Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure: ARF) (การพยาบาล…
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure: ARF)
พยาธิสภาพ
เมื่อไตขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้อัตราการกรองลดลง ไตมีการสร้าง Nitric oxide ซึ่งทำหน้าที่ให้หลอดเลือดขยาย ร่วมกับสร้าง Endothelin ซึ่งทำหน้าที่ให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เซลล์Tubular ถูกทำลาย เมื่อเซลล์Tubular ถูกทำลายจะหลุดออกมาทางท่อไต และอุดกั้นท่อไต ทำให้สารน้ำต่างๆที่ถูกกรองออกมาไหลย้อนกลับสู่ร่างกาย ทำให้อัตรากรองลดลง และไตวายเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุ
Pre-renal failure
: กลุ่มอาการที่มีการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงไต
แผลไฟไหม้
ภาวะช็อค
หัวใจล้มเหลว
การเสียเลือด
Intrinsic renal failure
: กลุ่มอาการที่มีพยาธิสภาพที่เนื้อไต โกลเมอรูลัส หลอดไต หรือเส้นเลือดมีการ
เปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อ
การเน่าตายของหลอดไตอย่างเฉียบพลัน
การอักเสบของไตหรือกรวยไตจากการติดเชื้อ
ได้รับยาหรือสารที่มีพิษต่อเนื้อไต ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ
นิ่วกดเบียดเนื้อไต
Post-renal failure:
กลุ่มอาการที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรวยไตถึงท่อปัสสาวะ
เนื้องอกต่อมลูกหมากโต
นิ่วในท่อไต
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
เกิดลิ่มเลือด หรือการติดเชื้อ
อาการ และอาการแสดง
1. ระยะเริ่มแรก (initial phase)
ร่างกายยังสามารถปรับตัวได้ โดยการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ทำให้เลือดเลี้ยงไตลดลง
2. ระยะที่มีปัสสาวะออกน้อย (oliguric phase)
หรือไม่มีน้ำปัสสาวะออกจากร่างกาย ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ ในระยะนี้ไตไม่สามารถขับของเสียออกได้ ทำให้ระดับของครีตินิน
และยูเรียไนโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น มีการคั่งของ น้ำ และเกลือแร่ในกระแสเลือด
3. ระยะปัสสาวะออกมาก (diuretic phase)
ปัสสาวะอาจจะออกถึงวันละ 1,000 - 2,000 มล.ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้
4. ระยะฟื้นสภาพ (recovery phase)
เป็นระยะที่หน้าที่ของไตค่อยๆฟื้นสภาพอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาฟื้นภายในเวลาระยะ 1 ปี หรือในบางรายอาจมีการเสียหน้าที่บางส่วนอย่างถาวร
การพยาบาล
ปรับสมดุลน้ำ
ในกรณีที่ขาดน้ำ ควรให้ทดแทนเท่ากับจำนวนปัสสาวะ หรือจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย
ในกรณีน้ำเกิน จะต้องจำกัดน้ำ และเกลือที่ได้รับ รวมทั้งดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ เช่น Furosemide
กรณีโพแทสเซียมสูง
สูง < 5 mEq/L ให้งดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
สูง 5-ุ6.5 mEq/L ให้ Sodium polystyrene sufonate 15-30 g. ทุก 3-4 ชั่วโมง ร่วมกับ 20% sobitol 50-100 cc ทางปากหรือสวนเก็บทางทวารหนัก
สูง > 6.5 mEq/L และมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ให้ Insulin ทางหลอดเลือดดำ, Sodium bicarbonate, Calcium solution
ภาวะเลือดเป็นกรด
ถ้า Bicarbonate ในเลือดต่ำกว่า 15 mEq/L พิจารณาให้ Sodium bicarbonate
ภาวะโภชนาการ
ดูแลให้ได้รับเเคลอรี่ที่เพียงพอ ไม่ควรงดโปรตีนมากเกินไป ควรได้รับ 0.5 g./kg/day
ภาวะซีด
ดูแลให้ได้รับเลือด และฮอร์โมน Erytropoietin
การบำบัดทดแทนด้วยไตเทียม หรือการทำ Dialysis
ปัญหาทางการพยาบาล
มีภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากมีน้ำคั่งที่ปอด
มีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย และไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
มีภาวะติดเชื้อ เนื่องจากภูมิคุ้มกันถูกกดจากภาวะยูรีเมีย
มีภาวะซีด เนื่องจากไตสร้างฮอร์โมน Erytropoietin ได้น้อยลง
การรักษา
Pre-renal
: รักษาโดยการให้สารน้ำ และเกลือแร่ทดแทนจนกว่า Volume status เข้าสู่ภาวะปกติ และรักษาสาเหตุที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
Intrinsic renal failure:
ป้องกันไม่ให้ไตสูญเสียหน้าที่มากกว่าเดิม และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ฟื้นฟูการทำงานของไต
Post-renal failure:
รักษาโดยการแก้ไขสาเหตุการอุดตันของระบบ KUB เช่น การขบนิ่วออก