Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis ) (อาการและอาการแสดง…
ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis )
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักจะมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นขี้ตื่น หรือมีท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ฉุนเฉียว โมโหง่าย นอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า
หิวง่าย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาจกินจุมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก (แต่ผู้ป่วยบางรายอาจกินมากขึ้นจนน้ำหนักตัวไม่ลดลงหรือมีน้ำหนักตัวมากขึ้นก็ได้)
มักจะขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย ฝ่ามือมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเสีย หรือคลื่นไส้อาเจียน
อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจหวิว ใจสั่น มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานที่ต้องใช้ความละเอียด เช่น งานฝีมือ เขียนหนังสือ) อาจมีอาการเจ็บหน้าอก
บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตเป็นครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
ผู้ป่วยหญิงบางรายอาจมีประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจาง มีประจำเดือนน้อย หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาด
อาการอื่น ๆ เช่น สุขภาพผมเปลี่ยนไป (ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง), เล็บยาวผิดปกติ, ผิวหนังบาง, มีอาการคัน เป็นต้น
การดูแล
ปัญหาการพยาบาล
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากมีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย
เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ อิเลคโตรไลท์และสารอาหารเนื่องจากมีการเผาผลาญสารอาหารในระดับสูงกว่าปกติ
CPP ลดลงเนื่องจากการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้นและภาวะการหายใจและหัวใจล้มเหลว
เสี่ยงต่อ CO2 ลดลงเนื่องจากภาวะ Cardiac arrtythmia หรือ Congestive heart failure
วิตกกังวลต่อการเจ็บป่วย
มีไข้สูงเนื่องจากเมทาบอลิซึมสูงกว่าปกติ
การพยาบาล
เช็ดตัวลดไข้ ice pack , Coling blankets และให้ยาลดไข้ในกลุ่ม acetaminaphen หลีกเหลี่ยง การให aspirin
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ และติดตามผล I/O
วัด V/S , O2 sat ทุก 4 ชั่วโมง และดูแลการได้รับออกซิเจน ถ้าO2 sat ต่ำกว่า 95 % ให้ ออกซิเจน 3-5 ลิตร/นาที
ประเมิน S/S จากภาวะช็อก
ประเมิน S/S ของ Thyroid crisis
ให้คำแนะนำเพื่อควบคุมภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและหากลืมรับประทานยาให้รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ หากเป็นเวลาใกล้กับมื้อถัดไปให้งดมื้อที่ลืมและข้ามไปรับประทานมื้อถัดไป ห้ามรับบประทาน 2 มื้อควบกัน
ห้ามหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
มาพบแพทย์ตามนัด
ดูแลให้นอนพัก จำกัดกิจกรรมตามความจำเป็น จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความสงบและเย็น และดูแลให้มีความปลอดภัยต่อผู็ป่วย
ติดตามผลการตรวจต่างๆ
บันทึก CVP ถ้าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 mmHg หรือ CVP ต่ำกว่า 5 cmH2O รายงานแพทย์
คำแนะนำในการดูแลตนเอง
ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองหรือหยุดยาในทันที เพราะโรคยังเป็นอยู่ แต่ถูกกดไม่ให้มีอาการด้วยยาที่กิน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตรวจเลือดเพื่อดูว่าอาการของโรคนั้นดีขึ้นมากน้อยเพียงใด
ผู้ป่วยที่กินยาต้านไทรอยย์อาจเกิดการแพ้ยาได้ ซึ่งมักจะมีอาการไข้ ปวดตามข้อ บางรายอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง (โรคดีซ่าน) จากภาวะตับอักเสบ หรือเจ็บคอ เป็นไข้สูง กินยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ) ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแล้วยังไม่ดีขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (ทำให้อ่อนเพลียและติดเชื้อโรคได้ง่าย) ดังนั้น หากอาการที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ยาดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ
ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา จะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะการลืมกินยาบ่อย ๆ กินยาไม่สม่ำเสมอหรือกินยาไม่ได้ตามจำนวนครั้งต่อวันตามที่แพทย์สั่งนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
ไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การจะหายช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการรักษาด้วย ถ้ารักษาด้วยยาก็มักจะหายช้า และแม้จะหยุดยาได้
เมื่อมีอาการผิดปกติดังกลาวเกิดขึ้นหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์และ/หรือลำคอ ควรไปรีบพบแพทย์ภายใน 1 สัปดาห์
ในรายที่กินยาต้านไทรอยด์แล้วคอกลับโตขึ้น อาจมีสาเหตุได้ 2 กลุ่ม คือ ยาไม่พอ จึงทำให้โรคยังกำเริบอยู่ คอจึงโตขึ้น ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการคล้ายตอนเริ่มต้น แต่ในผู้ป่วยอีกกลุ่มจะเกิดจากการกินยามากเกินขนาด คือ โรคเริ่มดีขึ้นแล้วแต่ยังกินยาเท่าเดิมอยู่ จึงทำให้เกิดคอพอกชนิดไม่เป็นพิษร่วมด้วย คอก็โตขึ้นได้เช่นกัน จึงมีคำแนะนำว่า หากกินยาแล้วคอกลับโตขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ให้ผู้การรักษา ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์บ่อย ๆ เพราะการรักษาจะไม่ต่อเนื่อง และหากกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือในระหว่างที่กินยาแล้วลดขนาดยาลงไม่ได้หรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
ผู้ที่ได้รับการรักษายาต้านไทรอยด์ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน หรือการกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน ควรเฝ้าสังเกตอาการของเกิดภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) เช่น เฉื่อยชา ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ขี้หนาว ท้องผูก มีรูปร่างอ้วนขึ้น ทั้ง ๆ ที่กินไม่มาก เป็นต้น และตรวจดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่เป็นระยะ หากพบภาวะดังกล่าวควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ผู้ที่รักษาไทรอยด์เป็นพิษจนหายขาดแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจติดตามผลการรักษาอาจทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อตรวจดูอาการและเจาะเลือดตรวจวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ว่ายังอยู่ในระดับปกติหรือไม่
การป้องกัน
ไทรอยด์เป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษหากสิ้นสุดการรักษาแล้ว การติดตามผลในระยะยาวก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เพื่อไม่ให้โรคไทรอยด์เป็นพิษกลับมาเป็นซ้ำอีก หากสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงโรคไทรอยด์เป็นพิษมากขึ้น โดยในการติดตามผล แพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อเฝ้าระวังอาการและเตรียมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีตรวจไทรอยด์ด้วยตนเอง
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อมๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
หากผมการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน... ให้ลองคลึงดู
ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้าๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
สาเหตุ
การอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis)
สาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้น้อย
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone) ซึ่งเป็นยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากใช้ยานี้ในขนาดสูงอาจไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นและอาจทำให้ต่อมไทรอยด์อักเสบจนส่งผลให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้
การใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์ที่ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์มากเกิน
การได้รับสารไอโอดีนมากเกินไปเนื่องจากสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งสารไอโอดีนที่ว่านี้อาจอยู่ในอาหารหรือยาที่บริโภคก็ได้ เมื่อได้รับเข้าไปมากเกินไปก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้
เนื้องอกต่อมใต้สมอง
เนื้องอกรังไข่ชนิด Dermoid cyst
ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy)ที่มีการหลั่งฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ออกมาจำนวนมาก ซึ่งสามารถไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้
เนื้องอกไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ (Toxic thyroid adenoma)
คอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม (Toxic multinodular goiter)
เรียกว่า “โรคพลัมเมอร์” (Plummer’s disease) เป็นโรคที่มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอกในลักษณะโตเป็นปุ่มหลายปุ่ม มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง
โรคเกรฟส์ หรือ โรคคอพอกตาโปน (Graves’ disease)
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 60-80% ของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษทั้งหมด เป็นโรคที่พบได้มากในวัยรุ่นและวัยกลางคน (คนที่อายุประมาณ 20-40 ปี) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5-10 เท่า
การรักษา
ยาบรรเทาอาการอื่น ๆ
ยาไดอะซีแพม (Diazepam) เพื่อบรรเทาอาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ และยาต้านเบต้าหรือเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blocker) เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol) วันละ 40-120 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2-4 ครั้ง เพื่อช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)
มีข้อเสียที่ต้องวางยาสลบ และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ (พบได้ไม่บ่อย รวมแล้วไม่ถึง 5% แต่บางภาวะอาจมีผลต่อกิจวัตรตลอดชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยจึงมักจะมีความลังเลในการตัดสินใจผ่าตัด จึงทำให้การผ่าตัดไม่เป็นที่นิยมมากนัก)
ยาต้านไทรอยด์ (Antithyroid drug)
ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย คือ เมไทมาโซล (Methimazole : MMI) ขนาดเม็ดละ 5 มิลลิกรัม หรือ โพรพิลไทโอยูราซิล (Propylthiouracil : PTU) ขนาดเม็ดละ 50 มิลลิกรัม
ผลข้างเคียงของยาต้านไทรอยด์
เกิดการแพ้ยา ผื่นคัน
กดการสร้างเม็ดเลือดขาว
เกิดภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
ในหญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้ยาเมไทมาโซล แต่ให้ใช้ยาโพรพิลไทโอยูราซิลแทน เพราะยาชนิดหลังนี้จะผ่านรกได้น้อยกว่
การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน/สารไอโอดีนกัมมันตรังสี (Radioactive iodine)
ข้อดีคือ สามารถรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษให้หายขาดได้สูง สะดวก ง่าย และเป็นสารที่มีความปลอดภัย (ปัจจุบันมียาเป็นแคปซูล แต่ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้มาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมนัก
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการรักษา คือ ภาวะขาดไทรอยด์เนื่องจากเนื้อเยื่อไทรอยด์ถูกทำลายมากเกิน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิตเช่นเดียวกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
เน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและโซเดียมให้มากขึ้น (แต่ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม) ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยลดภาวะขาดน้ำ นอกจากนี้ไทรอยด์เป็นพิษยังทำให้กระดูกบางลง ผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมและวิตามินดีควบคู่กันไปด้วย
ความหมาย
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำ เดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้น อวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ประเมินสภาพ
สิ่งที่ตรวจพบในผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ
มักพบอาการมือสั่น
ผิวหนังของผู้ป่วยมักมีลักษณะเรียบนุ่มและมีเหงื่อชุ่ม
ความดันช่วงบนมักสูงกว่าปกติ ชีพจรมักเต้นเร็วประมาณ 100-130 ครั้ง/นาที (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ) และอาจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือไม่เป็นจังหวะ
ในผู้ป่วยโรคเกรฟส์ อาจพบหนังตาบวม หนังตาบนหดรั้งขึ้นไป ถ้าให้เห็นตาขาวด้านบนชัด ๆ จะดูคล้ายผู้ป่วยทำตาดุหรือจ้องดูอะไรอยู่ อาจมีอาการตาโปน
ผู้ป่วยมักมีอาการคอพอก ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น ส่วนในรายที่เป็นโรคเกรฟส์ ต่อมไทรอยด์จะมีลักษณะบวมโตแบบกระจาย (ไม่เป็นปุ่ม) คลำดูมีลักษณะหยุ่น
การตรวจเลือด
การตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์ T3 และ T4 ในเลือด สามารถระบุได้อย่างชัดเจนถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าผิดปกติหรือไม่ หากไม่ปกติ (T3 และ T4 สูงกว่าปกติ
การตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์ (Thyroidglobulin)
การตรวจทีเอสเอช (Thyroid-stimulating hormone : TSH)
การตรวจเอกซเรย์
การตรวจสแกนต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan)
การตรวจอัลตราซาวนด์
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบซีทีสแกน (CT scan) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า/เอ็มอาร์ไอ (MRI)
การตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดงของฌรคที่กล่าวมา
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว เช่น Grave's disease , Hyperthyroidism ,Htyrotoxicosis ที่ไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง
ภาวะแทรกซ้อน
บางรายอาจมีอาการของอัมพาตชั่วคราว
ในผู้ชายอาจมีอาการเต้านมโต (Gynecomastia)
ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) หรือแม้แต่ภาวะหัวใจวาย (Congestive Heart failure)
ปัญหาสายตา พบในผู้ป่วยโรคเกรฟส์ที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์เป็นพิษเท่านั้น โดยภาวะแทรกซ้อนทางสายตา ได้แกา ตาแห้ง ตาไวต่อแสง ตาแฉะ เห็นภาพซ้อน ตาแดง หรือบวม ตาโปนออกมามากกว่าปกติ หนังตาบวมแดง หนังตาปลิ้นออกมาผิดปกติ
ในหญิงตั้งครรภ์ ไทรอยด์เป็นพิษอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น ครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด การแท้งบุตร เด็กทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ เป็นต้น
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ (Thyroid crisis) หากควบคุมระดับไทรอยด์ได้ไม่ดี อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) หลายครั้งการรักษาไทรอยด์เป็นพิษก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์จนก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น เฉื่อยชา ทำงานเชื่องช้า คิดช้า
พยาธิสภาพ
การเพิ่มระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายทำให้มีการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ ในร่างกายมากขึ้น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
ร่างกายสร้างโปรตีนลดลง อวัยวะต่างๆ ทำงานมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการเผลผลาญสารอาหารที่มากขึ้น
อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ระบบประสาทซิมพาเทติคทำงานเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดออกจากหัวใจเพิ่มขึ้นและการไหลเวียนเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
ภาวะนี้หากไม่สามารภควบคุมได้ เนื่องจากการรักษาที่ไม่ดีพอหรือภาวะเครียดอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้