Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบประสาทส่วนกลาง …
ระบบบประสาทส่วนกลาง การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง (Axial Spine injury)
สาเหตุ
อุบัติเหตุทางจราจร (ร้อยละ 45.4) ตกจากที่สูง (ร้อยละ 16.8) กีฬาที่มีความเสี่ยงบางประเภท เช่น ว่ายน้า ดำน้า ขี่ม้า รักบี้ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกยิง ถูกแทง ถูกวัตถุหนักๆ ตกทับ และในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากการหกล้ม (falling)
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของการบาดเจ็บไขสันหลังนั้นเกิดภายใน 5 นาทีหลังบาดเจ็บโดยจะมีการเปลี่ยนแปลงตรงกลางของพื้นที่สีเทาให้หลั่ง catecholamine ออกมาจากเซลล์ประสาท ทำให้มีเลือดออกมากขึ้น และขยายบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 2 ชั่วโมง ส่วนบริเวณพื้นที่สีขาวจะมีการบวม เกิดการขาดเลือดและออกซิเจน ภายใน 4 ชั่วโมงเซลล์ที่อยู่รอบๆ บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะมีเลือดไปเลี้ยงลดลง
ประเภทของการบาดเจ็บ ไขสันหลัง
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดสมบูรณ์ (Complete cord injury) หมายถึง การบาดเจ็บที่ทำให้ไขสันหลังสูญเสียหน้าที่ทั้งหมด ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อและความรู้สึกในส่วนที่ต่ำกว่าพยาธิสภาพ ควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนักไม่ได้ เกิดอัมพาตอย่างถาวร
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์ (Incomplete spinal cord injury) หมายถึงร่างกายส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับพยาธิสภาพ มีบางส่วนของระบบประสาทที่ยังทำหน้าที่อยู่ เช่น ผู้ป่วยมีกำลังกล้ามเนื้อหรือมีการรับรู้ที่ผิวหนังในส่วนที่ถูกควบคุมด้วยไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่ได้รับบาดเจ็บ
การแบ่งระดับความรุนแรงของ การบาดเจ็บไขสันหลัง
ระดับ A (complete) หมายถึง อัมพาตอย่างสมบูรณ์ไม่มีการเคลื่อนไหวและไม่มีความรู้สึก
ระดับ B (incomplete) หมายถึง มีความรู้สึกในระดับ S4-5 แต่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
ระดับ C (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 3
ระดับ D (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
ระดับ E (normal) หมายถึง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกปกติ
การประเมิน
การซักประวัติ ผู้บาดเจ็บทุกรายให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีบาดเจ็บของกระดูกคอจึงต้องป้องกันโดยใส่ Philadelphia collar
การตรวจร่างกาย ใช้หลัก ABCDE เป็นแนวปฏิบัติในการประเมินผู้บาดเจ็บ
การตรวจภาพถ่ายรังสีวิทยา (X-ray) การทำ CT scan และการตรวจทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ผลกระทบด้านร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหายใจเข้าและออกลดลงการระบายอากาศที่ปอดลดลงเกิดปอดแฟบในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ระดับสูงกว่า c4 จะไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้อย่างเพียงพอ
ระบบหัวใจและหลอดเลือดส่งผลให้การทำงานของประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติกสูญเสียหน้าที่ไปทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและช้าความดันโลหิตสูงอุณหภูมิร่างกายต่ำ
ระบบทางเดินอาหารทำให้มีการสูญเสียระบบประสาทอัตโนมัติส่วนที่ควบคุมระบบย่อยอาหารทำให้ลำไส้เป็นอัมพาตเกิดอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกพบว่ากล้ามเนื้อมีความตึงตัวลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงส่งผลให้เกิดแผลกดทับข้อยึดติด
การดูแรักษา
Breathing หลังจากอุบัติเหตุประเมินลักษณะการหายใจ oxygen saturation, force vital capacity ทุกราย
Circulation การให้สารน้ำเริ่มต้นเป็น 0.9% NSS ในผู้ป่วยที่มีภาวะ shock ให้พิจารณาการให้ยา Vasopressin เพื่อให้ค่า mean arterial pressure (MAP ≥ 85 mmHg)
การให้ยา
High-dose Methyprednisolone
การให้ยาในกลุ่ม H2 antagonist และ Proton Pump Inhibitor (PPI) เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
ยาบรรเทาอาการปวดในกลุ่ม Acetaminophen, Acetaminophen with codeine, Tramadol หรือ Opiate derivative
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
การดูแลระบบทางเดินอาหาร
การดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพและจัดท่านอนศีรษะสูง
ให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่ออันตรายจากการไหลเวียนผิดปกติเนื่องจาก autonomic reflexia
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการระบบอัตโนมัติทำงานผิดปกติได้แก่ปวดศีรษะอย่างออกผิวหนังแดง
ประเมินและขจัดสิ่งรบกวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
ดูแลให้ได้รับยาลดความดันโลหิต ยาระบายการส่วนอุจจาระตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะจะไปหน้าช็อคเนื่องจากไขสันหลังบาดเจ็บ