Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (ปัญหาต่างๆ (ปรากฏการณ์เรือนกระจก…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
ปัญหาต่างๆ
ฝุ่นพิษ PM2.5
การแก่ไขปัญหาPM2.5
มีการบังคับใช้กฎหมายห้าม-ลดชั่วโมงการทำงานในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะเหล่านี้ ซึ่งประเทศไทยเองยังคงถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และยังคงต้องพิจารณาให้มีมาตรการที่ชัดเจนในระยะยาวควบคู่ไปด้วย เพราะดูจากสถานการณ์ PM 2.5 ของไทยในช่วง2-3 ปีหลัง จะมีปัญหานี้เกิดขึนเรื่อยๆ ดังนั้นในปีหน้า 2563 เอง ก็คาดว่า ปัญหา PM 2.5 ก็จะกลับมา รัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการเตรียมมาตรการรองรับ-แก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยนั่นเอง เช่น
ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบว่ามีการปล่อยควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าตรวจสอบ-กวดขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการเลือกใช้พลังงานสะอาดอย่างการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง เป็นต้น
พึ่งพาหน่วยงานของรัฐเป็นหลักในการดำเนินการประสานงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีข้อมูลต่างๆ ที่ค่อนข้างชัดเจนว่า บ้านเราได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
การทำฝนเทียม พ่นน้ำต่างๆ ดูเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเมื่อลงไปดูข้อมูลปริมาณการลดลงของ PM 2.5 แล้วก็จะพบว่า ไม่ได้ลดลงมากนัก แต่ก็ยังถือว่า เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ดีกว่าไม่ทำอะไรนั่นเอง
การแก้ไขปัญหานี้ โดยการเพิ่มช่องทางการขนส่งสาธารณะเช่น รถไฟฟ้า ที่จะลดการเกิดหมอกควันดูจะเป็นทางออกหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่ง ณ เวลานี้ก็กำลังมีการก่อสร้างในหลายๆ เส้นทางเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพ-ปริมณฑล เพียงแต่ในแง่ขอราคาค่าบริการน่าจะยังคงเป็นปัญหาในการตัดสินใจใช้บริการของประชาชนนั่นเอง
รถเมล์-ขนส่งสาธารณะอื่นๆ นั้น คงต้องมีการเข้มงวด กวดขันตรวจจับควันดำกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังคงอยากให้มีการ “กำหนดอายุ” การใช้งานของรถ ที่เราจะยังคงเห็นรถเมล์ที่มีอายุอานามเข้าสู่หลักสิบปี เข้ามาวิ่งให้บริการกันอยู่
สาเหุตเกิดPM2.5
ควันพิษจากการจราจร ~ 60 % ของปัญหา
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เขตกรุงเทพ-ปริมณฑลสาเหตุจากควันที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์เป็นสาเหตุหลักๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากสภาพการจราจรส่วนใหญ่ของกรุงเทพที่ชาวเมืองต้องเจอส่วนใหญ่จะติด และติดหนักมากขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติจากกรมการขนส่งทางบก พบว่า มีรถยนต์ที่จดทะเบียน “กรุงเทพ” ในปัจจุบันรวมแล้วกว่า 10 ล้านคัน ในจำนวนนี้เป็นรถจักรยานยนต์ 3.67 ล้านคัน รถบัสขนส่งราว 4 หมื่นกว่าคัน
ควันและฝุ่นละอองจากการเผาต่างๆ ~ 35%
ในกรุงเทพนั้น ไม่ได้มีพื้นที่เกษตร แต่ได้รับผลกระทบได้อย่างไร? ในส่วนนี้เกิดจากหมอกควันที่เผาทั้งในและนอกประเทศไทย ซึ่งกระแสลมพัดเอาควันเหล่านั้นเข้ามา และปริมาณที่พัดพาเข้ามานั้นมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว
ฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง-ภาคอุตสาหกรรม ~5%
ปัจจุบันตามแนวเส้นทางหลัก มีการเร่งการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อแก้ปัญหารถติด ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นเป็นการช่วยแก้ปัญหาควันพิษจากรถยนต์อีกทางหนึ่งด้วย แต่การก่อสร้างเหล่านี้ก็ต้องแลกมาด้วยส่วนของการเกิดฝุ่นละอองในอากาศจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่ต่างๆ โดยรอบกรุงเทพ
PM2.5 คือ
แหล่งกำเนิด PM2.5 มีทั้งแบบปล่อยโดยตรงกับแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ใดมีแหล่งกำเนิดแบบใดเป็นหลัก(Primary PM2.5 และจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น(Secondary PM2.5) ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM2.5 ขั้นทุติยภูมิอีกด้วย
ปัญหาของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาพทางธรรมชาติ พื้นผิวโลกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีผลต่อเนื่องถึงการเกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุจากธรรมชาติ
ภูเขาไฟระเบิด (volcano)
นอกจากนี้ไอระเหยหรือควันที่เกิดจากภูเขาไฟ จะมีกำมะถันปนอยู่มาก ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอีกด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอีกด้วย หากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำจะก่อให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในมหาสมุทร น้ำท่วมตามเกาะและเมืองชายฝั่งทะเลได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งตามหมู่เกาะฮาวาย คลื่นขนาดใหญ่นี้มีชื่อเรียกว่า สึนามิ (tsnami) เกิดจากแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรือภูเขาไฟระเบิดใต้พื้นมหาสมุทร
แผ่นดินไหว (earthquake)
เป็นภัยธรรมชาติที่เป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยหากเกิดแผ่นดินไหวที่เกินกว่า 5 ริคเตอร์ขึ้นไปจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตั้งแต่สิ่งก่อสร้าง การพังทลายของแผ่นดิน ทำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพืชและสัตว์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียของพืชพันธุ์ สัตว์ป่า ตลอดจนจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติได้
น้ำท่วม (flood)
เป็นภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น ฝนตกหนัก น้ำในแม่น้ำลำคลองถูกหนุนสูงขึ้น โดยเมื่อน้ำขึ้นสูงพ้นเหนือแนวตลิ่งของลำน้ำจนปกคลุมพื้นแผ่นดิน และหากการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำมีความเชี่ยวกรากก็อาจจะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มได้ นอกจากนี้การไหลของน้ำบริเวณผิวดินยังทำให้เกิดการพัดพาเอาผิวหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไหลลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ผิวหน้าดินขาดปุ๋ยธรรมชาติ และทำให้แหล่งน้ำในที่ต่ำกว่าเกิดการตื้นเขินได้
ไฟป่า (wildfire)
เป็นตัวการในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้ ทั้งที่เป็นต้นไม้เล็กและใหญ่ สิ่งมีชีวิตรวมทั้ง จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในป่า รวมถึงทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ อินทรียวัตถุ และปุ๋ย เป็นต้น เมื่อทรัพยากรเหล่านี้ถูกทำลายจะเป็นสาเหตุให้ป่าไม้หยุดชะงักการเจริญเติบโต พื้นดินสูญเสียคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ และป่าที่ถูกทำลายจะไม่สามารถรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมต่อไปได้ ทำให้เกิดภัยที่ตัดตอนการวิวัฒนการของต้นพืชและสัตว์ป่าได้
ภาวะโลกร้อน
สาเหตุภาวะโลกร้อน
สาเหตุภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะโลกร้อน
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas)
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราาะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เท่านั้น
ผลกระทบ
พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะกรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด
หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ
ภาวะโลกร้อน คือ
ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
แก้ปัญหา
ลดการใช้ พลังงาน ในบ้าน (การใช้ไฟฟ้าในที่พักอาศัย มีส่วนทำให้เกิด ก๊าซเรือนกระจก ถึง 16% )
เปลี่ยนหลอดไฟ หลอดไฟแบบขด compact fluorescent lightbulb (CFL) จะใช้ไฟเพียง 1 ใน 4 ของปกติ
การเปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดไฟฟ้ากว่าหลอดปกติ 40 %
ใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล์ เอธานอล ให้มากขึ้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
สาเหตุ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้ นับว่าเป็นตัวการสำคัญที่สุด ในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ มันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหน่วยงาน IPCC
สลายซากสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึง 20% ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาของ IPCC ว่าพื้นที่การเกษตรประเภทนาข้าวในประเทศแถบเอเชีย และออสเตรเลีย มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่มาก และมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ขึ้นกับชนิดและคุณภาพของดินในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ จะมีมากกว่ากรณีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก๊าซมีเทนมีอายุสะสมเฉลี่ยประมาณ 11 ปี นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นสาเหตุให้ผลกระทบโดยตรง อันเนื่องจากภาวะเรือนกระจกโดยก๊าซมีเทนมีน้อยกว่าผลกระทบ อันเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีผลกระทบมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีรายงานว่าพลังงานเฉลี่ยรวม ที่เกิดจากผลกระทบโดยตรงของก๊าซมีเทนประมาณ 0.47 วัตต์ต่อตารางเมตร
ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนมีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลง 40% เมื่อเทียบกับสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ตามมาตรการควบคุมโดยสนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดยฝีมือมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสม บนพื้นผิวโลกประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบทางอ้อมของก๊าซชนิดนี้ ทำให้เกิดอันตรายต่อบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกมากมาย กล่าวคือก๊าซประเภทนี้สามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนอันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกส่องผ่านลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกในสัดส่วนที่มากเกินภาวะสมดุล นับเป็นการทำให้ผิวโลกและบรรยากาศร้อนขึ้นโดยทางอ้อม
การแก้ปัญหา
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ
เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์
เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจาก
ห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก
พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน
ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์
บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรีอนกระจก
การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำ
ฝนกรด
ผลกระทบ
๑. ทำให้ดินเปรี้ยว และขาดธาตุอาหารสำคัญของพืช เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม แต่ถ้าดินและหินที่น้ำฝนไหลผ่านมีสารประกอบพวกคาร์บอเนต หรือหินปูนอยู่บ้าง ก็จะช่วยลดความเป็นกรดลงได้บ้างเช่นกัน
๒. ถ้าในดินมีโลหะหนัก เช่น อะลูมิเนียม และปรอท ฝนกรดก็จะทำให้สารอะลูมิเนียมซัลเฟต ออกจากเนื้อดิน เข้าไปละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน แล้วระงับการแตกรากของพืช ในที่สุดพืชจะหยุดโต และอาจจะตาย หากรับเชื้อโรคต่างๆ หรือแม้แต่เผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือฤดูกาลแต่เพียงน้อย ดังเช่น ป่า Black forest ในประเทศ เยอรมนี เป็นต้น
๓. ลดความอุดมสมบูรณ์ตามปกติของเนื้อดิน เพราะกรดในดินไปยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์บางกลุ่ม ที่ควบคุมการแปลงซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นแอมโมเนียมไนไทรต์ และไนเทรต ซึ่งเป็นปุ๋ยของพืช
๔. ถ้าน้ำฝนมีค่าความเป็นกรด-เบสต่ำกว่า ๕.๖ จนถึง ๓ แล้ว จะทำให้เกิดริ้วรอยเป็นจุด หรือเป็นลายบนพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ผัก ขม และทำให้ราคาพืชตกต่ำ
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
การแก้ไข
๓. ควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการสันดาป
๒. ปรับปรุงการสันดาป เพื่อควบคุมการเกิดสารประกอบออกไซด์ไนโตรเจน ด้วยการลดอุณหภูมิให้ต่ำลงกว่า ๑๕๐๐ องศาเซลเซียส
๔. การติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเพิ่มความยุ่งยากในการบำรุงรักษาอีกไม่น้อย การสร้างปล่องควันสูงลิบลิ่วไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ แต่เป็นการผลักภาระปัญหาจากสถานที่ใกล้เคียง ไปยังแหล่งที่อยู่ห่างไกลมากกว่าเท่านั้น
หัวข้อก่อนหน้า
๑. การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์น้อย
ปัญหาต่าง
รูโหว่โอโซน
โอโซนเป็นก๊าซชนิดหนึ่ง มีสูตรโมเลกุล คือ O3 โอโซนมีโครงสร้างที่ไม่เสถียรจึงสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจน (O2) ได้ โดยโอโซนนี้จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ10 – 50 กิโลกเมตร
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
สาเหตุ
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
เมื่อรังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำให้ตาเป็นต้อกระจกได้ และที่สำคัญ เมื่อโลกได้รับรังสียูวีมากขึ้นหรือรังสีที่มีความร้อน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย
การแก้ไขปัณหา
1) ลดปริมาณมลสารที่ทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองและสารพิษ
2) ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขรถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์ ลดปริมาณขยะ เปียก
ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
3) ลดปริมาณก๊าซที่ทำลายชั้นโอโซน ตามข้อตกลงของประชาคมโลก ซึ่งระบุว่าแต่ละประเทศจะต้องควบคุมการใช้สารที่มีผลทำลายชั้นโอโซน
เอลนีโญ - ลานีญา
เอลนีโญ
เป็นคำในภาษาสเปนแปลว่า บุตรพระคริสต์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตามเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา 2 - 3 เดือนหรือนานกว่า เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO" หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
ลานีญา
บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3 ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
สาเหตุ
รากฏการณ์เอลนิโญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ
และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า “ปรากฏการณ์เอนโซ ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานิลญ่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ปรากฏการณ์ลานินา
แก้ไข
1.จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อรวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน
2.การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน
3.การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
นาย นภัส จันทร์เที่ยง ม.4/8 เลขที่9