Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย (การตรวจสอบคุณภาพ …
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย
1.ความเที่ยงตรง (Validity)
สามารถวัดคุณลักษณะที่ต้องการจะวัดได้อย่างแท้จริงและนำไปแปลผลได้
2.ความเชื่อมั่น (Reliability)
เป็นคุณสมบัติว่าเมื่อใช้เครื่องมือนั้นไปวัดสิ่งเดียวกันจะให้ผลแน่นอน สม่ำเสมอ คงเส้นคงวา
3.ความเป็นปรนัยหรือภววิสัย (Objectivity)
มีคุณสมบัติคือความชัดเจนในความหมายของคำถาม, ความคงที่ในการตรวจให้คะแนนและความแจ่มชัดในการแปลความหมายของคะแนน
4.ความไว (Sensitivity)
คือ ความสามารถในการบอกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการวัด
5.ความมีประสิทธิภาพ (Eficiency)
พิจารณาจากความสะดวก และประหยัดในการใช้เครื่องมือนั้น
6.ความยากง่าย(Difficulty)
เป็นคุณสมบัติที่เน้นเฉพาะเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ ที่วัดทางด้านพุทธิปัญญา (Cognitive domain)
7.อำนาจจำแนก (Discrimination)
จำแนกบุคคลออกเป็น 2 กลุ่ม ที่มีคุณลักษณะต่างกันในเรื่องที่ศึกษา
8.ความเป็นมิติเดียว (Unidimensionally)
สามารถวัดมิติของตัวแปรที่ศึกษาจำแนกจากกันในแต่ละมิติ
9.ง่ายต่อการใช้ (Simplicity)
คุณลักษณะของเครื่องมือวิจัยที่ดีอีกประการหนึ่ง คือ ง่ายต่อการใช้ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
ขั้นตอนการ พัฒนาเครื่องมือ
1.กำหนดประเด็นและตัวแปรที่ต้องการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
2.กำหนดกรอบทฤษฎี (Define the conceptual framework)
3.กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Define the operational definition)
4.การออกแบบเครื่องมือหรือมาตรวัด (Design the scale)
5.ระบุสาระของมิติหลัก (Domain content)
6.ร่างคำถาม (Drafting the item contents)
7.เรียงลำดับคำถาม (Sequence the questions) โดยเรียงจากคำถามในเรื่องง่ายไปยาก และเรียงเป็นหมวดหมู่หรือมิติ
8.นำเครื่องมือไปตรวจสอบคุณภาพ (Judgment qualification) กับผู้เชี่ยวชาญ
ประเภทและวิธีการตรวจ
สอบความเที่ยงตรง
ความเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัยต้องอาศัยเกณฑ์เป็นตัวชี้บ่ง หรือเครื่องเปรียบเทียบ เพื่อให้ทราบว่าเครื่องมือนั้นๆ มีความเที่ยงตรงในด้านใด
1.ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content validity)
หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวัด สามารถวัดเนื้อเรื่องในประเด็นที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
2.ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-related validity)
เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยเทียบผลที่ได้จากการวัดโดยใช้เครื่องมือนั้นกับเกณฑ์ภายนอก ซึ่งเกณฑ์ในที่นี้อาจเป็นเกณฑ์ตามสภาพปัจจุบัน หรือ เป็นเกณฑ์ในเชิงพัฒนาอนาคต อาจแบ่งความเที่ยงตรงที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ออกเป็น 2 แบบ คือ ความเที่ยงตรงตามสภาพปัจจุบัน (Concurrent validity) และความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive validity)
3.ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (Construct validity)
หมายถึง เครื่องมือวิจัยสามารถวัดได้สอดคล้องกับทฤษฎี หรือ คุณลักษณะตามทฤษฎีของสิ่งนั้น
นางสาวอินทิรา หัสจักร์ รหัสนักศึกษา 592901080