Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาและแนวโน้ม การบริหารการศึกษาไทย ในอนาคต :silhouettes:…
ปัญหาและแนวโน้ม
การบริหารการศึกษาไทย
ในอนาคต :silhouettes:
ระบบการบริหารการศึกษาไทยในปัจจุบัน :red_flag:
ระดับชาติ
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ระดับสถานศึกษา
ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน :red_flag:
คุณภาพการศึกษา
โอกาสทางการศึกษา
การบริหารจัดการในด้านงบประมาณ
สภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การจัดการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ด้านผลผลิตและระบบการศึกษา
ปัญหาหลักทางการบริหารการศึกษา :red_flag:
ปัญหาพื้นฐาน (Simple Problem)
ปัญหาสลับซับซ้อน (Complex Problem)
ปัญหาเชิงระบบ (System Problem)
ปัญหาการบริหารการศึกษาโดยภาพรวม
:red_flag:
การรวมอำนาจ
การขาดเอกภาพในการบริหาร
การขาดประสิทธิภาพในระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ขาดการพัฒนานโยบายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น
บริหารจัดการสถานศึกษา :red_flag:
ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา
คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา
ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ
แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต :red_flag:
การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
คลื่นลูกที่ 1 คือ สังคมเกษตรกรรม
คลื่นลูกที่ 2 คือ สังคมอุตสาหกรรม
คลื่นลูกที่ 3 คือ สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ
คลื่นลูกที่ 4 คือ สังคมความรู้ ใช้ความสามารถในการครอบครองความรู้
คลื่นลูกที่ 5 คือ ปราชญาสังคม หรือสังคมแห่งปัญญา
รูปแบบการจัดการศึกษาในอนาคต
1) ให้อิสระแก่ผู้เรียน ให้ทางออกและทางเลือกแก่ทุกคน
2) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีการประสานสัมพันธ์กัน
3) นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายข้อมูลทั่วโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา
4) สร้างดุลยภาพหรือความพอดีในการผสมผสานคุณลักษณะต่างขั้ว
5) การเห็นความสำคัญและประโยชน์ในวิยาการสมัยใหม่กับความชื่นชมในภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม
แนวโน้มการบริหารสถานศึกษา :red_flag:
แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
โลก สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง การศึกษาต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ และเตรียมคนให้ เผชิญกับสภาพนั้น
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงไม่เหมือนการศึกษาในศตวรรษที่ 19 หรือ 18
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ความรู้ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะจะมีความรู้ใหม่ ๆ ที่จริงกว่าเดิมสมัยก่อนเรียนจากความรู้ที่ครูสอนสมัยใหม่เรียนแบบปฏิบัติการเป็นหลักสมัยก่อนที่เรียนสำคัญที่สุด
การเรียนให้ได้ทั้งความรู้และทักษะทักษะสำคัญกว่าความรู้ที่สำคัญให้ได้อุปนิสัยคือเป็นคนซื่อสัตย์ สู้งาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจผู้อื่น ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ สื่อสารเป็นการเรียนต้องเรียนรู้ให้จริง (Mastery learning) ผู้เรียนต้องอยู่ในใจตลอดเวลา ว่าเรียนเพื่ออนาคตของตนเอง ( Motivation)
เรียนโดยลงมือทำและคิดไม่ใช่เรียนแบบท่องจำหรือตำรา ต้องเรียนจากสัมผัสจริงของตนเองจะทำไปสู่การเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Teach less Learn More)
แนวทางการบริหารการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ทฤษฎีการบริหารการศึกษาเชิงระบบ (System Theory)
1) ทฤษฎีเชิงระบบมีความเชื่อว่า ระบบจะต้องเป็นระบบเปิด (Open System) กล่าวคือ จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยได้รับอิทธิพล หรือผลกระทบตลอดเวลาจากสภาพแวดล้อม
2) มีรูปแบบของการจัดลำดับ (The Hierarchical Model) ในลักษณะของระบบใหญ่และระบบย่อยที่สัมพันธ์กัน
3) มีรูปแบบของปัจจัยป้อนเข้าและผลผลิต (Input Output Model) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลของการปฏิสัมพันธ์ที่มีกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากปัจจัยกระบวนการ และผลผลิตตามลำดับ เป็นองค์ประกอบของระบบ
4) แต่ละองค์ประกอบของระบบจะต้องมส่วนสัมพันธ์กัน หรือมีผลกระทบต่อกันและกัน (The Entities Model) หมายความว่า ถ้าองค์ประกอบของระบบตัวใดตัวหนึ่งเปลี่ยนไป ก็จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนขององค์ประกอบตัวอื่นด้วย
5) ทฤษฎีเชิงระบบเชื่อในหลักการของความมีเหตุผลของสิ่งต่าง ๆ (Cause and Effect) ซึ่งเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ทฤษฎีเชิงระบบไม่เชื่อว่าผลของสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เกิดจากเหตุเพียงสาเหตุเดียว แต่ทฤษฎีเชิงระบบเชื่อว่าปัญหาทางการบริหารที่เกิดขึ้นมักจะมาจากสาเหตุที่มากกว่าหนึ่งสาเหตุ
6) ทฤษฎีเชิงระบบจะมองทุก ๆ อย่างในภาพรวมของทุกองค์ประกอบมากกว่าที่จะมอบเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ
7) ทฤษฎีเชิงระบบคำนึงถึงผลของการปฏิบัติที่เป็น “Output” หรือ “Product” มากกว่า “Process” ซึ่งผลสุดท้ายของงานที่ได้รับอาจมีมากมายหลายสิ่ง ซึ่งก็คือผลกระทบ (Outcome or Impact) ที่เกิดขึ้นตามมาในภายหลังนั่นเอง
8) ทฤษฎีเชิงระบบจะมีกระบวนการในการปรับเปลี่ยน และป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อบอกให้รู้ว่าระบบมีการเบี่ยงเบนอย่างไร ควรจะแก้ไขที่องค์ประกอบใดของระบบ ซึ่งก็คือ การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) นั่นเอง