Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ สำลัก ต้องทำอย่างไร? (สาเหตุหลักที่ทำให้สิ…
วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ สำลัก ต้องทำอย่างไร?
วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีของติดคอ
แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว และ กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ
กรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว
การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต
ให้ผู้ป่วยลองอ้าปากดู ถ้าสิ่งแปลกปลอมที่ติดคอมีขนาดใหญ่และมองเห็นได้อยู่ ให้ใช้มือล้วงออกมา แต่หากมองไม่เห็นสิ่งของ หรือประเมินแล้วว่าดึงออกมาไม่ได้ ไม่ควรล้วงคอ เพราะอาจทำให้มันเข้าไปลึกกว่าเดิม
ให้ใช้วิธีรัดท้องเพื่อเพิ่มแรงดันในช่องอกให้เรายืนข้างหลังและใช้ 2 แขนรัดรอบเอวผู้ป่วย กำมือข้างหนึ่งและใช้มืออีกข้างกุมมือที่กำไว้ วางมือทั้งสองเหนือสะดือ บริเวณลิ้นปี่ และอัดมือเข้าหาท้องผู้ป่วยแรงๆ
หากผู้ป่วยอ้วนลงพุง หรือตั้งครรภ์ วางมือที่ใต้ราวนม และอัดมือเข้าหาอกแรงๆ
ใช้วิธีรัดท้องหรือรัดอกไม่ได้ผล ใช้แขนรัดรอบเอวผู้ป่วยไว้เช่นเดียวกับท่ารัดท้อง วางลำตัวผู้ป่วยพาดพนักเก้าอี้ ให้ลำตัวส่วนบนต่ำลง ใช้มืออัดเข้าท้องแรงๆดึงขึ้นด้านบน ทำซ้ำๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก
การปฐมพยาบาลสำหรับเด็ก อายุ 1 ปีขึ้นไป
เด็กไม่มีอาการหายใจลำบาก หน้าเขียว ให้ตบที่หลังเบาๆ ก่อน เพื่อกระตุ้นให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก
ของที่ติดคอไม่หลุดออก ให้โอบจากข้างหลัง และใช้นิ้วโป้งกดใต้ลิ้นปี่แรงๆ 5 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วินาที และตรวจดูว่าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือยัง
ถ้าเด็กหยุดหายใจ ให้จับเด็กนอนหงายศีรษะต่ำลง ใช้สองมือประสานกัน กดลงไปที่ลิ้นปี่ สลับกับการช่วยหายใจ และรีบพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
การปฐมพยาบาลสำหรับทารก อายุต่ำกว่า 1 ปี
ให้จับทารกนอนคว่ำลงบนท่อนแขน โดยศีรษะต่ำลงเล็กน้อย
ใช้ฝ่ามือตบกลางหลังทารก ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างเร็วๆ 5 ครั้ง
ถ้ายังไม่ได้ผล ให้จับทารกนอนหงายบนท่อนแขน โดยให้ศีรษะต่ำลง วางนิ้วชี้กับนิ้วกลางลงที่กระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และกดลงเร็วๆ (ประมาณ 1 นิ้ว) 5 ครั้ง
หากสิ่งแปลกปลอมยังไม่ออกมา ให้ใช้วิธีตบหลังสลับกับกดหน้าอกไปเรื่อยๆ
กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ
โทรเรียกรถพยาบาลหรือนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
ระหว่างรอ ให้จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้น และเปิดทางเดินหายใจ โดยยกปลายคางขึ้น และอีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง
ลองเป่าปากเพื่อช่วยหายใจ 2 ครั้ง หากหน้าอกยกขึ้น ให้เป่าปากต่อไป ด้วยอัตรา 10 – 12 ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่ และ 12 – 20 ครั้ง/นาที ในเด็ก
ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น ให้ใช้มืออัดที่ท้องในท่านอนหงาย 6 – 10 ครั้ง แต่ถ้าเป็นเด็กทารก ให้ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 5 ครั้ง
คอยตรวจเช็คช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา
สาเหตุหลักที่ทำให้สิ่งแปลกปลอมติดในช่องลำคอ
การพูดหรือหัวเราะ
การสะอึก ไอ จาม
สำลักอาหาร
ส่งผลให้ฝาปิดกล่องเสียงเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าพาเอาสิ่งแปลกปลอมเข้ากล่องเสียง ติดในกล่องเสียง หลอดลม
บางรายถ้าเกิดอย่างเฉียบพลันร่วมกับสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่อุดทางเดินหายใจ
ส่งผลทำให้ขาดอากาศเป็นเจ้าหญิงนิทรา หรือเสียชีวิตได้
อาการแสดงเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดในคอ
ระดับความรุนแรงของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากการสำลักสิ่งแปลกปลอม
การอุดกั้นไม่รุนแรง
สามารถหายใจได้ มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอแรงๆได้
อาจได้ยินเสียงหายใจหวีด (wheeze) ระหว่างการไอ
การอุดกั้นรุนแรง
ใช้มือกุมบริเวณลำคอ
พูดหรือร้องไม่มีเสียง
หายใจลำบาก ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอเบาๆ หรือไม่สามารถไอได้
มีเสียงลมหายใจเข้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเสียง
หน้าเขียว ปากเขียว
วิธีการป้องกันไม่ให้อาหารติดคอ หรือเกิดอาการสำลัก (ลดความเสี่ยงในการเกิดอาหารติดคอ)
ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมที่ปะปนกับอาหารก่อนปรุง
ขณะรับประทานก็ควรเพิ่มความระมัดระวัง เช่น อาหารที่มีเศษกระดูก เปลือกไข่ เนื้อแข็งๆ หรือก้างปลา
ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน หลีกเลี่ยงการพูด หรือหัวเราะ
สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ควรจะรับประทานอาหารที่เคี้ยวได้ง่าย
วิธีการรักษา
กรณีที่อาหารติดคอไม่ลึก
ส่วนใหญ่สามารถคีบออกได้ โดยการส่องกล้อง และใช้ยาชาเฉพาะที่
กรณีที่อาหารติดคอลึก
สิ่งแปลกปลอมแหลมคมแล้วเกิดการทิ่มทะลุกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ รักษาโดยการผ่าตัดเอาออกทางหน้าท้อง
สิ่งแปลกปลอมที่หลุดจากหลอดอาหารเข้าในกระเพาะอาหารแล้ว จะขับถ่ายออกมาเอง โดยไม่ต้องคีบออก