Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
6. แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช (การบำบัดด้วยสิ่งแวดล้อม…
6. แนวคิดการบำบัดรักษาทางจิตเวช
การรักษาด้วยไฟฟ้า
แนวคิด
เป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชัก โดยใช้กระแสไฟฟ้า เชื่อว่าทำให้เกิดสมดุลของระบบสื่อนำประสาท ทั้งในpresynaptic และpostsynaptic
หลักการพยาบาล
ระยะเตรียม เตรียมร่างกายและจิตใจ
ขณะทำ ให้ผู้ป่วยสูดOxygen ขณะที่แพทย์กดปุ่มที่เครื่องECTต้องจับคางผู้ป่วยไว้ อาจมีการกระตุกของคาง เมื่อหยุดชักต้องดูแลจนผู้ป่วยหายใจได้เอง
หลังทำ หากมีเสมหะต้องรีบดูดออก วัดVital signs ทุก 15 นาที ควรมีเหล็กกั้นเตียง
อาการแทรกซ้อน
ปวดศีรษะ หยุดหายใจ สับสน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
การบำบัดทางจิต (บุคคล กลุ่ม ครอบครัว)
บทบาทพยาบาล
เลือกแนวคิดทฤษฎีการทำจิตบำบัดที่สอดคล้องกับผู้ป่วยรายบุคคล/กลุ่ม และความถนัดของผู้บำบัด
ใช้กระบวนการกลุ่มตามปัจจัยการบำบัด เพื่อให้สมาชิกตระหนักถึงปัญหา มีการสื่อสารภายในกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การยอมรับภายในกลุ่ม และการช่วยเหลือ
แนวคิด
จิตบำบัดรายบุคคล เป็นการบำบัดทางจิต ที่ผู้บำบัดพูดคุยกับผู้รับการบำบัด แบบตัวต่อตัว
จิตบำบัดกลุ่ม เป็นการบำบัดทางจิตโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
ครอบครัวบำบัด เป็นการบำบัดทางจิตตามบริบทของครอบครัว
ผู้บำบัดจะใช้ทฤษฎีตามความเชื่อ
การบำบัดด้วยยาทางจิตเวช
การพยาบาล
ประเมินการออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด
สังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น
กรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา ต้องรับฟังปัญหา ร่วมวางแผนเพื่อแก้ปัญหา สร้างแรงจูงใจ สะท้อนคิดข้อดี-ข้อเสีย ให้การเสริมแรงเมื่อผู้ป่วยร่วมมือ
ชนิดและคุณสมบัติของยา
ยารักษาโรคจิต (จิตเวช จิตเภท)
1.1 กลุ่มต้านโดพามีน ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ dopamine โดยจับกับ receptor ของ dopamineในสมอง ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง โดยเฉพาะEPS (Acute dystonia, Akathisia, Parkinsonism, Tardive dyskinesia) ได้แก่ CPZ haloperidol
1.2 กลุ่มต้านซีโรโทนิน-โดพามีน เพื่อลดEPS เพิ่มประสิทธิภาพอาการด้านลบ ได้แก่ Clozapine
ยาแก้ซึมเศร้า ออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับ (reuptake) ของ serotonin, noradrenaline และ dopamine
ยาปรับอารมณ์ ลิเทียม ออกฤทธิ์โดยเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของเซลล์ประสาท ด้วยการเปลี่ยนที่กับionsชนิดอื่น มีผลต่อสารสื่อประสาทหลายชนิด
ยาคลายกังวล ออกฤทธิ์โดยเสริมฤทธิ์ของสาร GABA
การให้คำปรึกษาปัญหาทางสุขภาพจิต
กระบวนการ
สร้างสัมพันธภาพ
สำรวจปัญหา
เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ
วางแผนแก้ปัญหา
ยุติการปรึกษา
เทคนิค
การฟังอย่างตั้งใจ
การสังเกต
การตั้งคำถาม
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การให้ข้อมูล
การเสริมแรงทางบวก
การให้ความมั่นใจ
การสะท้อนความรู้สึก
การบำบัดด้วยสิ่งแวดล้อม
แนวคิด สิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ต้องเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจ อบอุ่น ปลอดภัย สามารถพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเอง มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง
หลักการ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ สิ่งแวดล้อมดี ก็จะโน้มน้าวให้พฤติกรรมมนุษย์เป็นไปในทางที่ดี
กิจกรรม ต้องเป็นไปเพื่อการบำบัด มีทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคล รายกลุ่มไม่ควรเกิน 15 คน ทุกคนต้องมี XXXXXXXXX (ข้อความไม่ครบ)
บทบาทพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมบำบัด
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรด้วยตนเอง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
จำกัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เป็นแบบอย่างที่ดีในการตอบสนองทางอารมณ์ และการแสดงออกพฤติกรรมทางสังคม
เป็นตัวแทนบุคคลในสังคมปกติ XXX (ข้อความไม่ครบ)
การจำกัดพฤติกรรม
หลักการ
กระทำเพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ต่อตนเองและผู้อื่น
แนวทาง
ใช้คำพูดหากไม่ได้ผล
ผูกยึดร่างกายหรือใช้ห้องแยก
ใช้ยา ส่วนใหญ่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การจัดการในภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน
แนวคิดของภาวะวิกฤติทางอารมณ์
ภาวะที่ไม่สมดุลทางอารมณ์และสังคม ในภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือฉุกเฉิน
ความทุกข์ ความเศร้า เกิดขึ้นได้กับทุกคน
บุคคลจะพยายามฝ่าฟัน เพื่อให้เกิดความสมดุลทางอารมณ์
ขณะฝ่าฟันอาจรู้สึกท้อแท้
หากท้อแท้ควรได้รับการช่วยเหลือ/บำบัด
การตอบสนองทางอารมณ์ขึ้นกับปฏิกิริยาที่มีต่อแต่ละลำดับของภาวะวิกฤติที่เผชิญ
ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นอาจส่งเสริมให้บุคคลพัฒนาตนเองด้านอารมณ์
การพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน
ประเมินความเร่งด่วนที่จัดว่าจะต้องได้รับการดูแล
รักษาภาวะทางด้านร่างกายให้ปลอดภัย
หากผู้ป่วยมีแนวโน้มว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ ต้องจำกัดพฤติกรรมตามขั้นตอนที่เหมาะสม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤติ
เกิดภัยพิบัติมีการสูญเสีย
ภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงในชีวิต
ปัญหายุ่งยากซับซ้อน
ขาดแหล่งช่วยเหลือสนับสนุน
ขาดทักษะในการเผชิญปัญหา
วิธีการช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ
ดูแลด้านความปลอดภัย
เพิ่มศักยภาพในการเผชิญปัญหา
สร้างเครือข่ายกับแหล่งสนับสนุน