Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Compartment Syndrome: ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อ…
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Compartment Syndrome: ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง)
ความหมาย
ภาวะที่ความดันภายในช่องปิดเพิ่มสูงขึ้นมากจนกระทั่งรบกวนต่อระบบ ไหลเวียนเลือด และการทํางานของเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องนั้นๆ
สาเหตุ
ปริมาตรในช่องปิดเพิ่มขึ้น
มีเลือดออกจาก การบาดเจ็บต่อหลอดเลือดใหญ่หรือมีความผิดปกติในการจับเป็นลิ่มเลือด
มีน้ำซึมผ่านหลอดเลือดฝอยมากขึ้น
ความดันในหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้น
การออกกําลังกายมากเกิน
หลอดเลือดดําอุดตัน
กล้ามเนื้อขยายใหญ่
การรั่วของน้ำเกลือหรือยาจากหลอดเลือดแทรกซึมในเนื้อเยื่ออ่อน
ขนาดของช่องปิดเล็กลง (Decrease compartment size)
มีแรงกดจากภายนอกเฉพาะที่
การทำแผลอัดแน่นเกินไป
การเย็บปิดพังผืดกล้ามเนื้อตึงเกินไป
สาเหตุส่วนใหญ่
Soft tissue trauma
Arterial injury
Limb compression during altered consciousness
Burns
Fractures
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อร่างกายได้รับการบาดเจ็บหลอดเลือดจะมีการขยายตัว เป็นผลทำให้มีการเเดงร้อน หลอดเลือดมีการเสียความสามารถในการซึมผ่านมีการรั่วของโปรตีนซึมผ่านเข้าไปยังพื้นที่ว่างระหว่างเนื้อเยื่อ ความดันในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลงเกิดการขาดเลือดเเละออกซิเจน
อาการเเละอาการแสดง
5Ps
Paresthesia (ชา) : การรับสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ อาจพบอาการรับสัมผัสลดลงหรือไวต่อการกระตุ้น รู้สึกซู่ซ่า ชาหรือสูญเสียการสัมผัส
Pulse/ Capillary refill (ชีพจร) : ถ้าคลําชีพจรไม่ได้ (pulselessness) ถือเป็นอาการแสดงที่ช้ามาก
กรณีที่ภาวะนี้ไม่สามารถคลำชีพจรได้ เนื่องจากผู้ป่วยใส่เฝือกหรือพันผ้าให้ประเมินจาก capillary refill แทนซึ่งค่าปกติไม่ควรเกิน 2 วินาที
Paralysis (อัมพาต) : จากเส้นประสาทถูกทำลายและกล้ามเนื้อขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยจะหยุดการเคลื่อนไหวร่างกายและมีการกางออกของนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
Pallor (ซีด)และ Temperature (อุณหภูมิ) : อวัยวะบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ อาจพบว่ามีอาการซีดและเย็นบ่งบอกถึงเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ถ้ามีอาการซีดแสดงว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงซึ่งเป็นอาการแสดงที่ล่าช้าแล้ว
Pain (ปวด) : ส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน อาการปวดมากขึ้นแม้ว่าจะได้รับยาบรรเทาอาการปวดก็ตาม
Swelling (บวม)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขาดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
บำรุงร่างกายให้เเข็งเเรง พักผ่อนให้เพียงพอเเละได้รับสารอาหารต่างๆที่สำคัญ
อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมเลือดเพื่อให้พร้อมที่จะชดเชยเมื่อเกิดการเสียเลือด
ดูเเลผิวหนังเเละการเปลี่ยนแปลงท่าทางในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียง
อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมความสะอาดผิวหนัง การงดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืน
เเนะนำการออกกำลังกายก่อนการผ่าตัด
มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเเละญาติ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกต่างๆ
เเนะนำผู้ป่วยพูดคุยกับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
การรักษา
เมื่อสงสัย compartment syndrome ถ้าผู้ป่วยใส่เฝือกอยู่ สิ่งแรกที่ต้องทําคือการแยกเฝือกออก รวมทั้งสําลี รองเฝือกและคลายผ้าพันแผล แล้วสังเกตดู ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้นําเฝือกออก ข้อศอกหรือเข่าที่งออยู่ให้เหยียดออก ถ้าพบว่าไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น รีบพิจารณาผ่าพังฝืด (fasciotomy)
ถ้าขยายเฝือกออกให้กว้างๆ จะลดลงได้ร้อยละ 65
ถ้าแยกสําลีรองเฝือกออกจะลดต่อได้อีกร้อยละ 10-20
ถ้าแยกเฝือกออกจากกันหนึ่งด้านความดันจะลดลงไปร้อยละ 30
ถ้านําเฝือกออกทั้งหมดจะลดความดันได้ประมาณร้อยละ 85
หลักการพยาบาล
การลดความดันภายในช่องกล้ามเนื้อได้แก่ การคลายผ้ายืด การคลายเฝือก หรือ การผ่าตัด Fasciotomy
การจัดท่านอนโดยให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บยกสูงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดําเข้าสู่หัวใจและป้องกันอาการบวม
การตรวจวัดด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อวัดความดันในช่องกล้ามเนื้อโดยตรง(ค่าปกติ 0-8 mmHg) ถ้ามากกว่า 30 mmHg ควรได้รับการผ่าตัดเพื่อทํา Fasciotomy
การบันทึกรายละเอียดข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อประเมินผลของการบําบัดรักษา
การประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงโดยใช้หลัก 5Ps
หลักการเบื้องต้นในการรักษา
การดึงถ่วงน้ำหนัก Traction
หลักการดึง
counter traction เป็นการใช้เเรงต้านในทิศทางตรงข้ามกับเเนวที่ดึงเข้า traction
continuous traction ควรดึงถ่วงน้ำหนักตลอดเวลา
counter traction เป็นการใช้เเรงต้านในทิศทางตรงข้ามกับเเนวที่ดึงเข้า traction
Line of pull เเนวการดึงต้องผ่านตำแหน่งที่กระดูกหัก
correct body alignment รักษาเเนวลำตัวให้ถูกต้อง
ประเภทของการดึง
Skin Traction
Skeletal Traction
skeletal traction เป็นการดึงถ่วงน้ำหนักโดยตรงที่กระดูก
การพยาบาลหลังทำ
กระตุ้นให้ทำ quadriceps exercise และ ROM exercise
Blanching test
สังเกตการติดเชื้อบริเวณ Pin site และเช็ดทำความสะอาดด้วย 70% Alcohol
ประเมิน 5Ps
ดูแลให้ Traction ทำงานมีประสิทธิภาพ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะกระดูกพรุน
การติดเชื้อของกระดูกบริเวณที่มีลวดแทง
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
การไหลเวียนเลือดไม่ดี เส้นประสาทถูกกดทับ
แผลบริเวณผิวหนังในรายที่ใส่ Skin Traction
การใส่เฝือก Cast ใช้ในกรณีกระดูกหัก ไม่มีบาดเเผล บวมไม่มาก
การพยาบาลหลังเข้าเฝือก
สังเกตเฝือก เช่น แน่นเกินไป ขรุขระ
ประเมิน 5Ps
สอดหมอนไต้เฝือก
จัดให้แขนขาเหยียดตรง ไม่โก่งงอ
แนะนำการดูแลรักษาเฝือกปูน
กระตุ้นให้ทำ isometric exercise
กระตุ้นให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีน วิตามิน C และแคลเซียมสูง
ดูแลช่วยเหลือเรื่องการขับถ่าย
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการนอนบนเตียงนานๆ