Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) (การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหล…
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
พยาธิสภาพ
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจ)
ทำให้สมรรถภาพการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง เพิ่มการกระตุ้นผนังหัวใจให้กระตุ้น RAAS และระบบประสาทซิมพาเทติค
เกิดผังผืดเซลล์ตาย กล้ามเนื้อหัวใจหนา มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์และโมเลกุล และกล้ามเนื้อหัวใจเป็นพิษ
การทำงานของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงมีการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกายเกิดหัวใจล้มเหลวมีอาการหายใจลำบาก บวมน้ำ อ่อนเพลีย
การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายแย่ลงเกิดโรคและการตายจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ การทำงานของหัวใจล้มเหลว
สาเหตุ
สาเหตุอื่นๆ เช่น ขาดการควบคุมและดูแลในเรื่องเกลือ น้ำ และยา ได้รับยาที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ ภาวะติดเชื้อ การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร การทำงานของไตผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง
รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
รับประทานยาที่ทำให้น้ำและเกลือคั่ง หรือยาที่กดการทำงานของหัวใจ
สาเหตุจากหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคลิ้นหัวใจ หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
รับประทานอาหารเค็มเกินไป
สาเหตุสำคัญเกิดจาก โรคหลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง
การักษา
รักษาด้วยการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ช่วยในการทำงานของหัวใจ
การใส่เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (Pace maker)
การใส่บอลลูนหัวใจ
รักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
รักษาด้วยยา
กลุ่ม Angiotensin receptor blockers (ARBs)
กลุ่ม Cardiac glycosides
กลุ่ม Angiotensin - converting enzyme (ACE) inhibitors
ยากลุ่มขับปัสสาวะ (Diuretics)
กลุ่ม Nitrates
กลุ่ม Beta - blockers
กลุ่ม Human B - type natriuretic peptide (BNP)
รักษาด้วยการปรับเปลียนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
:ควรงดสูบบุหรี่
หลีกเหลี่ยงการรับประทานเกลือและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม
อาการและอาการแสดง
อาการ
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
อึดอัด หายใจลำบาก เมื่อออกกำลังกาย
หายใจลำบากเมื่อนอนหงาย
ตื่นกลางดึกเพราะไอ หรือหายใจลำบาก
ข้อเท้าหรือเท้าบวม
เวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อย
เข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน
เส้นเลืดดำที่คอโป่งพอง
อาการแสดงของภาวะหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว (Left sided heart failure)
มีอาการหอบในเวลากลางคืน
ไอเสมหะเป็นฟองขาวหรือสีชมพูหรือไอแห้งๆ
หายใจลำบาก หายใจหอบในท่านอนราบ
นอนไม่หลับ ฝันร้าย วิตกกังวล
ภาวะไตวาาย (Prerenal failure)
หายใจแบบชินสโตค
อาการแสดงของภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว (Right sided heart failure)
ท้องมาน แน่นท้อง ท้องอืด
หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
ตับโต กดเจ็บ
เท้าบวมหรือมีการบวมของอวัยวะส่วนปลาย
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ความหมาย
เลือดและของเหลวหรือน้ำคั่งในเนื้อเยื่อจากการทำงานของหัวใจล้มเหลวทำให้การไหลเวียนไม่เพียงพอ มีอาการหอบเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ อ่อนเพลีย บวม
ปัญหาทางการพยาบาล
ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากประสิทธิภาพหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง
วิตกกังวลและกลัวเนื่องจากอยู่ในภาวะรุนแรงของโรค ความไม่แน่นอนของการดำเนินโรค ผลการรักษา และหัตถการการรักษา
มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากกลไกลการชดเชยของไตและเลือดคั่งในหลอดเลือดขาดการควบคุม
เนื้อเยื่อได้รับเลือดเลี้ยงไม่เพียงพอเนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง จากประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จากการมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อหนึ่งนาทีลดลง
เจ็บหน้าอกเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสี่ยงต่ออันตรายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น
ชนิด
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ( chronic heart failure) พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวและ/หรือมีการทำงานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
งดสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน หรืองดอย่างเด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลกดการทำงานของหัวใจและทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
หมั่นออกกำลังกายที่พอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ คือ การเดินบนทางราบ โดยเริ่มทีละน้อยๆ จาก 2-5 นาทีต่อวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วเพิ่มเป็น 5-10 นาทีต่อวัน หรือเข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟูหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หากมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สุขสบายควรงดออกกำลังกา
จำกัดการรับประทานเกลือโซเดียม (2-3 กรัมต่อวัน) ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง และของหมักดอ
รับประทานยารักษาอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติใดๆ ที่เป็นอาการข้างเคียงของยาต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดรับประทานยาทุกครั้ง
ชั่งน้ำหนักตัวเองและบันทึกทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งในตอนเช้า ภายหลังเข้าห้องน้ำขับถ่ายแล้ว และต้องชั่งก่อนรับประทานอาหารเช้า
ลดความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ออกกำลังกายที่พอเหมาะ การทำสมาธิ
เรียนรู้อาการต่างๆ ของภาวะคั่งน้ำและเกลือ ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บวม เหนื่อย นอนราบไม่ได้หรือต้องลุกขึ้นมานั่งหอบตอนกลางคืน หากมีอาการต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ให้การดูแลรักษา
หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลที่ต้องนั่งเป็นระยะเวลานาน หากภาวะหัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลงมากไม่ควรเดินทางโดยสารเครื่องบิน
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Blood chemistry ไดแก่ serum electrolytes, blood urea nitrogen, serum
creatinine , fasting plasma glucose, lipid profile, calcium,
magnesium, thyroid stimulating hormone (TSH)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead electrocardiogram)
Urinalysis (++)
ภาพรังสีปอด (chest x-ray)
Complete blood count (++)
Transthoracic echocardiogram with Doppler study
การตรวจร่างกาย
Pulse pressure แคบ
Jugular vein distention
หัวใจเต้นเร็ว
ตรวจพบเสียง S3 หรือ S4
น้ำในช่องท้อง (Ascitis)
ตับโต (Hepatomegaly)
บวมกดบุ๋ม (Pitting edema)
เสียงปอดผิดปกติ
ซักประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว ปัจจัยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรค
โรคทาง systemic ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว คือ collagen
vascular disease, thyroid disorder,
โรคหัวใจในครอบครัว
การได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ แอลกอฮอล์ ยากลุ่ม anthracyclines, trastuzumab, cyclophosphamide ขนาดสูงและการฉายรัวสีบริเวณmediastinum
ปัจจัยเสี่ยงของโรคที่มีสาเหตุจาก atherosclerosis
โรคหัวใจในอดีต เช่น โรคลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ
ประเมินความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว
ความสามารถใสการประกอบกิจวัตรประจำวัน NYHA functional class
ระดับที่ 2 ผู้ป่วยทำงานตามปกติแล้วเหนื่อย ไม่มีอาการขณะพัก ทํางานที่เคยทําเป็นประจําได้ปกติ แต่หากออกแรงมากกว่ากิจกรรมที่เคยทําประจําจะเหนื่อย
ระดับที่ 3 ผู้ป่วยทำงานเพียงเล็กน้อยก็เหนื่อย ขณะพักไม่มีอาการ แต่เมื่อไปทํางานที่เคยทําประจําแล้วจะเหนื่อยขึ้
ระดับที่ 1 ผู้ป่วยยังทำงานได้ตามปกติ ไม่มีอาการขณะพัก แต่มีอาการแม้จะออกแรงเพียงเล้กน้อย
ระดับที่ 4 ผู้ป่วยที่แม้ไม่ทำงานอะไรก็ยังเหนื่อย กรณีนี้ถือว่าโรคเป็นรุนแรงที่สุด ขณะนอนพักที่เตียงก็มีอาการเหนื่อย