Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer; GU) (การพยาบาล (9.การดูแลให้ผู้ป่วยไ…
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
(gastric ulcer; GU)
พยาธิสภาพ
มักต้องมี สาเหตุ มาทำให้เกิดการเสียสมดุลในระหว่าง 2 ปัจจัยที่ สำคัญในบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร
มีปัจจัยเร่งการทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร (aggressive factors-induced gastric mucosal damage)
เช่น ติดเชื้อ แบคทีเรีย H. pylori, ใช้ยาแอสไพริน และ NSAIDs, ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง มีภาวะที่ทำให้กระเพาะ อาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริก (HCL), น้ำย่อยเพปซิน (pepsin) หรือสาร oxidative stress (oxygen free radicals) มากเกินไป เป็นต้น
เกิดความบกพร่องในปัจจัยที่ช่วยปกป้องและซ่อมแซม เยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร (defects in protective and mucosal repair factors)
เช่น กระเพาะอาหารขาดสาร endogenous prostaglandins (โดยเฉพาะ PGE2), มีภาวะ ที่ทำให้ผิวกระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือก (gastric mucus) ลดลง, มีการลดลงของสาร bicarbonate และ nitric oxide (NO), ผิวกระเพาะอาหารขาดเลือดมาเลี้ยง (decrease mucosal blood flow) ทำให้เกิดความ บกพร่องในการสร้างเยื่อบุผิว (epithelial proliferation defect), สูบบุหรี่ เป็นต้น
สาเหตุ
ติดเชื้อโรคบางชนิดในกระเพาะอาหาร เช่น เชื้อแบคทีเรีย H. pylori, เชื้อรา ไวรัส หรือเชื้อวัณโรค
ได้รับยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs
ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน (aspirin), clopidogrel, ticlopidine, warfarin เป็นต้น
ได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) โดยเฉพาะเมื่อได้ยานี้ร่วมกับ aspirin หรือ NSAIDs
ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคตับแข็ง (liver cirrhosis), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), ไตวายเรื้อรัง (CRF),
ผู้ป่วยหนัก (critical illness), โรคเยื่อบุอักเสบ Behcet, ลำไส้อักเสบชนิด Crohn, ปลูกถ่ายอวัยวะ(organ transplantation), primary hyperparathyroidism, eosinophilic gastroenteritis, เนื้องอกทางเดินอาหารชนิด gastrinoma, ได้รับการฉายรังสีช่องท้องในขนาดสูง เป็นต้น
ได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดหรือใช้สารเสพติดประเภทโคเคน (cocaine), methamphetamine
ภายหลังการตัดเลาะติ่งเนื้องอกหรือมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต้นออกโดยผ่านการส่องกล้อง (Post-endoscopic submucosal dissection induced ulcer; Post-ESD induced ulcer)
สูบบุหรี่ (ส่วนแอลกอฮอล์จะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ผิวกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ)
อาการที่พบบ่อย
ปวดท้องบริเวณเหนือสะดือ ลิ้นปี่ หรือยอดอกเป็นๆหายๆ (epigastric pain)
รู้สึกไม่สบายท้องส่วนบน
ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในท้องมาก รับประทานแล้วไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
อาการที่แสดงออกถึง
ภาวะแทรกซ้อน
ตกเลือดในทางเดินอาหาร
(upper GI bleeding)
อาเจียนเป็นเลือดสดหรือสีดำคล้ายผงกาแฟ
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสีดำแดง หรือสีดำมีกลิ่นคาว
ซีดเพลีย โลหิตจาง
หน้ามืด เป็นลม
ช็อก
ผนังกระเพาะอาหารทะลุหรือฉีกขาด (gastric perforation)
มีอาการปวดท้องส่วนบนเฉียบพลันและรุนแรง
หน้าท้องเกร็งแข็ง
ไข้ขึ้น
หอบเหนื่อย
ชีพจรเต้นเร็ว
ความดันโลหิตตก
ต้องเข้ารับการผ่าตัดช่วยชีวิตโดยเร่งด่วน
เกิดภาวะตีบตันในทางออกของ
กระเพาะอาหาร (gastric outlet obstruction)
ท้องส่วนบนจะพองโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รับอาหารไม่ได้
รับประทานแล้วอาเจียนบ่อย
น้ำหนักตัวลดลง
เกิดการกลายพันธุ์ของแผลเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร (gastric cancer)
มีอาการผิดปกติที่เรื้อรังและทรุดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
เมื่อส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารจะพบว่า
แผลใหญ่ขึ้น และตรวจพบเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อจากแผล
แนวทางการรักษา
หลักการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย การสืบค้นและแก้ไขต้นเหตุที่ก่อให้เกิดแผล การบรรเทาอาการปวด และการใช้ยารักษา
ยาควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (antisecretory agents)
ยากลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs)
ยากลุ่ม H2-receptor antagonists (H2RA)
2.ยาปกป้องและถนอมผิวกระเพาะอาหาร
(mucosal protective agents)
Rebamipide
Sucralfate
Colloidal bismuth
Misoprostol
4.ยาลดกรด (Antacid)
Alummilk
3.ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว
Somatostatin
ปัญหา
1.ไม่สุขสบายเนื่องจาก ปวดท้อง
2.การได้รับสารอาหารและน้ำไม่เพียงพอ/ มีโอกาสเสียสมดุลย์ของน้ำและอิเลคโตรไลท์ : เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน สูญเสียน้ำย่อยทางท่อระบาย N.G Tube
3.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอักเสบของตับอ่อน ภาวะเลือดออกง่ายจากการอักเสบและอุดตันของทางเดินน้ำดี
4.วิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพการเจ็บป่วยและกลัวการผ่าตัด
5.ขาดความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติตัวก่อนไปผ่าตัด
การพยาบาล
1.ประเมินลักษณะของการปวดท้อง การเคลื่อนไหวของลำไส้ ถ้ามีอาการปวดมาก
ขึ้น ท้องแข็งเกร็ง กดเจ็บทั่วท้อง ลำไส้มีการเคลื่อนไหวลดลง อาจมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ต้องรีบรายงานแพทย์
2.บันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง ถ้ามีอุณหภูมิสูง บ่งชี้การติดเชื้อในร่างกาย ถ้า
มีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จนทำให้เกิดภาวะ ช็อค จะมีชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตลดต่ำลง ควรวัดสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
3.จัดท่านอนเพื่อบรรเทาอาการปวด
กรณีปวดท้องจาก colic ผู้ป่วยจะนอนดิ้นไปมา
กรณีปวดท้องจากการมีพยาธิสภาพที่ด้านหลังช่องท้อง ( retroperitoneal) จะปวดท้องมากถ้านอนหงาย จะดีขึ้นเมื่อลุกนั่งหรือก้มมาด้านหน้า
กรณีปวดท้องจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ให้นอนตะแครง งอเข่า หรือนอนตัวงอจะช่วยบรรเทาอาการปวด
4.การงดอาหารและน้ำ ตามแผนการรักษา เพื่อลดการหลั่งกรด หรือเตรียมผ่าตัด
5.ดูแลการใส่สาย ยางทางจมูก NG tube
และต่อกับเครื่อง sucction เพื่อให้มีการ
ระบายน้ำย่อยและน้ำดีออกจากกระเพาะอาหารได้สะดวก
โดยดูการทำงานของเครื่อง การบีบรูดสาย เพื่อป้องกันการอุดตัน การจัดสายยางในตำแหน่งที่เหมาะสม
ไม่ให้ผู้ป่วยนอนทับสาย ใช้ความดันต่ำเพื่อป้องกันการดูดเยื่อบุ
6.ดูแลการได้รับสารน้ำและอิเลคโตรไลท์ตามแผนการรักษา
เช่น 0.9% NSS หรือ5%D/NSS โดยให้ผู้ป่วยได้รับอย่างน้อย 1000 ซี. ซีใน 8 ชั่วโมงในรายที่ได้รับการงดอาหารและน้ำ
7.ประเมินภาวะขาดน้ำ และการเสียสมดุลย์ของอิเลคโตรไลท์ รวมทั้งการติดตามผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
8.สังเกตภาวะแทรกซ้อน
การเกิดภาวะเลือดออกง่าย จากการอักเสบของถุงน้ำดี
การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากการอักเสบของตับอ่อน
อาการและอาการแสดงของภาวะช็อก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือจากการมีปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลง
9.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
อธิบายขั้นตอน วิธีการตรวจ และตอบข้อซักถาม เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการตรวจ
ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำก่อนไปตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจโดยการทำ Esophagogastroduodenoscopy ควรถอดฟันปลอม ทำความสะอาดปากและฟันก่อนส่งตรวจ และหลังจากตรวจแล้ว ควรตรวจว่ามี gag reflex ก่อนให้รับประทานอาหาร
ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจลำไส้ โดยการทำ barium enema , Sigmoidoscopy , cololonscopy ควรมีการเตรียมลำไส้ให้สะอาด โดยให้รับประทานอาหารเหลวหรืออาหารที่มีกากน้อย 2 – 3 วันก่อนตรวจ ให้ยาระบายก่อนนอน และสวนอุจจาระเช้าวันก่อนตรวจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจทางเดินน้ำดี โดยการทำ Cholecystogram ควรได้รับประทานอาหารมื้อเย็นที่มีไขมันน้อยก่อนงดอาหารและน้ำ ควรสังเกตอาการผิดปกติจากการได้รับสารทึบแสง และให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับสารทึบแสงออกมาทางปัสสาวะ
ดูแลการได้รับยา premedicine ก่อนไปตรวจเพื่อให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลายเช่น atropine , diazepam
10.ดูแลการได้รับยา ตามแผนการรักษา
ยาบรรเทาอาการปวด
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ยาปฎิชีวนะ
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฎิบัติตัวก่อนไปผ่าตัด
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงเหตุผลของการผ่าตัด วิธีการผ่าตัด และการปฎิบัติตัวก่อนไปผ่าตัด เช่น การเตรียมบริเวณผิวหนัง การงดอาหารและน้ำ การสวนอุจจาระ การใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ และการใส่สาย N.G เพื่อให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการรักษา
ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลสูงและไม่สามารถพักได้ ดูแลการได้รับยากล่อมประสาทตามแผนการรักษา
แนะนำการปฎิบัติตัวภายหลังการผ่าตัด โดยอธิบายเหตุผล ประโยชน์ และสาธิตวิธีการทำ ให้ผู้ป่วยฝึกหัดทำก่อนผ่าตัด ในเรื่องของการหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ และหายใจออกยาว ๆ การไออย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังขาทั้ง 2 ข้าง การพลิกตะแคงตัวเพื่อเปลี่ยนท่านอน โดยเน้นให้ผู้ป่วยเริ่มทำทันทีที่รู้สึกตัวหลังผ่าตัด และทำทุก 1 –2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด