Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย (ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย…
การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
หมายถึง ทฤษฎี แนวความคิดหรือหลักการที่ใช้อ้างอิง หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำวิจัย
ประโยชน์ของการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
ขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล กรอบแนวคิดจะชี้ให้เห็นถึงทิศทางของการวิจัย ประเภทของตัวแปร และรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบการวิจัย ทั้งนี้เพราะการออกแบบวิจัยเกี่ยวข้องกับตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ซึ่งตัวแปรต่าง ๆ จะแสดงอยู่ในกรอบแนวคิด
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล กรอบแนวคิดที่เลือกมาได้จะชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าควรจะวิเคราะห์แบบใด
วิธีการการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
แบบพรรณนาความ การเขียนกรอบแนวคิดในลักษณะของการพรรณนาความเป็นการเขียนบรรยาย
แบบแผนภาพ เป็นการเสนอกรอบแนวคิด โดยใช้แผนภาพ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างการเขียนกรอบแนวคิดโดยใช้แผนภาพ
แบบจำลอง เป็นการเสนอกรอบแนวคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือสมการ ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
แบบผสมผสาน เป็นการผสมผสานระหว่างแบบพรรณนากับแบบจำลอง
ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
กำหนดประเด็นปัญหาหลัก เป็นการระบุว่าการวิจัยเรื่องนั้นต้องการหรือมีคำถามหลักที่ต้องการหาคำตอบในประเด็นอะไร การวิจัยในหัวข้อเรื่องหนึ่ง
กำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล กำหนดข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล (ประชากร) ข้อมูล หมายถึง สัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกลักษณะอาการหรือปริมาณของตัวแปรที่ศึกษา
ทำความเข้าใจชื่อเรื่องการวิจัย โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าชื่อเรื่องนั้นประกอบด้วยถ้อยคำและข้อความ
กำหนดตัวแปร กำหนดได้ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวแปรตาม และอะไรเป็นตัวแปรต้น
กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยเหมือนโจทย์หรือข้อสอบแบความเรียง (อัตนัย) ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น การกำหนดประเด็นปัญหาต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 4
หลักในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
ตรงประเด็นกับเรื่องที่ต้องการศึกษามากที่สุด
ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ถ้ามีทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดหลายทฤษฎี ควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุด ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆ กัน
สอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่จะเลือกใช้ ควรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ ตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำวิจัย