Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Philosohical Foundations of Adult Education ((Liberal Adult Education…
Philosohical Foundations of Adult Education
Liberal Adult Education
การศึกษาผู้ใหญ่เชิง Liberal
1) ผู้เรียน
มีหน้าที่ในการศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และต้องพยายามซาบซึ้งกับความรู้นั้นๆ
2) ผู้สอน
ต้องมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นการเฉพาะ
3) วิธีการสอน
มักใช้วิธีการสอน เช่น การบรรยาย การอภิปราย การอ่านอย่างใคร่ครวญ เป็นต้น
4) การวัดและประเมินผล
มักใช้เกณฑ์ตัดสิน เช่น การท่องจำ การเขียนเรียงความ การใช้เหตุผลอธิบายในบทความ เป็นต้น
คำสำคัญ
วิพากษวิธี
(Dialectical Argument) หมายถึง การเข้าถึงความจริงโดยการใช้เหตุผลผ่านการสนทนาโต้ตอบระหว่างคู่สนทนาสองฝ่าย โดยเริ่มจากการยอมรับนิยามของคู่สนทนาชั่วคราว จากนั้นจึงชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้จากการยอมรับนิยามนั้น
การเรียนรู้จากบุคคล
(Authority)
วัตถุประสงค์
1) พัฒนาด้านสติปัญญา และการใช้เหตุผล
การพัฒนาทักษะในเชิงของการฟัง การพูด การคิด การเขียน การคำนวณ โดยบุคคลสามารถเชื่อมโยงไปสู่ฐานข้อมูลบางอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อถ่ายทอดออกมาในรูปของปัญญาใน 2 ระดับ เช่น ในเชิงปฏิบัติบุคคลสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นพลเมืองดีทำอย่างไร การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานทางสังคมทำอย่างไร เป็นต้น ส่วนในเชิงทฤษฏี คือ การใคร่ครวญในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อจัดการเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ในเนื้อหาให้มีเหตุผลอ้างอิงสนับสนุนแบบวิทยาศาสตร์ คือ พิสูจน์เชิงประจักษ์ได้
2) การพัฒนาด้านคุณธรรม
เน้นการสร้างความเปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก การศึกษาเชิงเสรีนิยมไม่มีนโยบายในการบังคับเพื่อการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ การเปลี่ยนแปลงในที่นี้มีนัย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความคิดเพื่อพัฒนาตนให้ดีขึ้น หรือมีความเข้าใจในสภาวะธรรมที่แท้จริง
3) การพัฒนาด้านศาสนา
สถาบันทางศาสนาถือเป็น 1 สถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุดจาก 7 สถาบัน ศาสนามีหน้าที่ในการขัดเกลาบุคคลในส่วนของการอบรมด้านศีลธรรม มีจุดมุ่งหมายให้บุคคลละชั่วกลัวบาป และส่งเสริมบุคคลให้มีแนวคิดแบบจิตนิยม
4) การพัฒนาด้านสุนทรียภาพ
การกล่อมเกลาจิตใจของบุคคลให้มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของอารมณ์และความซาบซึ้งในธรรมชาติ เพื่อสร้างค่านิยมการยอมรับซึ่งกันและกันของบุคคลในสังคม
แนวคิด
มีอิสรภาพทางวิชาการ
กระบวนการเรียนรู้
dialectic ถกกัน, การหยั่งรู้ intuition, มีกูรู
1)
เสแสร้ง
แกล้งทำตัวว่าไม่มีความรู้แต่อยากรู้ เมื่อพบผู้รู้แล้วจึงขอความรู้ > 2)
สนทนา
จะตั้งคำถามให้คู่สนทนาตอบเพื่อเค้นความจริงจากคู่สนทนา > 3)
หาคำจำกัดความ
ให้คู้สนทนานิยามความหมายของคำบางคำให้รัดกุมที่สุด > 4)
อุปนัย
สร้างคำจำกัดความโดยเริ่มจากนิยามเฉพาะไปยังนิยามที่เป็นสากล > 5)
นิรนัย
นำนิยามของคู่สนทนาไปปรับใช้กับสิ่งที่เฉพาะเจาะจงเพื่อทดสอบว่าสามารถใช้นิยามนั้นๆ ได้ในกรณีเฉพาะทุกๆกรณีหรือไม่
ปรัชญา
ปรัชญาแบบเหตุผลนิยม คือ มีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ความรู้ หรือความจริงสามารถเข้าถึงได้ด้วยการใช้เหตุผล เพราะวิธีการศึกษาแบบที่เพลโตมักใช้เรียกว่า วิพากษวิธี (Dialectical Argument)
ขอบเขต
1) ความรู้ความคิด การใช้เหตุล
2) คุณธรรม
3) สุนทรียศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
formal and abstract
4.Humanitic Adult Education
การศึกษาผู้ใหญ่เชิง Humanitic
บทบาทผู้สอน
1) ผู้อำนวยความสะดวกจะกำหนดอารมณ์หรือบรรยากาศเริ่มแรกของกลุ่มหรือประสบการณ์ในชั้นเรียน
2) ช่วยชี้แจงและชี้แจงวัตถุประสงค์ของบุคคลในชั้นเรียนและอื่น ๆ วัตถุประสงค์ทั่วไปของกลุ่ม ความหลากหลายของวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาตให้มีอยู่
3) ผู้อำนวยความสะดวกให้ความสำคัญกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคนในการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ความหมายสำหรับเขาเป็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้ที่สำคัญ
4) เขาพยายามที่จะจัดระเบียบและทำให้มีทรัพยากรที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การเรียนรู้
5) เขาคิดว่าตัวเองเป็นทรัพยากรที่ยืดหยุ่นที่จะใช้โดยกลุ่ม
6) ในการตอบสนองต่อการแสดงออกในกลุ่มห้องเรียนเขายอมรับทั้งเนื้อหาทางปัญญาและทัศนคติอารมณ์ความรู้สึกพยายามที่จะให้แต่ละด้านโดยประมาณของการเน้นแต่ละบุคคลหรือกลุ่ม
7) สภาพแวดล้อมของห้องเรียนต้องให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นกลายเป็นผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มโดยแสดงความคิดเห็นของเขาในฐานะบุคคลคนหนึ่งเท่านั้น
8) เขามีความคิดริเริ่มในการแบ่งปันตัวเองกับกลุ่ม แสดงถึงความรู้สึกและความคิดของเขา
9) ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของเขา ยังสามารถเตือนถึงการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความลึกหรือความรู้สึกที่แข็งแกร่ง
10) ในการทำงานของเขาในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้นำ ซึ่งพยายามที่จะยอมรับตัวเองและข้อจำกัด
บทบาทผู้เรียน
1) การมีส่วนร่วมส่วนตัว
ด้านอารมณ์และความรู้ความเข้าใจของบุคคลควรมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การเรียนรู้
2) ความคิดริเริ่มของตนเอง
ความรู้สึกของการค้นพบต้องมาจากภายใน
3) แพร่หลาย
การเรียนรู้จะส่งผลต่อพฤติกรรมทัศนคติหรือบุคลิกภาพของผู้เรียน
4) ประเมินโดยผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถประเมินได้ว่าประสบการณ์นั้นเป็นที่ต้องการหรือไม่
5) สาระสำคัญคือความหมาย
เมื่อการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำให้ความหมายของผู้เรียนกลายเป็นประสบการณ์ของเขา
วิธีการที่บรรลุวัตถุประสงค์
1) โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ไม่ต้องมีการแข่งขัน ถ้าสิ่งนั้นมาจากแรงจูงใจที่แท้จากตัวเขาเอง (เมื่อการแข่งขันกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เกินไปวิธีการใด ๆ จะกลายเป็นที่ชอบธรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ) การแข่งขันมีแรงจูงใจเฉพาะสำหรับบุคคลที่เชื่อว่าพวกเขามีโอกาสชนะ
สองด้านของการศึกษาเชิงมนุษยนิยม
ประการแรก
คือ เรื่องการสอนในเชิงมนุษย์มากขึ้นนั่นคือการอำนวยความสะดวกเรื่องการเรียนรู้โดยนักเรียน
ประการสอง
คือการให้ความรู้ที่ไม่ใช่ในทางปัญญาหรืออารมณ์ ถ้าตามแง่มุมของนักเรียนคือ การพัฒนาบุคคลที่เข้าใจตัวเองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น
ทฤษฎีที่สำคัญ
Andragogy
ประสบการณ์เป็นเสมือนต้นทุนทางการศึกษาอย่างสำคัญ
ขอบเขต
1) พัฒนาศักยภาพทุกด้านของมนุษย์
วัตถุประสงค์
1) พัฒนาศักยภาพทุกด้านของมนุษย์
คำสำคัญ
dignity and autonomy
freedom and dignity of individual person
whole person (ตัวตน)
autonomous
existentialism
Phenomenological
ความรับผิดชอบ
Enlightenment
การแข่งขันเป็นแรงจูงใจเทียม
แนวคิด
1) คนไม่ใช่เครื่องจักร ศักดิ์ศรี actualization ให้เกียรติ, เคารพ SDL dignity and autonomy ตัวตน อาร์มความรู้สึก
2) ความรู้ความคิดไม่ถูกผูกขาดโดยศาสนา มนุษย์มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่และมีsenseของจริยธรรมจากภายในตน
3)การศึกษาเชิงมนุษยนิยมถือเป็นความรับผิดชอบในการเรียนรู้กับนักเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งที่ตนเองต้องการเรียนรู้ และในลักษณะที่ผู้เรียนต้องการ ครูสามารถให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกให้ในกระบวนการได้ แต่เน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน
4) บุคคลมีความต่างกัน ดังนั้นการรับรู้คือการเลือกและให้แนวความคิดที่แตกต่างกันไป
5) การพัฒนาตนเองและการเจริญเติบโตไม่ได้เกิดขึ้นในบุคคลที่แยกตัวออกจากคนอื่น การเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและการสนับสนุน
ความเชื่อพื้นฐาน
1) มนุษย์มีธรรมชาติเป็นคนดี
human nature is naturally good
2) เสรีภาพและความเป็นตนเอง
freedom and autonomy มนุษย์มีเสรีภาพในการเลือก
3) ความเป็นปัจเจกชนและศักยภาพ
individuality and potentiality ความมีเอกลักษณ์ (uniqueness)
4) ตนและการรับรู้ตนเอง
self-concept and the self บุคคลประเมินตนเองว่าตนเป็นใครและอย่างไร ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาจนเอง
5) การเป็นจริงในสิ่งที่ตนเองสามารถเป็นได้
self-actualization คุณลักษณะภายในของมนุษย์คือ ความพยายามที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและตระหนักรู้ศักยภาพที่แท้จริงและเป็นเอกลักษณ์ของตน (Abraham Maslow)
6) การรับรู้ perception
พฤติกรรมเป็นผลจากการเลือกรับรู้ (สิ่งเดียวกัน คนอาจรับรู้ต่างกัน)
7) ความรับผิดชอบและความเป็นมนุษย์
responsibility and humanity มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มิใช่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
ความหมาย
การศึกษามนุษยนิยม คือ เทคนิคในการเรียนรู้ในการชี้นำการแก้ปัญหากลุ่มที่มีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
5 Radical Adult Education
การศึกษาผู้ใหญ่เชิง Radical Adult
เป็น dialogic education และ authentic education โดยให้ผู้เรียนเผชิญความจริงที่เป็นรูปธรรมในชีวิต
Paulo Freire -
ขั้นตอนที่ 1
การเลือกเนื้อหาและคำ
1.1 คำที่สามารถนำมาแตกออกเป็นสาระ พยัญชนะได้ “คำงอกได้” (generative word) หรือ “คำหลัก” (key word)
1.2 คำที่จะเลือกนั้นจะต้องมีความหมายเกี่ยวกับสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองตามภาวะที่แท้จริงของประชาชน และจะต้องมีความหมายมากสำหรับผู้ใหญ่ จนสามารถกระตุ้นให้ผู้ใหญ่มีทั้งอารมณ์ ความรู้สึก และรู้จักใช้ความนึกคิด
ขั้นตอนที่ 2
การสอนผู้ใหญ่ให้รู้หนังสือ
2.1 จัดกลุ่มสนทนา 3 ครั้ง กลุ่มเหล่านี้เรียกว่า “กลุ่มกระตุ้นความนึกคิด” (motivation sessions) ในกลุ่มดังกล่าวผู้เรียนจะวิเคราะห์ “วัฒนธรรม” ของตน
2.2 สร้างอุปกรณ์และสื่อทางการศึกษาขึ้น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นภาพที่แสดงรูปภาพคำที่ได้แยกออกเป็นพยางค์ต่างๆ ประเภทที่สองคือ รูปภาพที่แสดงสภาพของชีวิตที่แท้จริงของประชาชน
2.3 การเรียนหนังสือทุกครั้ง จะอาศัยคำและรูปภาพ เช่น ถ้าจะเรียนคำ favela รูปภาพจะเป็นรูปแหล่งเสื่อมโทรมและมีคำ favela ประกอบอยู่ ผู้สอนกับผู้เรียนก็จะสนทนากันเกี่ยวกับสภาพชีวิตในแหล่งเสื่อมโทรม ต่อจากนั้นผู้สอนจะแสดงรูปภาพคำว่า favela เฉยๆ โดยไม่มีรูปแหล่งเสื่อมโทรม
แนวคิดย่อย
หรือที่มา
แบบดั้งเดิม
Anachist
ศต.18-19 ระบบการศึกษา >ควบคุมโดยรัฐ> ตอบสนองทางการเมืองของรัฐ
Marxist-socialist Tradition
ม่งปลดปล่อยบุคคลจากการถูกกดขี่ เปลี่ยนจากทุนนิยมเป็นสังคมนิยม
Freudian Left
บุคคลถูกจำกัดเสรีภาพ, เสรีภาพทางเพศ เนื่องจากโครงสร้างสังคมถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจในการปกครอง เน้นการเปลี่ยนแปลง 1) การเปลี่ยนบุคลิกภาพของบุคคล(personality traits) 2) โครงสร้างครอบครัว และ 3) แนวทางการเลี้ยงดูลูก
แบบใหม่
- critical theory
- radical feminism
คำสำคัญ
de-school ต่อต้านระบบโรงเ้รียน
non-authoritarian form of education การจัดการศึกษาที่ไม่อยู่ในการดูแลของรัฐ
authentic education
dialogic education
alienation
schooling ทำให้คนว่านอนสอนง่าย
autonomy
false consciousness
alternative approach
กระบวนการเรียนรู้
การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้เสรีภาพในการคิด นำปัญหามาร่วมคิด (libertarian, dialogic, and problem-posing education) ผู้เรียนผู้สอนหาผัญหาที่แท้จริง (authentic) ผู้เรียน-ผู้สอนอำนาจเท่ากันในการแสดงความคิดเห็น และผู้สอนมีฐานะเป็นผู้เรียนด้วย ผู้สอนให้ข้อสังเกตและข้อควรพิจารณา
นักคิด
Paulo Freire
, George Court, Theodor Brameld** (กลุ่ม Marxist)
กลุ่ม Freudian Left
Wilhelm Reich, A.S.Niel ทั้งสอนก่อตั้งโรงเรียนเสรี (Summerhill)
Jack Mezirow tranformative learning
Paul Goodman, Ivan Illich, John Ohlinger, Leo Tolstoi, Francisco Ferrer
แนวคิด
ค่อยๆเปลี่ยนไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้างหรือเปลี่ยนแปลงสังคม การศึกษาเป็นเครื่องมือที่ถูกกฏหมายในการเปลี่ยนสังคม
Paulo Freire
literacy trianing(โดยใช้ประเด็นทางการเมืองในการสอน),theory of Conscientization กระตุ้นมโนธรรมสำนึก หนังสือ pedagogy of the oppressed และหนังสือ Cultural Action for Freedom
มุมมองของความเป็นมนุษย์
vision of man
มนุษย์สามารถยกระดับจิตสำนึกให้สูงขึ้น และเข้าไปมีส่วนร่วม intervention ซึ่งเป็นพันธกิจ commitment
มนุษย์สามารถสร้างวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบตัวได้
การกดขี่ oppression เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ dehumanization
วัฒนธรรมเงียบ cultur of silence ที่เกิดจากความไม่รู้ ignorance
มุมมองที่มีต่อโลก
vision of the world or consciousness
สังคมหล่อหลอมความคิดมนุษย์
การสร้างให้รู้จักความจริงแท้
knowledge of reality ที่เขาเรียกว่า conscienization ซึ่งมีผลต่อความคิดและการกระทำของมนุษย์
สภาวะของจิตสำนึกของมนุษย์และสังคม
human and social consciousness เป็น 4 ระดับคือ
1) จิตสำนึกที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง intransitive consciousness โทษตัวเอง การไม่เข้าใจสาเหตุของความยากจน
2) จิตสำนึกกึ่งเปลี่ยนแปลง semi-transitivity or magical consciousness เริ่มรับรู้
3) จิตสำนึกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไร้เดียงสา naive-transitiveness เริ่มรู้ความจริงของปัญหา มีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังไม่หลุดพ้นวัฒนธรรมของความเงียบ
4) จิตสำนึกที่ใครครวญ critical consciousness ที่เกิดจากกระบวนการ conscientization มีความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง มีความมั่นใจในตนเอง จิตสำนึกระดับนี้ ต้องลงมือทำ แก้ปัญหา และคิดอย่างไตร่ตรองหลายครั้ง
theory of value
ให้คุณค่ากับความเป็นมนุษย์ เป้าหมายสูงสุดทำให้มนุษย์มีจิตสำนึก โดยกระบวนการให้เสรีภาพ และกระทำร่วมกันเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม
feminist
แบบจำลอง 2 ประเภท
1) แบบจำลองการทำให้ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน (อำนาจ)
2) แบบจำลองเกี่ยวกับเพศ (จิตวิทยา)
3 Behaviorist Adult Education
Main
ธรรมชาติของมนุษย์ ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะ พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
1) พฤติกรรมมนุษย์ในแบบที่ที่แน่ใจว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ สังคมและปัจเจกบุคคลจะอยู่รอด บทบาทของผู้สอนคือการออกแบบโดยสภาพแวดล้อมที่ดึงออกมาจากความปรารถนาต่อเป้าหมายเหล่านั้นและสิ่งที่ไม่ปรารถนาก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมบางอย่างนั้นหายไปด้วย
2) เน้นที่การจัดเตรียมความสามารถในการเรียนรู้และวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
3) สติปัญญา ความรู้สึก อารมณ์ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สังเกตหรือประเมินไม่ได้ จึงไม่น่าสนใจ
4) การแก้ปัญหาสังคม เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธ์มนุษย์
5) นักปกครอง นักการศึกษา และสังคม นิยามพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และสร้างบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
6) ไม่เน้นความคิดริเริ่ม
กระบวนการเรียนรู้
1) เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งเร้าตามที่นักเรียนคาดหวังในการปฏิบัติ
2) พฤติกรรมของนักเรียนที่ต้องปฏิบัติ (ตอบสนอง)
3) พรรณนาเกณฑ์กำหนดพฤติกรรมที่จะถูกตัดสินว่าสามารถยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ
บทบาท
ครูผู้สอน
คือผู้ควบคุมเหตุการณ์หรือผู้ควบคุมสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรด้านพฤติกรรม ผู้ที่สร้างแผนในรายละเอียดของสภาพแวดล้อมที่จำเป็นที่นำเมื่อซึ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
บทบาทของนักเรียน
เป็นฝ่ายรุก(active)มากกว่ารับ(passive) สภาพแวดล้อมถูกจัดในลักษณะที่พฤติกรรมของนักเรียนถูกปลดปล่อยออกมา เป็นสาระสำคัญที่นักเรียนปฏิบัติเพื่อที่พฤติกรรมของพวกเขาสามารถถูกสนับสนุนได้
การศึกษาผู้ใหญ่เชิง Behaviorist
ความอยู่รอด >มีอาชีพ>มีรายได้เลี้ยงตัว
สร้างเงื่อนไข > พฤติกรรมที่ปรารถนา
คำสำคัญ
ความอยู่รอด
พฤติกรรมมนุษย์ในแบบที่ที่แน่ใจว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ สังคมและปัจเจกบุคคลจะอยู่รอด บทบาทของผู้สอนคือการออกแบบโดยสภาพแวดล้อมที่ดึงออกมาจากความปรารถนาต่อเป้าหมายเหล่านั้นและสิ่งที่ไม่ปรารถนาก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมบางอย่างนั้นหายไปด้วย ครูผู้สอนคือผู้ควบคุมเหตุการณ์หรือผู้ควบคุมสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรด้านพฤติกรรม ผู้ที่สร้างแผนในรายละเอียดของสภาพแวดล้อมที่จำเป็นที่นำเมื่อซึ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
จิตวิทยา
อิสรภาพของคนเป็นสิ่งลวงตา
การควบคุมที่พวกเขายอมรับ , เป็นการหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีจากสิ่งที่เรียกว่า 'น่าเกลียดชัง'
competency
สมรรถนะในการประกอบอาชีพ
แนวคิด
มีกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม สิ่งเร้า แรงเสริม stimulus response
เน้นเชิงประจักษะ ด้วยอายตนะ วิทยาศาสตร์จ๋า
เสริมบวก
คำชม โบนัส
เสริมลบ
การลงโทษ ตำหนิ หักเงิน
นักคิดสำคัญ
Charles Dawin
Edward Lee Thorndike
Palove
Burrhus Frederick Skinner
เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ทั้งหมด เป็นผลของการที่มนุษย์แต่ละคนถูกปรับสภาวะ (conditioned) มา พฤติกรรมของบุคคลนั้นถูกกำหนดขึ้นจากอำนาจภายนอกของสภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งบุคคลจะไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมได้, พยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมมนุษย์
John B. Watson
จิตวิทยาเป็นศาสตร์แห่งพฤติกรรม (a science of behavior) ไม่ใช่การศึกษาภายในที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาหรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยสติปัญญา
ขอบเขต
1) เน้นที่พฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจน
2) เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์
3) ไม่เชื่อไม่เน้นตวามเป็นปัจเจก
ทฤษฎีหลัก
1. Respondent Behavior
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
แนวคิดของพาร์พลอฟ
( Pavlov )
เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) การตอบสนอง หรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวัน การตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) หรือ สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response)
แนวคิดของวัตสัน (Watson)
เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว >ทำเสียงดังจนเด็กตกใจ > เด็กกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ....ให้ดูหนูขาวโดยแม่จะอุ้มเด็กไว้ และปลอบว่าหนูไม่น่ากลัวอะไร >เด็กจะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้
1)พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2) เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมได้ ย่อมสามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
2. Operant Behavior
พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
นำแมวไปขังไว้ในกรง แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงโดยไม่ให้แมวเขี่ยถึง พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
กฎการเรียนรู้
1) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) ได้รับผลที่พึงพอใจ เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ 2) กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้ 3) กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ 4) กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อย ๆ
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์(Skinner)
เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
4 programing design by Skinner
1) สร้างพฤติกรรมรูปแบบใหม่ (new pattern)
2) เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของพฤติกรรม
3) ทำให้พฤติกรรมอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้า
4) คงสภาพพฤติกรรมภายใต้การใช้แรงเสริมบ้าง
4 programing design by Skinner
1) สร้างพฤติกรรมรูปแบบใหม่ (new pattern)
2) เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของพฤติกรรม
3) ทำให้พฤติกรรมอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้า
4) คงสภาพพฤติกรรมภายใต้การใช้แรงเสริมบ้าง
Progessive Adult Education
วัตถุประสงค์
Spencer ได้เสนอแนวความคิดว่า ถ้าหากการศึกษาให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์แล้ว การศึกษาจะช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ภายใต้สภาพการณ์และปัญหาทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง นักการศึกษาอเมริกันเชื่อว่า การศึกษาจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เช่น ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยอพยพเข้าประเทศก็แก้ไขโดยการให้การศึกษาแก่ประชากรดังกล่าว ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ผู้ลี้ภัยสามารถปรับตัวเองเข้ากับสังคมอเมริกันในเรื่องการอพยพเข้าเขตเมือง
หลักการ
1) ให้ความสําคัญแก่ผู้เรียน
โดยถือว่าเด็กนั้นเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ (เป็นหลักการตั้งแต่สมัย Comenius Rousseau Pestolozzi และ Froebel)
2) ให้ความสําคัญวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(อันเป็นผลจากทฤษฎีและมโนทัศน์ของ Darwin)
3) จะต้องมีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและสังคม
การศึกษาจะต้องมีความมุ่งหมาย ที่จะพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น (หลักการที่เกิดขึ้นจากมโนทัศน์ของ Spencer)
การศึกษาผู้ใหญ่เชิง
Progessive
1) การศึกษาคือกระบวนการตลอดชีวิตและไม่จํากัดอยู่แต่ในระบบโรงเรียน
2) ผู้เรียนคือศูนย์กลางของการเรียนการสอน
3) กระบวนการศึกษาที่เน้นการแก้ปัญหา
4) ผู้สอนในฐานะผู้อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้
5) การศึกษามีบทบาทในการพัฒนาสังคม
คำสำคัญ
สัมพันธ์กับชีวิตประจําวัน และการมีส่วนร่วมของชุมชน
นิรนัย
Induction
Child centered
Dewey
ประชาธิปไตยกับการศึกษา
ปัจเจกชน ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
facilitator of learning
การศึกษาชุมชน
“ มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นและแนะแนวทางให้ชุมชนช่วยตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างสมดุลในทุก ๆ ด้านนั้น สถาบันต่างๆทางสังคมต้องให้บริการชุมชน จัดโครงการประเภทต่าง ๆ ให้แก่ชุมชนและประชาชนทุกเพศทุกวัย
** learning by doing
กระบวนการเรียนรู้
learning by doing หรือ experiencial learning การสร้างความรู้ จากวิธีการสังเกต และทดสอบข้อสมมติฐาน
แนวคิด
demontration หรือ สาธิต เพื่อปรับใช้ในชีวิตได้, scientific medthod เชิงประจักษ์
นักคิดคนสำคัญ
John Dewey
การศึกษาเพื่อดำรงไว้และพัฒนาประชาธิปไตย (Education for Democracy)
John L. Elias
John Comenius
การศึกษาของเด็ก ๆ นั้นควรจะเป็นการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนแบบธรรมชาติ (Imitate nature) มากกว่าวิธีให้อ่านหนังสือ
Rousseau
เสนอว่าการศึกษาของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีนั้น ควรจะใช้วิธีการให้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตเท่านั้น
การศึกษาพิพัฒนาการ
ระยะแรก
Dewey: Child Center
ระยะสอง
การศึกษาเป็นจุดศูนย์กลางในการปฏิรูปสังคม การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม หรือปฏิรูปสังคม ตามทัศนะของ Dewey
1) การเน้นในสภาพความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน
โดยมองว่าการศึกษาจะได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เพราะวัตถุหรือสาร (matter) นั้น เป็นสิ่งที่จริงแท้ในตัวของมันเอง ความรู้ที่เราจะได้ก็จะต้องได้มาจากการที่เราเห็นได้สัมผัสความจริงเกิดขึ้นระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์สร้างวัฒนธรรมต่อไปได้
2) การศึกษาเพื่อส่งเสริมให้คนรู้จักใช้สติปัญญา
รู้จักคิดเป็น เพื่อที่เขาจะได้ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะ และรู้จักคิดในเชิงวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนการสอนควรจะเน้นให้มีการส่งเสริมประชาธิปไตย และการร่วมมือกัน (participation)
3) การเรียนการสอนที่เน้นความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคํานึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลแต่ละคน และเพื่อสังคมส่วนรวม
ระยะสาม
1) การเน้นในสภาพความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน
โดยมองว่าการศึกษาจะได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เพราะวัตถุหรือสาร (matter) นั้น เป็นสิ่งที่จริงแท้ในตัวของมันเอง ความรู้ที่เราจะได้ก็จะต้องได้มาจากการที่เราเห็นได้สัมผัสความจริงเกิดขึ้นระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์สร้างวัฒนธรรมต่อไปได้
2) การศึกษาเพื่อส่งเสริมให้คนรู้จักใช้สติปัญญา
รู้จักคิดเป็น เพื่อที่เขาจะได้ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะ และรู้จักคิดในเชิงวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนการสอนควรจะเน้นให้มีการส่งเสริมประชาธิปไตย และการร่วมมือกัน (participation)
