Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis (อาการและอาการแสดง (มีไข้ มักสูงเกิน 38…
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis
ความหมาย
เป็นการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ทั้ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่คลุมอวัยวะในช่องท้องคือ Visceral peritoneum และส่วนที่บุผนังช่องท้อง คือ Parietal peritoneum
สาเหตุ
1.จุลชีพ ไ้ด้แก่ ไวรัส ปรสิต แบคทีเรียเชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli, Klepsiella, Proteus และ Pseudomonas
2.ไม่ใช่จุลชีพ ได้แก่สารเคมี สิ่งแปลกปลอม เข้าทางแผลหรือมีการทะลุของทางเดินอาหาร พบบ่อยที่สุด คือ การแตกของไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) มีแผลทะลุ (Perforated ulcer) และลำไส้ทะลุ (Bowel perforation) อาจเกิดจากการผ่าตัดช่องท้องและการล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis)
พยาธิสภาพ
เมื่อเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จะทำให้หลอดเลือดของเยื่อบุช่องท้องขยายตัวผนังหลอดเลือดจะยอมให้ของเหลวซึมผ่านเพิ่มขึ้น ทำให้สารน้ำเข้าสู่เนื้อเยื่อระหว่างเซลล์ไปยังช่องท้องและลำไส้ ผนังลำไส้ หากเยื่อบุช่องท้องอักเสบอย่างรุนแรง ร่างกายจะสูญเสียน้ำจำนวนมาก อาจถึง 10 ลิตร เกิดภาวะปริมาตรน้ำจากระบบไหวเวียนเลือดลดลง (Hypovolemia) ไตขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดภาวะช็อกจากการเสียเลือด จนทำให้มีระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว บริเวณเยื่อบุช่องท้องจะอักเสบเป็นสีแดง บวม ในระยะแรกน้ำที่ออกมานอกหลอดเลือดมีลักษณะใส (Transudate) ต่อมาจะมีลักษณะขุ่น (Exudate) เป็นหนอง บริเวณเยื่อบุช่องท้องที่มีการอักเสบจะมีพังผืดหรือฝี การอับเสบอาจอยู่เฉพาะที่ (Localized peritonitis) หรือกระจายทั่วช่องท้อง (Generalized peritonitis) สารพิษจากเชื้อโรคอาจเข้าไปในกระแสเลือดได้ เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
มีไข้ มักสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะออกน้อย
ปวดท้องทั่วๆ ไป รุนแรง เฉียบพลัน กดเจ็บ (Tenderness) ที่หน้าห้อง กดเจ็บเมื่อปล่อยมือ (Rebound tenderness)
คลื่นไส้ อาเจียน อาจพบอาการแข็งเวลากด (Garding) หน้าท้องแข็งเกร็งเหมือนกระดาน (Rigidity)
เสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ท้องอืด สำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง หรือหยุดการเคลื่อนไหว (Paralytic ileus)
หน้าท้องโป่งตึง เคาะได้เสียงโปร่ง
การประเมิน
1.การซักประวัติ
เกี่ยวกับอาการ ตำแหน่งที่ปวด การกระจายทั่วท้อง ความรุนแรงของอาการปวด หน้าท้องแข็งตึง ขยับตัวไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียน ไข้สูง
2.การตรวจร่างกาย
-อาการปวดเฉียบพลัน
-กดเจ็บหน้าท้อง(tenderness) กดเจ็บเมื่อปล่อย(rebound tenderness) เกรงเวลากด (gaurding) และหน้าท้องเเข็งเกร็งเหมือนกระดาน (rigidity)
-ท้องอืดลำไส้เคลื่อนไหวลดลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ตรวจพบหน้าท้องตึง เคาะได้ยินเสียงโปร่ง
-มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
-มีไข้สูงเกิน 38 C
-กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง
-ปัสสาวะออกน้อย
ชีพจรเร็ว หายใจตื้นและเร็ว BPลดลง กระสับกระส่าย
3.ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-เม็ดเลือดขาวสูง โดยเฉพาะนิวโตรฟิว
-ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะสูง
-Hct เพิ่มขึ้น
-อิเล็กโตรไลด์ผิดปกติ
4.การตรวจพิเศษ
-Ultrasound อาจพบของเหลวสะสมเป็นก้อน
-film abdomen พบว่า เห็นอากาศอยู่นอกทางเดินอาหาร ใต้กระบังลม
การรักษา
นอกพักในท่าศีรษะสูง (Semi-Fowler’s position) ให้สารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ทางหลอดเลือดดำใส่ท่อระบายทาง NG-tube ให้ยาปฏิชีวนะ ทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขสาเหตุ เช่น ผ่าตัดไส้ติ่งออก (Appendectomy) หรือผ่าตัดเย็บบริเวณที่ฉีกขาด (Closure of a perforation) เป็นต้น
การพยาบาล
จัดให้ผู้ป่วยนอนท่าศีรษะสูง ประเมินอาการปวดท้อง บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะ วัดอุณหภูมิ หากไข้สูง เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำบ่อยๆ (หากไม่งดน้ำ) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อชดเชยน้ำทีเสียไป บันทึกน้ำเข้า-ออกประเมินภาวะขาดโซเดียม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ซีม เป็นต้น และภาวะขาดโปแตสเซียม เช่น กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว เป็นต้น ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หลังผ่าตัดดูแลให้ยาระงับปวด และกระตุ้นให้หายใจลึกๆ ทุก 2 ชั่วโมง บันทึกจำนวนสารน้ำที่ออกจากระเพาะอาหารทาง NG-tube
ข้อวินิจฉัยและการพยาบาล
1.มีภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ จากการอักเสบและติดเชื้อ
1.ดูแลให้สารน้ำตามแผนการรักษา
2.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
3.สังเกตอาการและให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
4.บันทึกสารน้ำเข้า-ออก
5.ประเมิน Vital signs ทุก 1 ชั่วโมง
6.ดูแลใส่ NG tube เพื่อลดสารคัดหลั่งในกระเพาะ
ระบบทางเดินอาหาร