Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสอนทักษะการฟัง (แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนทักษะการฟัง…
การสอนทักษะการฟัง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนทักษะการฟัง
กระบวนการฟัง
บนลงล่าง (Top-down Process) คือการฟังที่อาศัยความรู้เดิมเป็นหลัก
ล่างขึ้นบน (Bottom-up Process) คือการฟังที่อาศัยภาษาที่มากับข้อความ เช่น เสียง คำ และไวยากรณ์
หลักสำคัญในการสอนทักษะการฟัง
การใช้เทปบันทึกเสียงในการสอน
ผู้สอนควรฟังเนื้อหาทั้งหมดจนจบก่อน และตรวจสอบคุณภาพเสียง
เปิดเทปควรเปิด 2-3 รอบ
ผู้เรียนควรได้รับการกระตุ้นให้ตอบสนองต่อเนื้อหา
นำบทสนทนาหรือข้อความต่างๆมาให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง
ควรเป็นบทสนทนาหรือข้อความที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
ผู้สอนสามารถเลือกใช้สื่อที่มองเห็นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังง่ายขึ้น
ขั้นตอนการสอนการฟัง
1.ขั้นวางแผน / คาดการณ์
คือผู้สอนให้ผู้เรียน
คาดการณ์
ชนิดของข้อมูลและคำศัพท์ และเขียนลงกระดาษ
ขั้นตรวจสอบระยะแรก
-หลังจากฟังแล้วผู้สอนให้ผู้เรียนตรวจสอบสิ่งที่ตนเองคาดการณ์และเขียนจากขั้นวางแผนขั้นที่ 1 จากนั้นแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมจากความเข้าใจของผู้เรียนเอง
-ผู้เรียน
เปรียบเทียบ
และวิเคราะห์สิ่งที่เขียนกับเพื่อน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามต้องการ และตัดสินใจได้ว่ารายละเอียดใดต้องการความสนใจเป็นพิเศษ
ขั้นตรวจสอบระยะสอง
-หลังจากผู้เรียนเปรียบเทียบข้อมูลของตนเองกับเพื่อนแล้วผู้สอนให้ผู้เรียนตรวจสอบจุดที่แตกต่างกัน ทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลที่
ได้ฟังอีกครั้งและแก้ไข
ให้ถูกต้องจากนั้นบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
-ผู้สอนให้ผู้เรียน
อภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนซึ่งเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจประเด็นหลักและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ทั้งยังรวมไปถึงภาพสะท้อนว่าผู้เรียนเข้าใจความหมายของคำบางคำ เข้าใจบางส่วน หรือเข้าใจทั้งหมดของการฟัง
ขั้นตรวจสอบระยะสุดท้าย
ผู้เรียน
ฟังข้อมูลอีกครั้ง
โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษในเนื้อหาที่ไม่สามารถถอดรหัส จากการอภิปรายในชั้นเรียนได้
ขั้นสะท้อน
ผู้สอนกระตุ้นให้
ผู้เรียนใช้กลยุทธ์
ของตนเองเพื่อนำมาใช้สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเขียนเป้าหมายสำหรับกิจกรรมต่อไปของการฟังได้
กิจกรรมในการสอนทักษะการฟัง
ฟังคำสั่งที่ใช้ในการเรียนการสอน
ฟังเพื่อนคนอื่นถามคำถาม สรุปเรื่อง หรือเล่าเรื่องต่างๆ
มีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมติ
ฟังคำบรรยายของบุคคลภายนอกหรือจากเทป ฟังเพลงหรือปาฐกถา
ดูภาพยนตร์
สัมภาษณ์ชาวต่างชาติ
เข้าร่วมการบรรยาย ชมรม ที่เป็นภาษาอังกฤษและฝึกให้เล่นเกมส์ภาษาอังกฤษ
กระบวนการเรียนการสอนทักษะการฟัง
การจัดกิจกรรมก่อนฟัง(Pre-listening activities)
อธิบายเกี่ยวกับหัวเรื่อง
เขียนรายการคำศัพท์ทบทวนความรู้เดิมและโครงสร้างที่สำคัญของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนฟัง
3.อ่านคำถามของเรื่องที่จะฟังก่อนเพื่อให้ทราบแนวทางในการฟัง
การระดมสมองโดยให้ผู้เรียนดาวหรือทำนายว่าจะมีคำศัพท์อะไรบ้าง
การเล่นเกมเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนและฝึกทักษะพื้นฐานให้พร้อมก่อนที่จะฟังเนื้อหา
การจัดกิจกรรมระหว่างฟัง(While-listening activities)
ฟังแล้วแสดงท่าทางหรือปฏิบัติตาม
ฟังแล้วชี้ เมื่อได้ยินประโยคเกี่ยวกับสิ่งของที่มีอยู่รอบตัวให้ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ยิน
3.ฟังแล้วพูดตาม
4.ฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ
ฟังแล้วเรียงรูปภาพ
ฟังแล้วเขียนเส้นทาง
การจัดกิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening activities)
1.ย่อหรือสรุปใจความสำคัญ โดยผู้เรียนเลือกหาประโยคที่เหมาะสมที่จะเป็นบทสรุปของเรื่องที่ฟัง
2.ตอบคำถาม เพื่อแสดงว่าผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังอาจเป็นคำถามที่มีตัวเลือกหรือไม่ก็ได้
ประเมินข้อมูลเพื่อใช้ในการอภิปราย สาเหตุและผล