3) การเรียนการสอนที่เน้นความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคํานึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลแต่ละคน และเพื่อสังคมส่วนรวม
ลักษณะและองค์ประกอบของการศึกษาพิพัฒนาการ
ลักษณะและองค์ประกอบของการศึกษาพิพัฒนาการ
1. จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1) สัจจการนั้นมิได้คงที่ หากแปรสภาพเป็นอนิจลักษณะ ฉะนั้นการศึกษาจึงควรแปรสภาพไปตามการเปลี่ยนแปลงนั้น
2)การศึกษาเป็นเรื่องที่มีคุณค่าในทุก ๆ ด้าน (ไม่เน้นเน้นเฉพาะสติปัญญาและเหตุผล) ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญาควบคู่กันไป
3) ความต้องการ ความสนใจ ทักษะ ศักยภาพของ ผู้เรียน ควรได้รับความสนใจและส่งเสริมให้มีมากที่สุด
4) เนื้อหาวิชาที่เรียนที่สอนกันอยู่ ควรจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับชีวิตและปัญหาประจําวันของผู้เรียนและสังคมที่ผู้เรียนนั้นเป็นสมาชิกอยู่
5) ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยและส่งเสริมลักษณะการแก้ไขปัญหาของมนุษย์
2. องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร
ไม่เน้นในมรดกทางวัฒนธรรมและสังคม แต่เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ในปัจจุบันและอนาคต หรือมาตรฐานความดีของสังคมก็จะต้องได้รับการทดสอบและปรับปรุงเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ เน้นที่ประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นหลักสําคัญ หลักสูตรในแนวนี้จึงมักจะเรียกกันว่าเป็นหลักสูตร Child-centered Curriculum หรือ Activity - centered Curriculum ทําให้เข้าใจตัวเอง สังคม และประเมินประสบการณ์ของตนเองให้ดีขึ้น เนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษคือ สังคมศึกษา และวิชาการสื่อความหมายเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2) ครู
ทำหน้าที่คือ การเตรียม การแนะนำ และการให้คำปรึกษา เป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้แต่ไม่ควรไปกําหนดหรือกะเกณฑ์ (Dictate) ให้เด็กทำตามอย่างหรือควรเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นจริงด้วยตัวเอง บทบาทที่สําคัญคือ ต้องเป็นผู้กระตุ้น สนับสนุนและหนี
ในระยะแรก
ให้เด็กได้สนใจด้วยตนเอง ได้ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง
ระยะต่อมา
ครูก็ต้องเป็นแรงหนุนคือ คอยให้คําปรึกษาให้กําลังใจผู้เรียนอยู่เสมอ
ระยะสุดท้าย
เมื่อเด็กทําเองได้แล้วครูจึงควรจะหนีออกให้เด็กทําเอง เรียนรู้เอง คอยดูแลอยู่ห่าง ๆ
3) นักเรียน
ให้ความสําคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการ เรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงหรือลงมือทําด้วยตนเอง (Learning by Doing) ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะร่างหลักสูตรหรือกําหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทํางานร่วมกัน (Participation) เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียน เหมาะสมแก่ความถนัดและความสามารถของนักเรียน
3. กระบวนการของการศึกษา
ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองให้มากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทํา (Doing) มากกว่ารู้ (Knowing) เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยแต่รับหรืออยู่เฉย ควรจะเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนให้กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม
ขอบเขต
1) เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์
2) ประชาธิปไตย
3) การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน