Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติระบบทางเดินปัสสาวะ เรื่องไตวายเฉียบพลัน (Acute…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติระบบทางเดินปัสสาวะ เรื่องไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)
สาเหตุ
สาเหตุเกิดจากเนื้อไต (Intrinsic acute failure) จากตัวเนื้อไตเอง ที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งสามารถแบ่งตามพยาธิสภาพและตำแหน่งที่เกิดโรคได้ เช่นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดใหญ่ เส้นเลือดขนาดเล็กและหลอดฝอยของไตจากทุกุลโรคที่เกิด
Prerenal acute kidney injury หมายถึงความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงไต เกิดจากปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไตหรือการกำชาบของเนื้อเยื่อไต (renal perfusion) ลดลง ความดันโลหิตต่ำ ปริมาณสารน้ำในร่างกายน้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เมื่อแก้ไขสาเหตุได้ จะทำให้ไตกลับมาทำหน้าที่ได้ดังเดิมอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เซลล์และหลอดฝอยของไตตาย เกิดภาวะ acute tubular necrosis (ATN)
Postrenal acute kidney injury การเกิด Postrenal acute renal failure หรือ postrenal เกิดจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะส่วนล่างของไต ตั้งแต่ปลายท่อปัสสาวะกระเพาะปัสสาวะ และท่อไตทั้ง2ข้าง เป็นสาเหตุที่พบได้ค่อนข้างน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5 ของสาเหตุการเกิดไตวายเฉียบพลันทั้งหมด สาเหตุ ได้แก่ นิ่ว เนื้องอก ก้อนเลือด เมื่อมีการอุดกั้น ปัสสาวะจะไหลลงมาไม่สะดวก ก่อให้เกิดการขยายตัวของทางเดินปัสสาวะส่วนบน และการทำงานของไตจะบกพร่องตามมา โดยทั่วไปถ้าไม่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน การอุดกั้นที่สมบูรณ์นาน 1-2 สัปดาห์ อาจพอแก้ไขให้ได้กลับมาทำหน้าที่ดังเดิมได้
พยาธิสภาพ
บทบาทด้านการไหลเวียนเลือด เมื่อไตขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้อัตราการกรองของไตลดลงอย่างมาก ทำให้ไตสร้าง nitric oxide ซึ่งทำหน้าที่ขยายหลอดเลือดลดลง ร่วมกับการสร้าง endothelin ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เซลล์ทิวบูลถูกทำลายและไตวายเพิ่มขึ้น
บทบาทของเซลล์ทิวบูล เมื่อเซลล์ทิวบูลไตถูกทำลาย ทำให้เซลล์หลุดออกมาทางท่อไต และอุดกั้นท่อไต ทำให้สารน้ำต่างๆที่ถูกกรองออกมาไหลย้อนผ่านเซลล์ทิวบูลเข้าไปในร่างกาย ผลที่ตามมาคือ ทำให้อัตราการกรองของไตลดลง ทำให้ไตวายเพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง
ระยะปัสสาวะออกมาก (Diuretic phase)
3.ระยะฟื้นฟูสภาพ (Recovery phase)
ระยะที่มีปัสสาวะออกน้อย (Oliguric phase)
การรักษา
แพทย์จะทำการรักษาโดยการหาสาเหตุและรีบทำการรักษาที่ต้นเหตุ เพื่อให้ไตสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยเร็ว และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การหยุดยาที่เป็นสาเหตุ แก้ไขภาวะช็อกและการให้สารน้ำในรายที่มีการขาดสารน้ำ
แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองและรักษาโรคแทรกซ้อน ได้แก่ การควบคุมปริมาณน้ำเข้าออกร่างกายให้สมดุล หลีกเลี่ยงยาที่มีพิษต่อไต รวมทั้งปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับการทำงานของไตที่ลดลง แก้ไขสมดุลกรดด่าง ภาวะเกลือแร่ที่ผิดปกติในร่างกาย เป็นต้น
การให้สารอาหาร พลังงานและปริมาณโปรตีนให้เหมาะสม
การบำบัดทดแทนไต (dialysis) ตามข้อบ่งชี้ เช่น ภาวะที่มีโปแตสเซียมในเลือดสูง ซึ่งหากหาสาเหตุและแก้ปัญหาได้ส่วนใหญ่จะกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ หากรับการรักษาล่าช้าก็จะทำให้กลายเป็นภาวะไตวายเรื้อรังได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันถูกกดจากภาวะยูรีเมีย และได้รับการสอดใส่สายต่างๆเข้าไปในร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ให้การพยาบาลด้วยวิธีปราศจากเชื้อมากที่สุด เช่นการดูดเสมหะ การฉีดยา ให้เลือดโดยการเช็ดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์ 70% ดูแลบริเวณที่แทงเข็ม ถ้ามีการอักเสบต้องเปลี่ยนตำแหน่งทันที ต้องทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผลเพาะเชื้อต่างๆ
ดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อม
ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางปาก ช่องคลอดทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ และกระแสเลือด ที่สำคัญคือล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล สิ่งของและเครื่องใช้ต้องสะอาด หากปนเปื้อนหรือไม่แน่ใจให้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคก่อนมาใช้กับผู้ป่วย รักษาความสะอาดปาก ฟัน เพราะการติดเชื้อในช่องปากพบได้บ่อย
ดูแลให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษาสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา
ประเมินสภาพเพื่อหาแหล่งติดเชื้อ โดยการวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ดูแลความสะอาดปาก ฟันทางเดินปัสสาวะ ดูว่าปัสสาวะขุ่น หรือมีตะกอนหรือไม่ ทางเดินหายใจ ฟังเสียงปอดดูว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ สังเกตสีของเสมหะว่าเปลี่ยนสีหรือไม่
มีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยา Lasix ตามแผนการรักษา
สังเกตระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินภาวะของเสียคั่ง
ดูแลให้ได้รับการทำ CRRT, HD, CAPD ตามแผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจ BUN, Cr, Electrolyte
ดูแลให้ได้รับอาหารจืด เนื้อน้อย โปตัสเซียมต่ำ แคลอรีสูง ตามแผนการรักษาของแพทย์
บันทึกจำนวนน้ำเข้าและขับออกทุก 8 ชั่วโมง
มีภาวะซีด เนื่องจากไตสร้างฮอร์โมน Erythropoietin ได้น้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ที่ไม่ขัดกับโรค
ประเมินผลค่าฮีมาโตคริตหลังให้เลือก 4 ชั่วโมง
วัดสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอทุก 2 ชั่วโมง สังเกตชีพจรเร็วหาย ใจหอบ ความดันโลหิตต่ำ
ดูแลให้ PRC 1 unit ตามแผนการรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด เช่น มีผื่น คัน หนาว สั่น
ให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่ที่เตียง จำกัดกิจกรรม เพื่อลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
ดูแลให้ยาวิตามิน FeS04, Folic acid, Eprey, ตามแผนการรักษา
มีภาวะหายใจล้มเหลว เนื่องจากมีน้ำคั่งในปอด
ฟังปอดทุกเวร และดูตำแหน่งของท่อหลอดลมคอให้อยู่ที่เดิม ระวังไม่ให้เลื่อนหลุด
จัดท่านอนศีรษะสูง สังเกตภาวะ Cyanosis สังเกต O2 Sat ทุก 1-2 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนจากเครื่องช่วยหายใจ ดูแลข้อต่อของเครื่องช่วยหายใจไม่ให้หลุด หรือหักพับงอ
ให้ยาขับปัสสาวะ Lasix ตามแผนการรักษา สังเกต Urine Output หลังให้ยา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะให้ทุก 2 ชั่วโมงและตามความเหมาะสม
ระวังการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยการล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล สังเกตสีของเสมหะ
ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
ทำความสะอาดปากฟันอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง
มีภาวะไม่สมดุลย์ของน้ำและอิเลคโทรลัยท์เนื่องจากไตเสียหน้าที่
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ยาขับโปตัสเซียม Kalimatae ตามแผนการรักษาของแพทย์
ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยชั่งเครื่องเดิม เพื่อประเมินสมดุลน้ำของร่างกาย
บันทึก EKG เพื่อประเมินความผิดปกติของอิเลคโตรลัยท์ในร่างกาย เช่น Hyper K มี Tal peak r
บันทึกจำนวนน้ำเข้าและออกทุกเวร เพื่อประเมินสมดุลน้ำในร่างกาย
สังเกตระดับความรู้สึกตัวเช่นซึมซักจากภาวะ Na ต่ำ
ให้ดื่มน้ำอย่างจำกัดตามแผนการรักษา
สังเกตการบวมของ แขน ขา หนังตาบน ก้นกบ เพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในร่างกาย
ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ เพื่อลดการคั่งของน้ำและโซเดียมให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
วัด vital signs เพื่อประเมินการทำหน้าที่ของระบบประสาท เช่น ระดับความรู้สึกตัว อาการกระสับกระส่าย อาการปวดศีรษะ ชัก โดยประเมินทุกชั่วโมง ในระยะแรกและเปลี่ยนเป็นทุก 4 ชั่วโมงเมื่ออาการดีขึ้น
ติดตามผล Lab electrolyte เพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำ และelectrolyte