Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4. การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม (ผู้มีภาวะโกรธ (ปัจจัยเหตุ…
4. การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม
ผู้ที่มีภาวะสูญเสีย/เศร้าโศก
ลักษณะและอาการ ในแต่ละระยะ
ความเศร้าโศก เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่เกิดขึ้นต่อการสูญเสีย แบ่งเป็น 5 ระยะ
ปฏิเสธ ไม่ยอมรับว่ามีการสูญเสียเกิดขึ้น
โกรธ เมื่อเริ่มยอมรับว่ามีการสูญเสีย
ต่อรอง หวังว่าจะมีทางเลือก
ซึมเศร้า เมื่อตระหนักถึงความสูญเสีย
ยอมรับ เมื่อสามารถจัดการกับปฏิกิริยาตอบสนองที่ผ่านมาได้
วิธีบำบัดทางการพยาบาล
สนับสนุนให้สร้างกำลังใจ และความหวังในการดำเนินชีวิต โดยค้นหาศักยภาพที่ยังคงมีอยู่
ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก ช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
เฝ้าระวังอันตรายจากความคิดฆ่าตัวตาย และการเกิดภาวะเศร้าโศกผิดปกติ
ผู้มีภาวะโกรธ
ปัจจัยเหตุ
ผิดหวัง ล้มเหลว กลัว
ถูกคุกคาม รู้สึกไม่มั่นคง
เนื้องอกในสมอง สมองได้รับบาดเจ็บ
Serotonin ต่ำ
พันธุกรรม
ลักษณะสำคัญ
ความรู้สึกหรืออารมณ์ขุ่นเคือง ไม่พอใจ หงุดหงิด ต่อต้าน แค้นใจ พูดไม่เป็นมิตร หน้าแดง ปากสั่น หายใจเร็ว ม่านตาขยาย คิดเรื่องที่โกรธซ้ำๆ ตำหนิกล่าวโทษผู้อื่น ตัดสินใจแทนผู้อื่น
วิธีบำบัดทางการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
ยอมรับผู้รับบริการ ตระหนักรู้ตนเอง
คิดพิจารณาสาเหตุที่ทำให้โกรธ
หาวิธีระบายความโกรธที่เหมาะสม และฝึกความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
ผู้มีภาวะซึมเศร้า
ลักษณะสำคัญ
เศร้าหมอง ใจคอหดหู่ ไม่แจ่มใส เบื่อหน่าย หมดความสุข หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารจุ นอนไม่หลับ ตื่นตอนดึกแล้วหลับต่อยาก หรือตื่นเช้ากว่าธรรมดา บางรายนอนมากทั้งกลางวันและกลางคืน การเคลื่อนไหว และการคิดเชื้องช้า พูดช้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ปัจจัยเหตุ
ชีวภาพ ได้แก่ Serotonin และ Norepinephrine ลดลง ฮอร์โมนไม่สมดุล สุรา ยาบางชนิด ป่วยทางกาย ลมชัก พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ Hypothyroidism
ความล้มเหลวในชีวิต
มีปัญหาสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง
วิธีบำบัดทางการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
ประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
ดูแลให้ผู้ป่วยดำเนินกิจวัตร และกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ค้นหาศักยภาพที่ผู้ป่วยมี เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจ การคิดเชิงบวก และการปรับตัวที่เหมาะสม
ผู้ที่มีความวิตกกังวล/เครียดอย่างเฉียบพลัน เรื้อรัง
ลักษณะและอาการ
ความวิตกกังวล เป็นกระบวนการทางอารมณ์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น แสดงออกถึงความรู้สึกกลัวที่คลุมเครือ ไม่รู้ว่ากลัวอะไร มี 4 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง รุนแรง รุนแรงมาก
ความเครียด เป็นความรู้สึกกดดันจากสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามาคุกคาม แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง รุนแรง รุนแรงมาก
วิธีบำบัดทางการพยาบาล
ระดับน้อย: เหมาะสม
ระดับปานกลาง: พูดคุยด้วยประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย ดึงเข้าสู่ประเด็นการสนทนา
ระดับรุนแรง: อยู่เป็นเพื่อน ฝึกผ่อนคลาย
ระดับรุนแรงมาก: ดูแลให้ได้รับความปลอดภัย ลดสิ่งกระตุ้น อยู่เป็นเพื่อน ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย