Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กิจกรรมการพยาบาล (1.มีภาวะน้ำเกิน เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่…
กิจกรรมการพยาบาล
1.มีภาวะน้ำเกิน เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชม. ประเมินการทำหน้าที่ของระบบประสาท เช่น หายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้เป็นต้น มองเห็นเพื่อให้ทราบถึงภาวะน้ำเกินและให้การพยาบาลได้ถูกต้องเหมาะสม
2.ประเมินการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ และรายงานแพทย์
3.Record I/O เพื่อประเมินความสมดุลของสารน้ำเข้า ออก
4.วางแผนให้น้ำดื่มอย่างจำกัด วันละ 800 ml/วัน ตามแผนการรักษาจัดให้มีน้ำดื่มและเครื่องดื่มอย่างเหมาะสมลดอาหารเค็ม เพราะจะทำให้บวม
5.ชั่งน้ำหนักทุกวัน ในเวลาเดียวกัน และเสื้อผ้าที่คล้ายกัน เพื่อประเมินภาวะบวมน้ำ โดยเทียบน้ำหนัก 1 กก. ประมาณว่ามีน้ำอยู่ 1000 ml. และน้ำหนักที่เกิน 0.5 กก./วัน แสดงถึงการมีน้ำคั่งในร่างกาย
6.ประเมินชีพจรส่วนปลาย อาการบวมของแขน ขา และ Dependent area การโป่งพองของหลอดเลือดดำคอทุก 4 ชม. และสังเกตความตึงตัวของผิวหนัง
7.ฟังเสียงปอดและและเสียงหัวใจอย่างน้อยทุก 8 ชม. เพื่อค้นหาเสียงแทรกเสียงหายใจ และเสียงหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะ Pulmonary edema ได้
8.ให้อาหารที่มีเกลือต่ำและแนะนำญาติและผู้ป่วยให้เข้าใจถึงการจำกัดอาหาร
9.จัดท่านอนให้สบาย และหายใจได้สะดวก โดยไขหัวเตียงสูง 30-45 องศา และให้ออกซิเจนตามอาการ
10.ให้ยา Lasix (500) 1 tab (o) OD. pc.เพื่อรักษาสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลท์
11ติดตามผลอิเล็กโทรไลท์ เพื่อรายงานผลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ
ข้้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า "หายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้"
O : จากการสังเกตผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อย
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อิเล็กโตรลัยท์
วันที่ 30/5/62 eGFR = 2.3 วันที่ 6/5/62 Chloride 92.6 mmol/L
ฺO : น้ำหนักเเรกรับวันที่ 4/5/62 น้ำหนัก 59.9 กิโลกรัม
O : น้ำหนักที่รับไว้ในการดูเเล น้ำหนัก 56.2 กิโลกรัม
O : ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง crapitation
2.มีไข้ เนื่องติดเชื้อในร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
O : อุณหภูมิร่างกาย
วันที่ 30/4/62 T=37.5 องศา
วันที่ 1/5/62 T=37.0 องศา
วันที่ 2/5/62 T=38.0 องศา
วันที่ 3/5/62 T=40.3 องศา
วันที่ 4/5/62 T=39.8 องศา
วันที่ 5/5/62 T=37.3 องศา
วันที่ 6/5/62 T=37.9 องศา
วันที่ 7/5/62 T=39.1 องศา
วันที่ 8/5/62 T=38.0 องศา
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC วันที่ 6/5/62 WBC 12.96 10x103/ul
Neutrophil 80.9 %
Lymphocyte 7.5 %
Eosinophil 5.0 %
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจวัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง เพื่อทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและให้การพยาบาลได้ทัน
2.ดูแลเช็ดตัวลดไข้เมื่อมีไข้ระหว่าง 3.74-38.0 องศา เพื่อลดไข้
3.ดูแลให้ได้รับยา Paracetamol 500 mg. prd q 6 hr. เมื่อมีไข้มากกว่า 38.0 องศา เพื่อลดไข้
4.ดูแลให้ได้รับยา Meropenem(500) IV + NSS 50 ml q 24 hr. เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
5.ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินการเปรี่ยนแปลงของการติดเชื้อของผู้ป่วย
4.มีโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากซีดจากจำนวนเม็ดเลือดลดลง
ข้อมูลสนันสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า “หายใจเหนื่อย ”
O : จากการสังเกตผู้ป่วยมีสีหน้าไม่สดชื่น
O : On O2 cannular 3 LPM
O : O2 sat = 96%
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC
วันที่ 6/5/62 RBC = 3.53 Mill/cu.mm . Hct = 28.2 % Hb = 9.5 g/dl
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ พร่องออกซิเจน เช่น O2 sat, มีผิวกายซีด เล็บซีด Conjunctiva ซีด ปากเขียว เหงื่อออก หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว เพื่อทำให้ทราบถึงภาวะพร่องออกซิเจนเละให้การพยาบาลได้ทันท่วงที
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 4-6 ชม.โดยเฉพาะ อัตราการหายใจ และ อัตราชีพจร เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
