Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบของ Boyle (องค์ประกอบของการพัฒนาโปรแกรม ((6.…
การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบของ Boyle
ประเภทของโปรแกรม
3. โปรแกรมเชิงสารสนเทศ
ใช้สำหรับถ่ายเทข้อมูลกับผู้รับบริการ
เป้าหมายหลัก
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ที่มาของวัตถุประสงค์
จากการพัฒนาจากข้อมูลใหม่ ที่มาจากงานวิจัย กฎหมายหรือกฎระเบียบใหม่
การใช้ความรู้
มุ่งให้เนื้อหาโยกย้ายไปสู่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ได้ทันที
ความเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
ผู้รับบริการได้รับข้อมูลข่าวสาร
บทบาทของผู้พัฒนาโปรแกรม
จัดหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
มาตรฐานของผลที่ได้รับ
จำนวนของผู้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและปริมาณข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่
ลักษณะสำคัญ
มักเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมอื่น การประเมินผลมักเป็นการประเมินจากข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น จำนวนผู้มารับบริการ จำนวนชั่วโมงที่ให้บริการ เป็นต้น
2. โปรแกรมเชิงสถาบัน
ใช้สำหรับพัฒนาปัจเจกบุคคล
เป้าหมายหลัก
พัฒนาและปรับปรุงความสามารถพื้นฐาน ทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ของปัจเจกชน
ที่มาของวัตถุประสงค์
พัฒนาส่วนสำคัญจากหลักวิชาหรือความรู้จากสาขาวิชา และจากนักการศึกษา
การใช้ความรู้
มุ่งเน้นไปที่ความชำนาญ ความรู้ ของกลุ่มเป้าหมาย และทำอย่างไรให้ผู้รับบริการมีความรู้ให้มากที่สุด
ความเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
การใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้นำไปปฏิบัติ
บ
ทบาทของผู้พัฒนาโปรแกรม
เผยแพร่ความรู้ผ่านกระบวนการเรียนการสอน
มาตรฐานของผลที่ได้รับ
ผู้รับบริการมีความเข้าใจด้านเนื้อหาหรือเชี่ยวชาญสมรรถนะด้านต่างๆ
ลักษณะสำคัญ
ใช้หลักวิชาหรือวิชาเป็นหลัก
1. โปรแกรมเชิงพัฒนา
ใช้สำหรับพัฒนากลุ่มบุคคลหรือชุมชน (มักเริ่มต้นอย่างคลุมเครือ)
ลักษณะสำคัญ
คือ การมีส่วนร่วมของประชากร
ที่มาของวัตถุประสงค์
พัฒนาจากความต้องการหรือปัญหาของผู้รับบริการ/กลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
พัฒนาจากความต้องการหรือปัญหาของผู้รับบริการ
การใช้ความรู้
ช่วยในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ความเกี่ยวข้องกับผู้เเรียน
การระบุปัญหา ความต้องการ ขอบเขต และลักษณะพื้นฐานของโปรแกรม
บทบาทผู้พัฒนาโปรแกรม
อำนวยความสะดวก ในการกำหนดความต้องการ ประชาสัมพันธ์ รับรองทางกฎหมาย และการสื่อสาร
มาตรฐานของผลที่ได้รับ
คุณภาพของทักษะในการแก้ไขปัญหา และระดับทักษะการแก้ไขปัญหาของปัจเจกบุคคล กลุ่ม และชุมชน
องค์ประกอบของการพัฒนาโปรแกรม
1. กำหนดปรัชญาพื้นฐานสำหรับโปรแกรม
2. วิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา
แสดงความต้องการหรือความกังวลของชุมชน การระบุปัญหา ประเด็น สถานการณ์ หรือที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง
3. ความเกี่ยวข้องผู้รับบริการ
คือ การเชื่อมโยงกันของพวกเขาต่อกระบวนการหรือการสร้างสถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจของพวกเขา
4. ระดับของปัญหาและการพัฒนาสังคมของศักยภาพผู้รับบริการ
มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับความแตกต่างในทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้รับบริการ และกำหนดระดับและปัจจัยที่แตกต่างของบุคคล
5. ศึกษาแหล่งข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ของโปรแกรม
คือ ศักยภาพของผู้เรียนเอง ข้อมูลทางวิชาการ สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับสังคม สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียน
6. การตระหนักข้อจำกัดของสถาบันและปัจเจกบุคคล
1) ปรัชญาองค์กรที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับโปรแกรมในบางประเด็นมีความขัดแย้งกัน
2) การเงินและทรัพย์กรที่ไม่มีหรือไม่พร้อมที่จะให้กับบางกลุ่ม
3) ความเชื่อของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเงินภายนอก เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของโปรแกรม
4) ความเชื่อหรือข้อสันนิษฐานบางเรื่องของชุมชนหรือผู้รับบริการเกี่ยวกับโปรแกรม
5) ความเชื่อของผู้บริหารในองค์กรที่เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของโปรแกรม
6) ความเชื่อของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของโปรแกรม
7. เกณฑ์สำหรับการจัดลำดับของโปรแกรม
ก็คือ กระบวนการการตัดสินใจที่เกิดขึ้นทุกระยะ รวมถึงการระบุความต้องการให้เป็นเป้าหมายที่เฉพาะ หรือระบุว่าใครควรได้รับบริการบ้าง ใช้เกณฑ์อย่างไรบ้าง ซึ่งควรจะให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม
8. ระดับของความตายตัวหรือความยืดหยุ่นของโปรแกรม
ควรมีความยึดหยุ่นและเป็นพลวัตร โปรแกรมมักเป็นการมุ่งเน้นปัญหาและการพัฒนา จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมปัจจัยและกระบวนการทั้งหมด
9. การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย และการสนับสนุนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
โปรแกรมจำต้องได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มและองค์กรต่างๆในชุมชนทั้งที่เป็นกลุ่มหรือองค์กรที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
10. การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
“การเรียนรู้” คือ การได้รับแบบแผนใหม่ทางพฤติกรรมผ่านประสบการณ์ ได้แก่ การสังเกต การฟัง การคิด การเขียน การตั้งคำถาม และการอภิปราย
11. ระบุการออกแบบการเรียนการสอนด้วยวิธี เทคนิค และอุปกรณ์ ที่เหมาะสม
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน รวมถึงระบุกิจกรรมการเรียนรู้ ในสิ่งที่นักการศึกษาต่อเนื่องคนอื่นจะทำการสอน
1) วิธีการ คือ การทำบางสิ่งบางอย่าง อย่างเป็นระบบ หรือ แนวทางที่เข้าถึงประชากร
2) เทคนิค รูปแบบในการนำเสนอการเรียนรู้ (การจดบันทึก, การแสดงข้อมูล, การอภิปรายกลุ่ม หรือการทัศนาจร)
3) อุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนรู้ และบรรยากาศที่อำนวยต่อการเรียนรู้ (ภาพยนตร์, วิทยุ, การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ, สไลด์)
12. จัดลำดับความสำคัญในการส่งเสริมโปรแกรมอย่างมีประสิทธิภาพ
การกระจายข่าวสารที่ก่อให้เกิดความน่าสนใจ ที่มีความสัมพันธ์กับสาธารณะชน การตลาด และข่าว ตั้งแต่การสนทานาอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำชุมชนจนไปถึงสื่อสารมวลชน
13. การได้รับสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนโปรแกรม
การหาแหล่งเงินทุนที่พอเพียงเป็นสิ่งที่ยากเสมอ ผู้พัฒนาโปรแกรมการศึกษาจะต้องรู้ซึ้งถึงความจำเป็นของทรัพยากรเพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างโปรแกรมที่มีคุณภาพ
14. การประเมินประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ และ/หรือผลกระทบ
14.1) ความมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับเพียงพอ บรรลุวัตถุประสงค์ จะหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบได้อย่างไร
14.2) คุณภาพและความเหมาะสม จะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีได้อย่างไร ผู้รับบริการปฏิบัติงานอย่างไรให้เหมาะสม
14.3) การติดต่อกับผู้รับบริการ มีวิธีการอะไรบ้างที่สามารถเข้าถึงผู้รับบริการ ใครคือผู้รับบริการ ผู้รับบริการครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและกลุ่มรายได้หรือไม่
14.4) ความสำคัญของโปรแกรมต่อ ผู้รับบริการ สังคม และต่อการขยายภารกิจของการศึกษาต่อเนื่อง
15. สื่อสารด้านคุณค่าของโปรแกรมต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ
การสนับสนุนโดยกองทุนสาธารณะ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะสื่อสารอย่างแจ่มแจ้งในด้านคุณค่าและข้อจำกัดของโปรแกรมต่อผู้สนับสนุน
ความเชื่อพื้นฐานของการพัฒนาโปรแกรม
1. การมีส่วนร่วม
ผู้รับบริการมีชุดของความต้องการของตนเอง และโปรแกรมได้ออกแบบมาเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดนี้
2. ความต้องการและความสนใจ
ความต้องการที่หลากหลายระดับและเป้าหมาย ที่มาจากผู้รับบริการที่หลากหลาย
3. ความเสมอภาคของโปรแกรม
ถ้ามีกลุ่มใด ชนชั้นใด ไม่มารับบริการก็แสดงว่านักพัฒนาโปรแกรมไม่ได้สะท้อนความต้องการของพวกเขา
4. การประเมินผล
ควรปราศจากอคติ ผู้รับผิดชอบโครงการไม่ควรเป็นผู้ประเมินตนเอง แต่ต้องให้ประชากรที่เกี่ยวข้องร่วมประเมินด้วย
5. การตัดสินใจในการปฏิบัติงาน
จะกำหนดคุณค่า ทัศนคติ และความเชื่อต่อผู้รับบริการอย่างไร เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอคติ
ควรเปิดใจ และสนับสนุนสิ่งที่ถูกต้อง
6. การสนับสนุน
ควรมีผู้เข้าร่วมบริการจำนวนมากที่สุด ต้องยืนยันว่าจะได้โปรแกรมที่มีคุณภาพสูงสุด “คุณจะได้รับสิ่งที่คุณจ่าย”
7. จุดเน้น
ควรมีจุดเน้นเพียงจุดเดียว รูปแบบการเรียนแบบตัวต่อตัว, กลุ่มที่มีการเรียนการสอนที่เฉพาะ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากผู้อื่นในกลุ่ม
8. ความแตกต่าง
ควรรักษาความแตกต่างหลากหลายเอาไว้ดังเดิม เช่น ความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ สีผิว เป็นต้น
9. การรับรองคุณภาพ
ตัวชี้วัดอย่างหนึ่งคือความถี่ในการเข้าเรียน ซึ่งก็เป็นการชี้วัดโดยผู้เรียนนั้นเอง
10. คุณภาพ
ยากที่จะนิยามหรือพรรณนา จึงใช้เชิงปริมาณแทน จำนวนผู้เข้าร่วม คะแนนสอบ โดยวัดก่อนและหลังการอบรม ร้อยละของจำนวนผู้รับบริการที่สอบผ่าน
กระบวนการพัฒนาโปรแกรม
1. โปรแกรมเชิงพัฒนา
ระยะแรก
ระบุพื้นฐานของโปรแกรม
ปรัชญาพื้นฐานที่ใช้ต้องมีความแน่ชัด
ต้องพัฒนาปรัชญาการทำงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรมการพัฒนา ความเชื่อของผู้พัฒนาการ เกี่ยวการศึกษา ผู้เรียน และโปรแกรม ต้องมีนิยามที่ชัดเจน
นโยบาย และขั้นตอนสำหรับการพัฒนาโปรแกรมควรต้องนิยามให้ชัดเจน มีความเข้าใจ และสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ระยะสอง
วิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนและผู้เรียน
เลือกและวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันและข้อมูลของสถานการณ์ในอดีต ข้อเท็จจริง และแนวโน้ม พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและชุมชน ข้อมูลวิชาการ สังคมโดยรวม เอกสารต ปรัชญาในการสร้างโปรแกรม และข้อจำกัด
เกี่ยวข้องกับศักยภาพในเป้าหมายของผู้รับบริการ และอิทธิพลทางตรงหรือผ่านกลุ่มเรียน การตีความ และการตัดสินใจเกี่ยวกับความจำเป็นของโปรแกรม และการอำนวยความสะดวก
ศึกษาการนำเสนอโปรแกรม และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนอื่นๆและสถาบัน เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
วิเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ต่อการแก้ปัญหา การดำเนินกาในเวลานี้หรือต้องการทรัพยากรเพิ่มเติม
ระยะสาม
ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ
ทำงานด้วยศักยภาพของผู้รับบริการต่อนิยามและการปรับแต่งความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้ผู้รับบริการมีความมุ่งมั่นต่อโปรแกรม
ให้รายชื่อของผลลัพธ์ที่บรรลุผ่านการจัดโปรแกรม ถ้าเป็นไปได้ผลลัพธ์เหล่านี้ควรสะท้อนสังคม เศรษฐกิจ และ/หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ระบุความสำเร็จที่จำเพาะและพัฒนา สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในการมีส่วนร่วมในการบรรลุผลลัพธ์ทั้งหมด นี่เรียกว่า “วัตถุประสงค์ที่เฉพาะ”
จัดรายชื่อผลลัพธ์ที่คาดหวังโดยเรียงลำดับเป้าหมาย โดยใช้หลักเหตุผลจากหลักวิชาไม่ใช่เหตุผลจากจุดยืนของผู้เรียน
ตรวจรายชื่อของผลลัพธ์ทั่วไปและจำเพาะ เพื่อให้แน่ใจว่า
1) ตรงเป้าหมายด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์และคำมั่นด้านคุณค่าที่ให้ต่อผู้ร่วมโปรแกรมและสังคม
2)งานบรรลุเป้าหมายในสถานการณ์ของโปรแกรมที่เฉพาะ ด้วยเวลา ทรัพยากรและอื่นๆ
3) ผลลัพธ์ที่เห็นเป็นเป้าหมายทั่วไปในส่วนใหญ่กับความยืดหยุ่นบางอย่างของผู้เรียนแต่ละคน เป็นไปเพื่อให้บรรลุความต้องการของแต่ละบุคคล
การตัดสินใจเกี่ยวกับลำดับความสำคัญบนพื้นฐานของเกณฑ์ชี้วัด สิ่งที่เร่งด่วนและสำคัญที่สุด โดยใช้ข้อมูลจากผู้รับบริการและจากชุมชน
ระยะสี่
ระบุทรัพยากรและการสนับสนุน
ตรวจสอบว่าทรัพยากร ที่รวมถึงประชากร เวลา เงิน และวัตถุต่างๆที่มีอยู่ว่าเพียงพอต่อความต้องการของโปรแกรมหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบว่าทรัพยากรพร้อมใช้งานเมื่อต้องการหรือไม่
ระบุความเหมาะสมของประชากร ความชำนาญที่เป็นตัวแทนที่หลากหลายของความรู้หรือหลักวิชา
ตรวจสอบบุคลที่เกี่ยวข้องในการเป็นผู้นำของโปรแกรมว่ามีเวลาที่พอเพียงที่ทุ่มเทตลอดทุกขั้นตอนของโปรแกรมหรือไม่
ตรวจสอบเงินทุนที่สนับสนุนโปรแกรมที่มีอยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่
ระยะห้า
ออกแบบแผนการสอน
จำแนกผู้เรียนตามประสบการณ์ ควรจัดลำดับอย่างไร? โดยพิจารณาตามภูมิหลังที่แตกต่างของผู้เรียน เช่น ระดับการศึกษา และประสบการณ์ต่างๆ
แบ่งความรับผิดชอบกับผู้ร่วมโปรแกรม ผู้เข้าร่วมรับผิดชอบต้องร่วมยินยอม เพื่อกำหนดสิ่งที่พวกเขาจะต้องเรียนรู้
ระบุแนวการสอน กิจกรรมที่เฉพาะที่ (คอร์สฝึกหัดหรืออบรม, ใช้สื่อสารมวลชน, การประชุม, ฝึกงาน, การปรึกษาแบบส่วนตัว หรือรวมทุกอย่างที่ยกมาเข้าด้วยกัน) วิเคราะห์ทฤษฎีและการปฏิบัติ การอำนวยความสะดวกในการเรียนและเลือกวิธีการ เทคนิค และอุปกรณ์ที่สอดคล้อง และใช้นวตกรรมใหม่ๆอย่างเหมาะสม
ระบุบทบาทของเจ้าหน้าที่ของโปรแกรม ในการดำเนินงาน และทรัพยากรการเรียนการสอนอื่นๆ
ตัดสินว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นในการพัฒนาหรือเตรียมการ และใช้เวลาเท่าไหร่ในการได้มา
ระยะหก
โปรแกรมของการปฏิบัติการ
เลือกเนื้อหา กิจกรรม และเหตุการณ์ที่ควรให้เพื่อ
1)สร้างความตระหนักและความสนใจในโปรแกรม
2) ให้ประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง
3) ให้การติดตามผลอย่างพอเพียง
จัดการสิ่งที่ต้องสอนและสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จในโปรแกรมเพื่อจะบรรลุผลอย่างต่อเนื่อง จัดการกิจกรรมของผู้เรียน
ดำเนินงานตามแผน และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่เป็นไปได้
ระยะเจ็ด
ความรับผิดชอบต่อทรัพยากร
วางแผนการประเมิน ในโปรแกรมแต่ละช่วง โดยประเมินก่อนการดำเนินงาน กระบวนการและคุณภาพ และประเมินตอนท้ายสุด
การประเมินบางกิจกรรม กำหนดอย่างแน่นอนว่า
1) ทำไมคุณถึงได้รับการประเมิน
2) คุณจะนำผลการประเมินไปใช้อย่างไร
3) สามารถนำไปตัดสินโครงการอื่นๆที่มีความคล้ายคลึงกันได้อย่างไร
กำหนดประเภทของการตัดสินในสิ่งจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติของคุณ
1) คุณจำเป็นต้องกำหนดว่าทำอย่างไรให้โปรแกรมบรรลุผลลัพธ์ตามแผนที่วางไว้?
2) ว่ามันคือประสิทธิภาพที่ต้องการในการบรรลุผลไหม ?
3) หรือมันคือความสำคัญทั้งหมดและคือคุณค่า?
กำหนดกฎเกณฑ์ที่คุณจะใช้ตัดสิน ระบุประเภทของหลักฐานที่จำเป็นในการนำไปชี้วัดว่าเป็นไปตามเกณฑ์ไหม
ระบุหลักฐานที่จำเป็นและเลือกอย่างไร กระบวนการอย่างไร และตีความอย่างไร
พัฒนาการตัดสินของคุณเกี่ยวกับโปรแกรมและการใช้ผลของโปรแกรม ใครคนอื่นอีกที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้? ในรูปแบบใด?
ระยะแปด
การสื่อสารคุณค่าของโปรแกรม
ทำรายงานคุณค่าของโปรแกรมต่อบุคคลที่สำคัญ ผู้มีส่วนร่วม กลุ่มที่ปรึกษา และผู้มีอิทธิผลในการตัดสินใจ รายงานนี้ควรมีความแตกต่างจากรายงานที่แสดงต่อบุคคลทั่วไป
ติดตามผลด้วยความเหมาะสมกับปัจเจกบุคคลและกลุ่ม ที่เกี่ยวกับบทบาทของโปรแกรม เพื่อความชัดเจนของความเกี่ยวข้องหรือคำถามที่เกี่ยวกับบทบาทของโปรแกรม
2. โปรแกรมเชิงสถาบัน
ระยะแรก
จำแนกเป้าหมายผู้เรียน
ระบุผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องในโปรแกรม ถ้าเป้าหมายของผู้เรียนเป็นผู้เกี่ยวข้องกับสถาบัน สมาคมอาชีพ หรือกลุ่มชุมชน
ระบุภูมิหลังเกี่ยวกับเป้าหมายของผู้รับบริการ นี่รวมถึงความต้องการของผู้เรียน ความปรารถนา คุณลักษณะ การปฏิบัติ ความสามารถ และปัญหา
สำรวจโปรแกรมที่มีอยู่จากเจ้าหน้าที่คนอื่นๆและสถาบันเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
ระยะสอง
ศึกษาขอบเขตเนื้อหาที่จำเพาะ
ศึกษาความต้องการ พิจารณาธรรมชาติที่เฉพาะของผู้เรียน และแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจของผู้เรียน
เปรียบเทียบความเที่ยงตรงในการบรรลุผลหรือระดับของผู้เรียนเท่าที่เป็นไปได้ กับเนื้อหาที่จะสอน หรืออาจตรวจกระบวนการด้วยการทดสอบก่อนเริ่มโปรแกรม(pretest)
