
ผลกระทบ
1.กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
2.กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
3.สำหรับผลระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และเพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ด้วย.
ปรากฎการ์ณเอลนีโญ่ ลานีญ่า
สาเหตุ
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ 2?C – 3.5?C จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า “ปรากฏการณ์เอนโซ ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานิลญ่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ปรากฏการณ์ลานินา
ผลกระทบ
ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่ ทางลบ
ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม
ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง
ผลกระทบที่เกิดจากเอลนิลโญ่ ทางบวก
ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
ทำให้ธุรกิจบางชนิดได้รายได้ดี
-ผลกระทบที่เกิดจากลานิลญ่า
แก้ไขและป้องกัน
การประหยัดน้ำเป็นเรื่องสำคัญที่เราสามารถทำกันได้ง่ายๆ ทุกคน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะทำกิจกรรมใดๆ เช่น ระหว่างล้างหน้า แปรงฟัน แต่ควรเปิดเฉพาะช่วงที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น อาจเปลี่ยนจากการอาบน้ำฝักบัว มารองใส่ถังแล้วตักอาบแทน เป็นต้น
กรณีซักผ้าไม่ควรเทน้ำทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ แต่ให้นำไปรดน้ำต้นไม้แทน และการรดน้ำต้นไม้ควรรดในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือเช้าและเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้มากที่สุด หากรดน้ำต้นไม้ในช่วงแดดจัด ต้นไม้จะไม่สามารถกักน้ำไว้ได้ทัน เพราะอากาศร้อนทำให้น้ำระเหยไปกับอากาศมากกว่า ควรใช้สปริงเกอร์ฝักบัวรดน้ำต้นไม้หรือล้างรถแทนการใช้สายยาง เนื่องจากจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าปกติถึง 4 เท่า อุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านควรใช้รูปแบบที่ช่วยประหยัดน้ำ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อกของชักโครก ฝักบัว ก๊อกน้ำ และหัวฉีดน้ำ เพียงเท่านี้จะช่วยให้ลดปริมาณการไหลของน้ำได้
สำหรับเกษตรกร ควรหันมาปลูกพืชที่มีอายุสั้น และใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเขียว ทานตะวัน ต้นหอม กระเทียม ฯลฯ รู้ตัวแต่เนิ่นๆ เตรียมตั้งรับ สงครามน้ำจะไม่เกิด หรืออาจจะเกิดน้อยลง
รูโหว่โอโซน
ผลกระทบ
ผลกระทบต่างๆต่อสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับรอยโหว่บนชั้นโอโซน ในเรื่องอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต ภาวะโลกร้อน ผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ เช่น ระบบภูมคุ้มกันโรคบกพร่อง รังสีUV-Bที่สามารถยับยังการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ทำให้การให้วัคซีนไม่เกิดผล มะเร็งผิวหนัง อันตรายต่อดวงตา เกิดต้อกระจกหรือตาบอดได้เพราดวงตาไวต่อแสง อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการเกิดมะเร้งชนิดมีลาโนมาภายในลูกตาอีกด้วย ผลกระทบต่อมหาสมุทรเกี่ยวกับวงจรชีวิตสัตว์ทะเล ทำลายแพลงตอนซึ่งเป็นแหล่งอาหารขั้นแรกของสิ่งมีชีวิตในทะเล รังสีUV-Bทำลายตัวอ่อนของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ผลกระทบต่อพืชบกเพราะรังสีมีผลต่อกิจกรรมการดูดซึมไนโตรเจนของจุลิทรีย์ มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำ พืชที่ด้รับรังสีUV-Bมากมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตช้า แคระเกร็น มลพิษอากาศเพิ่มขึ้นมีหมอกควันพิษและฝนกรดเพิ่มมากขึ้น เกิดความสเยหายต่อวัสดุ เช่นอุปกรณ์ที่มีสารประกอบจำพวกPVC พลาสติก โพลิยูริเทน โพรพิลีน ผลิตภัณฑ์ยาง สีทาบ้าน สีรองพื้น กระดาษ สิ่งทอ แม้กระทั่งวัสดุที่ใช้ประกอบอากาศยานก็จะเสื่อมสภาพไปอย่างรวดเร็ว
แก้ไขและป้องกัน
อย่าซื้อละอองลอย (Aerosols) ที่ใช้คลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs) – ตรวจสอบฉลากหรือใช้สเปรย์ปั๊มเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีคลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs)
ตรวจดูว่าเครื่องดับเพลิงของคุณมีฮาโลเจนหรือไฮโดรคาร์บอนฮาโลเจนหรือไม่ ถ้ามี ให้แทนที่ด้วยชิ้นส่วนที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
ขับน้อยลง – ไนตรัสออกไซด์เป็นสารทำลายชั้นโอโซนที่ใหญ่ที่สุดในชั้นบรรยากาศและพบได้ในไอเสียรถยนต์ การเดินการขนส่งสาธารณะ การใช้รถคันเดียวกัน (Carpooling) และการขี่จักรยานเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าทั้งหมด
ทิ้งเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเก่า - พวกเขาพึ่งพาคลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs) ในการใช้งาน รุ่นใหม่ที่ออกมาควรเป็นรุ่นที่ไม่พึ่งพาคลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs Free) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจก่อนจะดีกว่า
ซื้อไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยเมทธิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) - ไม้บางชนิดจะผลิตก๊าซโบรมีนเข้าสู่สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) วิธีการคือ ดูไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ให้ดีๆ ถ้าหากว่ามีเครื่องหมาย MB ควรหลีกเลี่ยง
สาเหตุ
สาเหตุหลักของช่องโหว่ชั้นโอโซนเกิดจากสารประกอบคลอรีน ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระป๋องสเปรย์ ชนิดต่างๆ ซึ่งระเหยขึ้นไปสะสมปะปนกับโอโซน และทำให้เกิดปฏิกิริยาการแตกตัวของโอโซน เป็นก๊าซออกซิเจน (O2) และอนุพันธ์อื่นๆของออกซิเจน ที่แม้จะมีสนธิสัญญามอนทรีออลเมื่อปี 2532 ห้ามใช้สารประกอบฟลูออโรคาร์บอนที่เป็นตัวการของการสะสมของก๊าซคลอรีนในชั้นบรรยากาศ แต่ปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วและอาจจะสายไปที่จะแก้ไข
ฝนกรด
ผลกระทบ
ฝนกรดจะทำปฏิกิริยาเคมีกับวัตถุใด ๆ ที่มันสัมผัส กรดคือสารเคมีใดๆ ที่ทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ โดยจะจ่ายอะตอมไฮโดรเจน (hydrogen: H) ออกไป ความเป็นกรดของสารใด ๆ เกิดจากการที่มีอะตอมไฮโดรเจนอิสระมากมายเกิดขึ้นจากการละลายสารนั้น ๆ ในน้ำ การวัดค่าสารที่เป็นกรดเราใช้มาตรา pH เป็นหน่วยในการวัด โดยจะมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 0 ถึง 14 การที่สารใด ๆ นั้นจะเป็นกรดได้ นั้นหมายถึงสารนั้น ๆ จะต้องมีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 6 โดยค่ายิ่งน้อยเท่าไหร่ หมายถึงยิ่งเป็นกรดแก่มากเท่านั้น ในทางกลับกัน สารที่มีค่า pH ตั้งแต่ 8 ถึง 14 เราจะเรียกว่าเบส (bases หรือ alkalis) โดยสารเหล่านี้จะทำการรับอะตอมไฮโดรเจนแทน น้ำแล้วมีค่า pH เป็น 7 กล่าวคือไม่ได้เป็นกรด และเป็นเบส เราเรียกสารแบบนี้ว่า สารที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้วถ้าฝน หิมะ หรือหมอกที่มีค่า pH น้อยกว่า 5.6 เราจะถือว่าฝน หิมะ หรือหมอกเหล่านี้เป็นพิษ เมื่อใดก็ตามที่กรดรวมตัวกับเบส เบสจะทำให้ความเป็นกรดลดน้อยลงมาได้ ซึ่งฝนในปกติจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ อยู่แล้ว มักจะทำปฏิกิริยากับเบสอื่น ๆ ในธรรมชาติทำให้เกิดสมดุลขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณกรดในบรรยากาศเพิ่มขึ้น จึงทำให้สมดุลตรงนี้เสียหายไป จึงทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่ดิน น้ำ สัตว์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างของมนุษย์
สาเหตุ
สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
การลดปัญหาฝนกรดสามารถทำได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุดโดยวิธีการลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่จะเข้าสู่บรรยากาศจากโรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ และโรงงานอุตสาห์กรรมทั่วไป วิธีที่ง่ายที่สุดคือการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยการประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถช่วยโลกด้วยวิธีนี้ได้ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน การใช้ระบบขนส่งมวลชน เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการลดปัญหาฝนกรดได้อย่างชะงักทีเดียว
การจัดทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เมื่อห้าสิบปีก่อนประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก เราเคยมีป่าไม้กว้างใหญ่ไพศาลเป็นพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ไม้สักของเราเป็นไม้มีค่าซึ่งทั่วโลกต้องการ มีสัตว์ป่านานาชนิดจำนวนมาก มีแร่ธาตุ เช่น ดีบุก และวุลแฟลม ทั้งบนบกและในทะเล มีน้ำธรรมชาติเปี่ยมฝั่งอยู่ในแม่น้ำลำคลองทั่วไป น้ำใสสะอาดจน กุ้ง ปลา หอย และเต่า อาศัยอยู่ได้อย่างสบาย แต่แล้วต่อมาเนื่องจากมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงโดยรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทำลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ต้นน้ำลำธารก็ถูกทำลายลงมากจนเกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิด เช่น สมัน สูญพันธุ์หมดไปจากโลก แร่ธาตุถูกขุดขึ้นมาใช้จนบางแห่งหมดไปจากพื้นที่ทำให้เกิดมีเหมืองร้างขึ้น น้ำในแม่น้ำลำคลองที่เคยใสสะอาดก็เน่าเสียเพราะขยะและน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยในช่วงเวลาห้าสิบปีได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสู่สภาพดีดังเดิม การแก้ไขดังกล่าวอาจทำได้โดยการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่มีเหลืออยู่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการดำเนินงานแก้ไขเช่นนี้ เรียกชื่อว่า "การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" มีวิธีการหลายวิธีที่อาจนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การออกกฎหมาย การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษา และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากโครงการพัฒนาทั้งของภาครัฐบาลและภาคเอกชนตลอดจนการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมแก่เด็ก เราทุกคนควรรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและควรให้ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ก็เพื่อความสุขและความปลอดภัยในชีวิตของคนไทยทุกคน
ทรัพยากรธรรมชาติ
หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงานแสงแดด และอื่น ๆ มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อม
หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สาธารณูปการต่าง ๆ เช่น ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ฝาย คูคลอง เป็นต้น
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
1.การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา*
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียที่รับมาจากคลองให้มีสภาพดีขึ้น โดยหนึ่งในโครงการปรับปรุงแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยอาศัยผักตบชวาช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนัก และสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ*
เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรงห่วงใยในปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เมื่อชุมชนเมืองมีการขยายตัว จนทำให้หนองหานไม่สามารถรองรับน้ำเสียได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชและระบบเติมอากาศ ณ บริเวณหนองสนม-หนองหาน จังหวัดสกลนคร การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศเป็นระบบการบำบัดน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีแบบประหยัด คือ การสร้างบ่อกรวดสำหรับดักสารแขวนลอย จากนั้นจึงส่งผ่านน้ำไปยังบ่อต่อ ๆ ไป ซึ่งมีการปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อดับกลิ่น การปลูกผักตบชวาเพื่อช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนักและสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ สุดท้ายจึงส่งน้ำเข้าสู่บ่อเติมออกซิเจน โดยอาศัยกังหันน้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศช่วยเติมออกซิเจนลงในน้ำ
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
โครงการวิจัยและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะมลพิษที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เนื่องจากภายในชุมชนยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงทรงให้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวขึ้นในพื้นที่ 1,135 ไร่ เพื่อให้เป็นโครงการศึกษาวิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ โดยอาศัยระบบการบำบัดคล้ายกับที่หนองหาน คือ มีบ่อสำหรับดักขยะและสิ่งสกปรกต่าง ๆ จากนั้นจึงส่งไปบำบัดในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
กังหันน้ำชัยพัฒนา
เป็นเครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำเพื่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยอาศัยวิธีการทำให้ออกซิเจนสามารถละลายลงไปในน้ำได้มากขึ้น จึงช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการเพาะขยายของแบคทีเรียอย่างรวดเร็ว จนมีปริมาณมากพอที่จะย่อยสลายสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำได้
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ*
ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาทดลองวิจัยว่ามีปลาชนิดใดที่จะช่วยกินสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำเสียซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดน้ำเสียได้ มีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย
ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม "องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ" (FAO) จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณด้านการพัฒนาการเกษตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในฐานะที่ทรงบำเพ็ยพระราชกรณียกิจ อุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้ซึ่งประกอบอาชีพเพาะปลูกบำรุงรักษาน้ำ และบำรุงรักษาป่า