Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักเศร…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
เอลนีโญ - ลานีญา
เอลนีโญ
เมื่อเกิดเอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาดังภาพที่ 2 บริเวณชายฝั่งจึงขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเลทำให้ชาวประมงเปรูขาดรายได้ ขณะที่เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้แต่ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ ไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียในบางปีเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
สภาวะเอลนีโญ
สภาวะเอลนีโญ
ลานีญา
ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3 ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
สภาวะลาณีญา
สภาวะปกติ
สภาวะปกติ
ภาวะโลกร้อน
ความหมาย
ส่งผลกระทบ
ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า
ภาวะเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก มาจาก
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
เป็นก๊าซชนิดที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ เป็นตัวการสำคัญที่สุดของปรากฎการณ์เรือนกระจกที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า การตัดไม้ทำลายป่า
ก๊าซมีเทน (CH4)
ป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากของเสียจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การทำนาที่ลุ่มน้ำท่วมขัง การเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินก๊าซธรรมชาติ และการทำเหมืองถ่านหิน
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20)
กิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการใช้ปุ๋ย ไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้ เผาหญ้า มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย และเชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด
คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFsC)
เป็นก๊าซที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในเครื่องทำความเย็นชนิดต่าง ๆ เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ และเป็นสารผสมทำให้เกิดฟองในการผลิตโฟม เป็นต้น ซีเอฟซี มีผลกระทบรุนแรงต่อบรรยากาศ ทั้งในด้านทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก และทำลายบรรยากาศโลกจนเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน
ก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก หรือกรีนเฮาส์เป็นเกราะกำบังกรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นผิวโลก และเก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการดำรงชีวิต
แต่ในปัจจุบัน มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างร้ายแรง โดยการก่อและใช้สารเคมีบางชนิดในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโลก และก๊าซบางชนิดยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก GREENHOUSE EFFECT โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนหนาแน่นขึ้น ทำให้เก็บกักความร้อนได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ และมหาสมุทรจะขยายตัวจนเกิดน้ำท่วมได้ในอนาคต
ฝนกรด
ความหมาย
น้ำฝนที่มีค่าเป็นกรด มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 เกิดจากการรวมตัวของน้ำฝนและแก๊สออกไซด์ต่างๆ ของโลหะที่เกิดจากควันเสียจากโรงงานอุตสากรรม รวมถึงควันจากการเผาไหม้อื่นๆ ปะปนอยู่ในอากาศจึงทำให้มีสมบัติเป็นกรด วัดค่าได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น โดยน้ำบริสุทธิ์จะมีค่า pH เท่ากับ 7
สาเหตุ
ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
นักวิทยาศาสตร์พบว่า สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)
ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ
รูโหว่โอโซน
สาเหตุ
สารเคมีชื่อ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นเช่นตู้เย็นและสเปรย์ต่างๆ จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซน ทำให้โมเลกุลลดลงกลายเป็นโมเลกุลของออกซิเจน
ผลกระทบ
ซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เพราะถ้าปราศจากโอโซนแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลตจะสาดส่องพื้นโลกมากเกินไป ชั้นโอโซนซึ่งเป็นเหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบตา การ CFCs ที่ใช้กันทั่วโลกทำให้ชั้นโอโซนมีรูโหว่เหนือขั้วโลกทั้งสองข้าง
วิธีแก้ไช
ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การจำกัดจำนวนยานพาหนะ ซึ่งยานพาหนะที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุในการปล่อย
จำกัดการขับขี่ยานพาหนะส่วนตัวหรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะเดินหรือขี่จักรยาน
ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สารทำความสะอาดที่มีสารเคมีที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
เลือกใช้สินค้าในครัวเรือนที่มีอ่านฉลาก ตรวจสอบว่าไม่ได้มีสารทำลายโอโซน เช่น CFCs หรือ ฮาลอนและ hydrofluorocarbons
ทิ้งตู้เย็นเก่าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ของคุณ ได้อย่างถูกต้อง
PM 25
ความหมาย
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
สาเหตุ
แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
แนวทางการป้องกัน
สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้คือ หน้ากาก N95 หรือจะใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้เช่นกัน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หากจำเป็นต้องใส่หน้ากาก N95
ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM 2.5 เสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจ
การจัดการทัรพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติและสินแร่
ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
น้ำ แสง ลม ดิน
การจัดองค์กรเพื่อการบริหารงานด้านการกำหนดนโยบายแผนการจัดการ การวางแผนงานโครงการเป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับหน่วยงานปฏิบัติ ในปัจจุบันมีหน่วยงานรับผิดชอบในด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ๓ หน่วยงาน ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม คือ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาคขึ้น ๔ ภาค ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักเศรฐกิจพอเพียง
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
กังหันน้ำชัยพัฒนา
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
ณิชารัศม์ พรธัญประสิทธิ์ 4/2 เลขที่ 12