ศึกษาศักยภาพของผู้เรียน ผู้พัฒนาโปรแกรมควรจะศึกษาประสบการณ์ก่อนนี้ สถานทางเศรษฐกิจและสังคม
ระยะสาม
ระบุแนวทางการสอน
ประสบการณ์อะไร (การเห็น การได้ยิน และการลงมือทำ) ที่จะมีในแต่ละครั้งในการเรียน กิจกรรม หรือเหตุการณ์ ของผู้เรียน
ส่งเสริมโปรแกรมด้วยวิธีการที่เหมาะสม อย่างเช่น จดหมายข่าวของสมาคม สิ่งพิมพ์ และสื่อสารมวลชนอื่นๆ
ช่วยผู้รับบริการผู้ที่กำลังเข้าร่วมให้รู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ รูปแบบ และกระบวนการของโปรแกรม
กำหนดความสัมพันธ์ของโอกาสในการเรียนรู้ตามแผนในหน่วยของการศึกษาต่อเนื่อง (CEUs) ใบรับรอง หรือมาตรฐานอื่นๆ
ระบุทรัพยากรในการเรียนการสอนที่จำเป็น เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการเรียนรู้
จัดลำดับอย่างมีเหตุผลที่สุดสำหรับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ
ระบุความรับชอบที่ชัดเจนของผู้เกี่ยวข้องทุกคน
ระยะสี่
การเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ เพื่อดึงความสามารถแฝงของผู้เรียนออกมา
มีความยืดหยุ่นเพื่อที่ได้วิธีการ เทคนิค และอุปกรณ์ ที่เหมาะสมที่สุด ในการสร้างแรงจูงใจและความสนใจ
จัดการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนมีบทบาท ความเข้าใจ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน และทราบว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นและเมื่อใด
ระยะห้า
ประเมินผลโปรแกรม
ระบุขอบเขตเท่าที่เป็นไปได้ ในสิ่งที่ผู้เรียนบรรลุผลจากการร่วมโปรแกรม ควร pretest และposttest
ตัดสินเกี่ยวกับผลหรือการบรรลุผลของโปรแกรม ผู้เรียนควรทำได้ดีกว่านี้ไหม? บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่? ควรมีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ส่วนการเรียนการสอนระหว่างโปรแกรม?
ตัดสินเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนหรือแนวทาง มีประสิทธิภาพไหม? ทำอย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ? ผู้เรียนพอใจไหม?
กำหนดว่าผลลัพธ์จะถูกนำมาใช้กับโปรแกรมในอนาคตอย่างไร จะแบ่งปันผลของโปรแกรมกับผู้เรียนอย่างไร จะแบ่งปันผลการศึกษากับผู้บริหารหรือผู้ตัดสินใจทางการเงินอย่างไร?
3. โปรแกรมเชิงสารสนเทศ
ระยะแรก
กำหนดเนื้อหาที่มีหรือพร้อมใช้งานที่จำเป็นหรือที่อยากได้
ระบุเนื้อหาหรือความรู้ที่มีอยู่หรือที่ต้องการ ผู้พัฒนาโปรแกรมอาจตัดสินใจความรู้ใหม่ที่มีอยู่ควรจะควรเผยแพร่ต่อประชากรหรือไม่ หรือผู้เรียนอาจขอความรู้เพื่อสนองความอยากรู้ ความจำเป็น หรือเพื่อแก้ปัญหา
ใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการส่งเสริมโปรแกรม เพื่อให้ประชากรตระหนักถึงเนื้อหาใหม่หรือความที่มีอยู่
ระยะสอง
การให้ข้อมูลหรือความรู้
เนื้อหาหรือความรู้คือ สิ่งที่ให้โดยกลุ่ม ปัจเจกบุคคล หรือสื่อสารมวลชน
วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับทรัพยากร ความสนใจของผู้เรียน และประเภทเนื้อหาที่จะเผยแพร่
ระยะสาม
กำหนดขอบเขตการให้ความรู้
บันทึกจำนวนผู้ใช้บริการหรือผู้ที่มาขอข้อมูล
ศึกษาเฉพาะเจาะจงในบางสถานการณ์ อาจมีการชี้นำหรือกำหนดว่าผู้รับบริการจะใช้เนื้อหาอย่างไร
ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจควรได้รับรายงานเกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของโปรแกรม
ที่มา: ฺBoyle (1980)