Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทางธรรมชาติ (ภาวะโลกร้อน image (ความหมาย (ภาวะโลกร้อน…
ปัญหาทางธรรมชาติ
ภาวะโลกร้อน
ความหมาย
ภาวะโลกร้อน คือป็นคำจำเพาะคำหนึ่งของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยที่ "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก โดยทั่วไป คำว่า "ภาวะโลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์
สาเหตุ
สาเหตุมาจาก การระเบิดของภูเขาไฟ และการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ และ ระดับการเพิ่มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุด
ผลกระทบ
แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุก ทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง อเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง และทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช
แนวทางการแก้ปัญหา
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน โดยการลดปริมาณการใช้รถลง ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ความหมาย
ปรากฏการณ์เรือนกระจกคือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นแต่ถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่ความถี่แสงที่ตามองเห็นผ่านชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่และทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น แล้วจะมีการแผ่พลังงานนี้ออกมาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่า การแผ่รังสีอินฟราเรดถูกก๊าซเรือนกระจกดูดซับไว้ และจะมีการแผ่พลังงานปริมาณมากกลับไปยังพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า กลไกดังกล่าวตั้งชื่อตามปรากฏการณ์ที่การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ผ่านกระจกแล้วทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น แต่วิธีการกักเก็บความร้อนนั้นแตกต่างไป โดยเรือนกระจกเป็นการลดการไหลของอากาศ แยกอากาศที่อุ่นข้างในเพื่อที่ความร้อนจะไม่สูญเสียไปโดยการพาความร้อน
สาเหตุ
คาร์บอนไดออกไซด์ การเผาไหม้หรือการใช้เชื้อเพลิงพวก ฟอสซิล เพิ่มขึ้น กับการตัดไม้ทำลายป่าหรือการลดลงของปริมาณป่าไม้ของโลก มีเทน การเกษตรแผนใหม่ที่เป็นอยู่ทั่วโลก การปลูกข้าวและการเลี้ยงสัตว์ปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงพลโลกที่เพิ่มขึ้นราว 2 เท่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนั้นก๊าซมีเทนยังเพิ่มขึ้นจากกองขยะ จอมปลวก เหมืองถ่านหิน การขุดเจาะน้ำมันและเขม่าควันจากการเผาป่า
คลอโรฟูลโอโรคาร์บอน (CFC) เป็นก๊าซชนิดใหม่ซึ่งเริ่มมีขึ้นในราว ค.ศ. 1930 ซึ่งนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ตู้เย็น สเปรย์ และพลาสติก ไนตรัสออกไซด์ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนการเผาไหม้ซากพืชการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยถ่านหินและน้ำมัน
โอโซน เกิดขึ้นเนื่องจากบริเวณที่เกิดมลพิษ และการเกิดปฏิกิริยาเคมีจากแสงแดด (Photochemecal reaction) นอนจากนั้น ละอองน้ำในบรรยากาศยังก่อให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณเมฆในอากาศซึ่งจะก่อให้เกิดความหนาวเย็นได้เช่นกัน
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย ความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรงสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้นพืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย เป็นต้น
แนวทางแก้ปัญหา
- ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้ 2. ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่ 3. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน หรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก 4. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย 5. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุดและลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การเป็นปอดของโลกสืบไป 6. ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะโดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ เช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสมและค่อยๆ เหยียบคันเร่งรถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว
เอลนีโญ ลานีญา
ความหมาย
เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก[กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย
สาเหตุ
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า “ปรากฏการณ์เอนโซ ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานิลญ่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ปรากฏการณ์ลานินา
ผลกระทบ
ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนีโญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกา ตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะ ทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิด ฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย เอลนีโญมักเป็นสาเหตุของความกังวลเพราะผลของมันที่ตรงกันข้ามกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเกิดขึ้น ใน พ.ศ. 2552 แต่ลานีญา มักเป็นประโยชน์สำหรับฤดูมรสุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง แต่ลานีญาซึ่งปรากฏในมหาสมุทรแปซิฟิก ยังอาจทำให้ฝนตกหนักในออสเตรเลีย ซึ่งเกิดเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐควีนส์แลนด์ จมอยู่ใต้น้ำจากอุทกภัยอันเกิดจากสัดส่วนผิดปกติหรือถูกพายุหมุนเขตร้อนพัดถล่ม ซึ่งรวมไปถึงพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ไซโคลนยา ซี่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความหายนะแบบเดียวกันในบราซิลตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักและอุทกภัยตามมาในศรีลังกา
แนวทางการแก้ปัญหา
ช่วยกันรักษาความสะอาดไม่ให้เกิดมลพิษ เพราะมลพิษจะไปทำลายชั้นบรรญากาศของโลกได้ และช่วยกันปลูกต้นไม้ แล้วก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ด้วยว่าจะช่วยกันทำการทำความสะอาดหรือไม่ และช่วยกันปลูกต้นไม้ด้วย
ฝนกรด
ความหมาย
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก กรดไนตริก และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง
สาเหตุ
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำฝน เกิดจากมลพิษ 2 ตัวหลัก คือ 1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดกรด ซัลฟุริก (H2SO4) 2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ทำให้เกิดกรด ไนตริก (HNO3)
ผลกระทบ
ฝนกรดจะทำการละลายและพัดพาปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นไม้ไป นอกจากนี้แล้วอาจจะยังละลายสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในดิน เมื่อฝนกรดตกลงมาจะทำให้พืชผล ส่วนมากตายลง เนื่องจากพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ฝนกรดอาจทำความเสียหายอย่างรุนแรงกับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือปูนที่ถูกฝนกรดละลายออกมา ทำให้เกิดความเสียหายที่ยากจะซ่อมแซมได้ในบางกรณี
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การลดปัญหาฝนกรดสามารถทำได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุดโดยวิธีการลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่จะเข้าสู่บรรยากาศจากโรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ และโรงงานอุตสาห์กรรมทั่วไป วิธีที่ง่ายที่สุดคือการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยการประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถช่วยโลกด้วยวิธีนี้ได้ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน การใช้ระบบขนส่งมวลชน เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการลดปัญหาฝนกรดได้ดี
รูโหว่โอโซน
สาเหตุ
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี โดยเฉพาะรังสียูวีบี ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
ความหมาย
รูโหว่โอโซนเป็นเพียงชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซโอโซนอยู่บางเบาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดเป็นรูโหว่ที่ไม่มีก๊าซโอโซนอยู่เลย ในแต่ละปีก็จะมีขนาดของรูโหว่โอโซนแตกต่างกันไป เพราะการกระทำบางอย่างของมนุษย์นั้นทำให้โอโซนเบาบางขึ้น แต่ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซน โดยแต่ละประเทศต่างได้ร่วมกันทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ในการลดการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก
แนวทางการแก้ไขปัญหา
- มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช 2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ ทำให้เกิดลมและฝน 3. ช่วย ปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจาก พื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น 4. มี ผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก 5. ช่วย ป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก 6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ผลกระทบ
ความร้อนอาจจะทำให้น้ำแข็งในบริเวณ ขั้วโลกใต้ละลายมากขึ้น ความร้อนจะทำให้น้ำในมหาสมุทรขยายตัว ทำให้เกิดความแปรปรวนทางน้ำ สัจว์บางอย่างเกิดการกลายพันธุ์ และเกิดการแบ่งเซลล์จำนวนมากจึงทำให้ผิวคล้ำ
ปัญหา pm2.5
ความหมาย
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้
สาเหตุ
1.แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต 2.การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
ผลกระทบ
PM 2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ประกอบกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากถึง 50,000 ราย ส่งผลไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศนี้ และยังส่งผลต่อ กระแสเลือด และปอดได้ และสารที่เข้าไปนั้นประกอบด้วย คดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
แนวทางการแก้ปัญหา
1.สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้คือ หน้ากาก N95 หรือจะใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้เช่นกัน 2.หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หากจำเป็นต้องใส่หน้ากาก N95
3.ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM 2.5 เสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความหมาย
เมื่อห้าสิบปีก่อนประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก แต่สมัยนี้กลับกัน ทรับยากรธรรมชาติของเราได้หายไปเยอะ ไม่ว่าจะแร่ต่างๆ และ สัตว์ต่างๆด้วย เพราะว่า กลุ่มคนบางกลุ่มนำไปใช้เพื่อพัฒนาประเทศ จนทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรง
-
สาเหตุ
เพราะ มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงโดยรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทำลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ต้นน้ำลำธารก็ถูกทำลายลงมากจนเกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิด เช่น สมัน สูญพันธุ์หมดไปจากโลก และแร่บางส่วนก็อาจจะหายไป
แนวทางการแก้ปัญหา
1.กำหนดมาตรฐานเพื่อการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศและควบคุมแหล่งกำเนิดเพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด 2. ทำการควบคุมท่อปล่อยน้ำเสีย 3.กำหนดให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมาย
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ
สาเหตุ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาสิ่งแวดล้อมแลทรัพยากรธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยทรงเน้นงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ของพระองค์ จะมีแนวทางเป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำทรัพยากรหรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เพื่อการบำบัดน้ำเสียและใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดกับมลพิษทางน้ำของประเทศโดยแต่ละโครงการจะมีหลักการและสาระสำคัญ
แนวทางการแก้ปัญหา
พระองค์ได้สร้างโครงการมาเพื่อแก้ปัญหาทางธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น1. การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา 2.การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ 3. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด 4. กังหันน้ำชัยพัฒนา 5.การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ เป็นต้น
-