Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเรื้อน ( Leprae) ชนิด Lepromatous (การตรวจร่างกายที่สำคัญ…
โรคเรื้อน ( Leprae) ชนิด Lepromatous
อาการ
Lepromatous type พบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ําหรือไม่เลย
ระยะแรก ผิวหนังมีลักษณะเป็นวงสีแดงเรื่อ ๆ กระจายทั่วร่างกาย ต่อมาจะนูนสูงขึ้นรวมกันเป็นแผ่นแดง หนา ขอบไม่ชัดเจน ผิวหนังมักแดงและเป็นมัน ไม่มีอาการชาแต่ตรวจพบเชื้อ
ระยะหลัง ผิวหนังนูนแดงหนาชัดเจนเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย แผนนูนหนา จะกระจายไปทั่วโดย เฉพาะที่เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนจาก จมูก ปาก คอ ไปจนถึงกล่องเสียง ทําให้ทางเดินหายใจแคบ หายใจไม่สะดวก คัด จมูก ตลอดจนเกิดเสียงแหบได้ นอกจากนี้ยังลามไปที่ใบหู ใบหน้า ริมฝีปากจะบวมพอง ขนคิ้ว ขนตาร่วง ม่านตาอักเสบ ตั้ง จมูกยุบ (Saddle nose) ต่อมน้ําเหลืองโต มีนมโต (gynaecomastia) อัณฑะอักเสบถ้าเน้นประสาทและผิวหนังถูกทําลายมา ก่อนจะมีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้าคล้ายสวมถุงมือถุงเท้า ความรู้สึกต่าง ๆ เสียไป เกิดมีความพิการของร่างกายได้ กล้ามเนื้อลีบ ข้อมือตก ข้อเท้าตก หลับตาไม่สนิท มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ แผลเนื้อตายเกิดขึ้น ตรวจพบเชื้อได้มากมายชนิด นี้เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงมากที่สุดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย
Borderline bype เป็นชนิดที่มีอาการไม่คงที่จะเปลี่ยนไปตามชนิดที่มีอาการจะพบการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง Borderline tuberculiod และ Borderline lepromatous
Indeterminate type เป็นโรคเรื้อชนิดอ่อนไม่ร้ายแรง ลักษณะที่ผิวหนังเป็นวงด่างขาว ยังไม่มีอาการชา ผิวหนังปกติหรือแห้งเล็กน้อย
Tuberculoid type ส่วนมากมีวงด่างขาว 1 แห่ง ผิวหนังแห้งเหงื่อไม่ออก ขนร่วง เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึกถูกทําลาย เส้นประสาทบริเวณนั้นจึงมักโตคลําได้ เส้นประสาทที่มักเกิดปัญหาได้แก่ เส้นประสาท ulnar , radial , lateral popliteal , posterior tibial , great auricular และ supra orbital ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ลีบ หรือเป็น อัมพาตเนื่องจากเส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อถูกทําลายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ามือเท้ากล้ามเนื้อที่ฝ่ามือ และหลัง มือจะแบบราบ เช่น ข้อมือตก (wrist drop) นิ้วงอ (claw hand) เท้าตก (foot drop) และอัมพาตของใบหน้า (Facial paralysis) หน้าตาย ยักคิ้ว หลับตา แยกเคี้ยว ยิงฟันไม่ได้
พยาธิสภาพ
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปอยู่ที่เซลล์ประสาท (Schwann cell) ที่อยู่ตามเส้นประสาทส่วนปลาย ( การกระจายของเชื้อขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของร่างกาย ถ้าภูมิต้านทานของร่างกายสูงพอ ก็จะไม่เกิดโรค ถ้าต่ำก็จะเกิดโรค) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนปลายเส้นประสาทอักเสบมีอาการเสียการรับรู้ความรู้สึก (ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนั้นยังส่งผลต่อผิวหนังทำให้ผิวหนังอักเสบ และเปลี่ยนสีเป็นวงค่างขาวได้)
สาเหตุ
เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Leprae โรคนี้จะเกิดกับเส้นประสาทเยื่อบุตากระดูกและอวัยวะภายในร่างกายและเกิดรอยโรคที่เส้นประสาทส่วนปลาย จะก่อให้เกิดความพิการ และนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเชื้อโรคเรื้อน Mycobacterium Leprae
การตรวจทางท้องปฏิบัติการ
Slit-skin smear 4+ เป็นBorderline Lepromatous (BL) ค่าปกติคือ 0
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชาย อายุ 32 ปี สถานภาพ โสด ศาสนา พุทธ
อาชีพ พนักงานบริษัท รายได้ 20,000 บาท/เดือน
วันที่รับการรักษาในโรงพยาบาล 5 พฤษภาคม 62
การวินิจฉัยโรคครั้งล่าสุด โรคเรื้อน ( Leprae) ชนิด Lepromatous
อาการสำคัญ
หายใจไม่สะดวก ผิวหนังนูนแดงทั่วร่างกาย 1 วัน ก่อนมา โรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วย
7 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ ผิวหนังนูนแดงหนาชัดเจนทั่วร่างกาย
1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ มีอาการมากขึ้น มาโรงพยาบาล
การตรวจร่างกายที่สำคัญ
ชายไทยอายุ32ปี รูปร่างสูงผอม ผิวสีเข้ม มีผื่นสีแดงตามผิวหนังทั่วร่างกาย T=36.5°c, RR=16 rbm ,BP=122/70 mm/Hg, P= 68 rbm
ผิวหนังทั่วร่างกาย มีผื่นสีแดงระเรื่อๆผิวแห้งเป็นมัน ขอบไม่ชัดเจน ไม่มีอาการชาบริเวณผื่นสีแดง ริมฝีปากบวมพอง
กล้ามเนื้อมือและเท้าชา มือทั้ง2ข้าง Motor Power Grade 4 และเท้าทั้ง2ข้าง Motor Power Grade 4
ระบบหายใจ ฟังเสียงปอดเสียงrhonchi หายใจติดขัด เสียงแหบ Respiratory 16 rbm
ระบบน้ำเหลือง พบต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอ
การรักษาปัจจุบัน
ผู้ป่วยระยะเริ่มแรกที่มีอาการน้อย จะได้รับประทานยา 3 ชนิด นาน 6 เดือน
ยาชนิดที่ 2 จะเป็นแคปซูล รับประทานเพียงเดือนละ 1 ครั้ง
ผู้ป่วยที่มีอาการมาก จะได้รับประทานยา 3 ชนิด นาน 2 ปี โดยมียาชนิดที่ 1 และ 2 เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย
ยาชนิดที่ 1 จะเป็นเม็ดเล็กสีขาว รับประทานวันละ 1 เม็ดทุกวัน
ยาชนิดที่ 3 จะเป็นแคปซูลนิ่มสีน้ำตาลเข้ม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อที่ 1 เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่น เนื่องจาก เป็นโรคติดต่อและขาดความรู้ในการป้องกันโรค
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติถึงการดำเนินของโรค การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
2.พยาบาลที่ให้การพยาบาลสวมเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ปิดจมูก สวมถุงมือ และล้างมือหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
3.ให้ยาตามแผนการรักษา Rifampicin 600 mg รับประทาน เดือนละครั้ง
Clofazimine 300 mg รับประทานเดือนละครั้ง
Dapsone รับประทาน 100 mg/วัน
Clofazimine 50 mg/วัน รับประทานวันเว้นวันและสังเกตอาการข้างเคียง
4.ติดตามปลการตรวจเชื้อจากผิวหนังและจมูก
ข้อที่3 ผู้ป่วยมีความไม่สุขสบายด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ที่เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
การพยาบาล
1.ให้การต้อนรับและประเมินสภาพแรกรับค้นหาอาการทันทีโดยพยายาลวิชาชีพ
2.ให้ข้อมูลการทำกิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติ
3.สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจเพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาพยาบาล
4.ให้กำลังใจและให้ข้อมูล ยอมรับในความรู้สึกของผู้ป่วย
ข้อที่ 2 ส่งเสริมการดูเเลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเเทรกซ้อน เช่น ภาวะโรคเห่อ
การพยาบาล
1.ให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นประจำ
2.ถ้าผู้ป่วยใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงจากยา เช่น อาการเเพ้เป็นผื่นคัน มีผื่นตุ่มขึ้น มีไข้ ปวดตามข้อตามกระดูก และปวดประสาท ให้แจ้งแพทย์
3.เเนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรคที่ดี
4.เเนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่