3.ดูแลจัดท่า Fowler เพื่อให้ปอดขยายตัวได้มากขึ้น และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้มากขึ้น
4.ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ จำกัดกิจกรรมในช่วงที่มีอาการหอบเหนื่อย ช่วยเหลือในการเปลี่ยนท่าที่เหมาะสมตามที่ผู้ป่วยต้องการ เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
5.ดูแลให้ On O2 Cannular 3 LPM. แนะนำให้ใส่ออกซิเจนตลอดเวลาโดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรม เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
6.ดูแลให้ Pack Red Cell 1Unit (v) drip gr. A.ตามแผนการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงเพียงพอสามารถแลกเปลี่ยน O2 ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายสังเกตอาการขณะให้เลือด และหลังให้เลือด เช่นอาการหนาวสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ผื่นขึ้น เป็นต้น เพื่อให้การพยาบาลได้ทันท่วงที
7.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของภาวะซีด
3.พร่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากอ่อนเพลียจากภาวะซีด
ข้อมูลสนุบสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่ค่อยมีแรง”
O : จากการสังเกตผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ขยับร่างกายช้า ไม่สดชื่นสามารถทำกิจกรรมได้บนเตียง
O : ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC
วันที่ 6/5/62 RBC = 3.53 Mill/cu.mm. Hct = 28.2% Hb = 9.5 g/dl
วันที่ 30/5/62 eGFR = 2.3
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการ อ่อนเพลีย ภาวะซีด เพื่อทำให้ทราบถึงภาวะซีดและให้การพยาบาลได้ถูกต้องเหมาะสม
2.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อวางแผนการให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3.ดูแลให้ Pack Red Cell 1Unit (v) drip gr. A.ตามแผนการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงเพียงพอสามารถแลกเปลี่ยน O2 ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายสังเกตอาการขณะให้เลือด และหลังให้เลือด เช่นอาการหนาวสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ผื่นขึ้น เป็นต้น เพื่อให้การพยาบาลได้ทันท่วงที
4.วางแผนทำกิจกรรมโดยมีระยะพักระหว่างกิจกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อสงวนพลังงานและลดการเกิดอุบัติเหตุ
5.ดูแลให้การช่วยเหลือในการทำกิกรรมกิจ วัตรประจำวัน การลุกนั่งบนเตียง การขับถ่าย ปัสสาวะ เป็นต้นเพื่อลดการใช้พลังงานและลดการเกิดอุบัติเหตุ
6.วางแผนและจัดให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้นโดยไม่เป็นอันตราย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตัวเอง
7.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะซีด
5.พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความตระหนักในการรับประทาน อาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
S : สามีของผู้ป่วยบอกว่า “ผู้ป่วยของทานของหวานและของเค็มเป็นประจำ โดยของหวานจนทานทุกวัน เช่น ผลไม้ 1-2 กิโลกรัม/วัน”
O : จากการสังเกตผู้ป่วยมีการประทานน้ำและของหวานตลอดทั้งวันโดยไม่ฟังคำเตือน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับผลเสียของการรับประทานที่ไม่เหมาะสม เช่น อาจทำให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้นและส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อมอื่นๆตัวมา เป็นต้น เพื่อทำให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความตระหนักในการรับประทานอาหาร
: : :
3.ให้ความรู้ในการวิธีการรับประทานอาหารและเมนูที่ควรหลีกเลี่ยงให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ เช่น การประทานก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารอื่นไม่ควรปรุงเพิ่มเติม เพื่อลดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเคยชินในชีวิตประจำวัน
4.ดูแลและค่อยเตือนผู้ป่วยเป็นประจำเมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความเคยชินรู้ว่าการกะทำนั้นมันผิด
5.สอบถามผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับวิธีการรับประทานอาหารและเมนูที่ควรหลีกเลี่ยง จากผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อทบทวนความจำ และทำให้ทราบถึงความเข้าใจของผู้ป่วย
นาย อภิสิทธิ์ ทองรอด เลขที่ 72 ห้อง B รหัส 593601155