Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (เป็นลม ( (ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดเหงื่อที่หน้าผาก มือ…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-
วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ
- เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ๆ เพราะในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในระยะอันสั้น ควรมีคนมาช่วยมากกว่า 1 คน เพื่อจะได้ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือต่อไป เช่น พูดว่า “ช่วยด้วย ๆ มีคนหมดสติ”
- จัดท่าผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็งเพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวด หัวใจ การทำ CPR จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรง ศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจจึงจะทำCPR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่าผู้ป่วยนี้จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที
- ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเขย่าตัวเบา ๆ ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ ๆ ตื่น ๆ เป็นอะไรหรือเปล่า”
- A : Airway การดูแลทางเดินหายใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
- B : Breathing คือ การช่วยหายใจด้วยการ เป่าปากผู้ป่วย โดยการเป่าปากครั้งละประมาณ 5 วินาที หรือ12 ครั้ง/นาที แต่ถ้ากรณีผู้ป่วยหัวใจไม่เต้นต้องเป่าปากพร้อมกับนวดหัวใจ
- C : Circulation การกดหน้าอกหรือการนวดหัวใจ ให้มีการฉีดเลือดออกจากหัวใจ เพื่อดำรงไว้ซึ่งการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมอง หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ไตและอวัยวะอื่น ๆ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ
ลมชัก
ห้ามงัดปาก ห้ามกดแขน กดขา ห้ามปั๊มหน้าอก ยึดแขน ขา ห้ามเอาพริก มะนาวใส่ปากผู้มีอาการชัก ห้ามเอายาให้ทานในขณะที่ไม่รู้สึกตัว ห้ามคนมุงดูด้วย
จับผู้มีอาการนอนตะแคง หาวัสดุรองศีรษะ ป้องกันการสำลัก คลายเสื้อผ้าให้หลวม สังเกตุอาการชักอย่างละเอียด จับเวลาที่มีอาการผิดปกติ ถ้าสามารถบันทึกภาพได้ด้วยยิ่งดี
หลังจากหยุดชัก ให้ประเมินอาการดูว่ามีอันตรายอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง คอยดูว่าฟื้นคืนสติดีหรือยัง ถ้ามีอุบัติเหตุที่รุนแรง หัวแตก แผลขนาดใหญ่ กระดูกหัก ข้อต่อเคลื่อนหลุด หรือไม่หยุดชัก ชักนานกว่าทุกครั้งที่เป็น หรือชักนานกว่า 5 นาที หรือหลังหยุดชัก แต่ก็ยังไม่ฟื้นคืนสติ ให้นำผู้มีอาการชักส่งโรงพยาบาล
-
โปรดจำไว้ว่าโรคลมชักรักษาหายได้ การช่วยปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง คือ การตั้งสติให้ดี ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ห้ามงัดปาก กดปั๊มหน้าอก ห้ามกดยึดแขน ขา
แมลง สัตว์กัด ต่อย
หอยเม่น
1.ล้างด้วยน้ำสะอาด
2.ให้เขี่ยขนเม่นส่วนที่เห็นชัดออกเท่านั้น
3.ขนที่ยังค้างอยู่ ถ้าฝังอยู่ในบริเวณที่ไกลจาก กระดูก ให้ทุบจนแหลกเพื่อให้ร่างกายกำจัดได้ง่ายหรือประคบด้วยน้ำส้มสายชู
4.หากปวดมาก ให้ประคบเย็น และทานยาแก้ปวด
ปลาดุกทะเลแทง อันตรายจากปลากลุ่มนี้เกิดจากไปสัมผัสโดนก้านครีบแข็งบริเวณครีบหลังและครีบอก
1.ล้างแผลให้สะอาด
2.ดึงเงี่ยง หรือหนามที่ตำอยู่ออกจากแผล
3.ใช้ความเย็นประคบ
4.ให้ทานยาแก้ปวด5.พิจารณาให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ผึ้ง ต่อ แตน ต่อย
1.ล้างด้วยน้ำและสบู่
2.เอาเหล็กในที่ฝังออก โดยใช้ scot tape ติดแล้วดึงออกต้องระวังอย่าไปกดบริเวณถุงพิษ
3.การใช้น้ำแข็งประคบ จะช่วยลดการกระจายของพิษและลดความเจ็บปวดได้
งูกัด
1.ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
2.ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟหรือพอกยาบริเวณแผลที่ถูกงูกัด เนื่องจากอาจทำให้มีการติดเชื้อได้
3.ห้ามดูดแผลงูกัดอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูด
4.อย่าดื่มยากระตุ้น
5.ให้ใช้ผ้าพันแผล หรือผ้าพันข้อเคล็ดชนิดยืดหยุ่นได้ พันจากแผลไปถึงข้อต่อ
6.จากนั้นหาไม้กระดานมาดาม แล้วพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้งเพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยที่สุด7.นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
สุนัขและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด
- ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างแผล และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
- ไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา ทำแผล และฉีดวัคซีน
ห้ามเลือด/เลือดออก
แผลเล็กกดโดยตรงลงบนบาดแผลถ้าแผลใหญ่ให้ใช้ฝ่ามือกดปลายแผลไว้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ผ้าสะอาดพับหนาๆ กดลงบนบาดแผล หากเป็นกรณีฉุกเฉินให้ใช้เสื้อหรือผ้าเช็ดหน้า ถ้าไม่มีจริงๆ ให้ใช้ฝ่ามือกดลงไปตรงๆ นานประมาณ 10 นาที
-
ต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของตัวเองก่อนและป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงมือยางหรือหาวัสดุใกล้ตัว เช่น ถุงพลาสติกมาหุ้มมือ
-
น้ำร้อนลวก
ให้ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือแช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาดประมาณ 15-20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนจะลดลง (อาจใช้สบู่อ่อน ๆ ชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้างด้วยน้ำสะอาด) โดยน้ำที่ใช้แช่ควรเป็นน้ำธรรมดาจากก๊อกน้ำ ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด น้ำจากตู้เย็น หรือน้ำแข็ง เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้
ไม่ควรใส่ตัวยา ครีม หรือสารใด ๆ ทาหรือชโลมลงบนบาดแผล ถ้ายังไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้น้ำปลา กะปิ ปลาร้า เครื่องปรุง ยาสีฟัน และยาหม่องทา เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น
-
-
ไฟดูด/ไฟช็อค
-
3.ถ้ามีบาดแผลบริเวณนั้น หรือ ไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บของผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกายบริเวณที่ถูกสัมผัสหรือไม่ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
-
วัสดุปักคา
ิถ้าเกิดจากตะปูหรือเศษไม้ตำ เมื่อดึงวัตถุออกจากแผลแล้วให้บีบเลือดออกจากรูแผล เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70% ต้องเปิดปากแผลให้กว้าง (ถ้าไม่สามารถทำได้เองควรไปโรงพยาบาลเพราะอาจต้องใช้มีดกรีดปากแผลให้กว้าง) ล้างภายในแผลด้วยน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผสมน้ำเกลือในอัตราส่วน 1:1 ล้างให้ถึงก้นแผล แล้วจึงล้างด้วยน้ำเกลืออีกครั้ง ใส่แผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ปิดแผลไว้ด้วยผ้าก๊อซ
ถ้าเกิดจากเสี้ยนตำ ให้เช็ดทําความสะอาดผิวหันงบริเวณที่ถูกตําด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใช้เข็มสะอาด (อาจเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70%) สะกิดผิวหนังให้เปิดแล้วเขี่ย หรือคีบเอาเสี้ยนออกแล้วจึงเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือเบตาดีนอีกครั้ง
ถ้าแผลถูกแทงมีวัตถุหักคาไว้ห้ามดึงวัตถุออกเพราะอาจทำให้เลือดไหลออกมาก ถ้าเลือดออกรอบ ๆ วัตถุที่คาอยู่ให้ใช้ผ้าประกบห้ามเลือดและพันยึดไว้ระวังอย่าดันวัตถุที่หักคาเข้าไปลึกกว่าเดิม ต้องให้อวัยวะที่มีวัตถุหักคาอยู่นิ่งๆ นำส่งโรงพยาบาล
-
กระดูกหัก
กระดูกหักแบบปิด เป็นเพียงการแตกของกระดูกที่ไม่มีการฉีกขาดเหนือบริเวณผิวหนัง กระดูกหักชนิดนี้จะไม่มีบาดแผลภายนอก
กระดูกหักแบบเปิด เป็นกระดูกหักที่มีบาดแผลเปิดจากผิวหนังผ่านเนื้อเยื่อเข้าไปยังตำแหน่งที่หัก โดยอาจมองเห็นปลายกระดูกโผล่ออกมาทางบาดแผล กระดูกหักชนิดนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
เป็นลมแดด
กลุ่มคนที่พบว่าเป็นโรคลมแดดส่วนใหญ่คือ ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานท่ามกลางแสงแดด ซึ่งในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและอยู่ในวัยทำงานก็เป็นโรคนี้ได้ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด หากพบผู้ที่บ่นว่าร้อน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดสังเกต มีอาการงง พูดช้าลงเลอะเลือน การเคลื่อนไหวช้าลง โซเซ ควรพาผู้ป่วยไปพักในที่ร่มทันที เปิดเครื่องปรับอากาศและใช้น้ำเย็นเช็ดตัวให้ผู้ป่วยเนื่องจากอาการในช่วงนี้จะนำไปสู่อาการแบบรุนแรงอย่างรวดเร็ว และควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือป้องกัน หากรู้ว่าตนเองต้องออกไปอยู่กลางแดดก็ควรสวมเสื้อสีอ่อนๆแขนยาว สวมหมวก ใส่แว่นตากันแดด และควรทาครีมกันแดดด้วย เพราะนอกจากแสงแดดจะเป็นสาเหตุของโรคลมแดดแล้วยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย
-