Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย (ขั้นตอนการกำหนดกรอบ แนวคิดในการวิจัย (1.…
การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
การเขียนกรอบ
แนวคิดการวิจัย
หมายถึง ทฤษฎี แนวความคิดหรือหลักการที่ใช้อ้างอิงหรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำวิจัย
วิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory Research) กรอบแนวคิด หมายถึง แนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้น
วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กรอบแนวคิด หมายถึง แนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับตัวแปรหรือคุณลักษณะต่างๆที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
หลักในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
ตรงประเด็นกับเรื่องที่ต้องการศึกษามากที่สุด
ง่ายและไม่สลับซับซ้อน
สอดคล้องกับความสนใจ
ประโยชน์
1. ขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
กรอบแนวคิดจะชี้ให้เห็นถึงทิศทางของการวิจัย ประเภทของตัวแปรและรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยมีความเกี่ยวข้องโดยตรง กับการออกแบบการวิจัย
3. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
กรอบแนวคิดที่เลือกมาได้จะชี้ให้เห็นถึงแนวทางใน การวิเคราะห์ข้อมูลว่าควรจะวิเคราะห์แบบใด
ขั้นตอนการกำหนดกรอบ
แนวคิดในการวิจัย
1. ทำความเข้าใจชื่อเรื่องการวิจัย
วิเคราะห์คำและข้อความในชื่อเรื่อง ผู้วิจัยควรอ่านหรือประเด็นปัญหาที่ทำวิจัยให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัดเจน
2. กำหนดประเด็นปัญหาหลัก
เป็นการระบุว่าการวิจัยเรื่องนั้นต้องการหรือมีคำถามหลัก ที่ต้องการหาคำตอบในประเด็นอะไร
3. กำหนดตัวแปร
กำหนดได้ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวแปรตาม และอะไรเป็นตัวแปรต้น
4. กำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล
กำหนดข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล (ประชากร) ข้อมูล หมายถึง สัญลักษณ์หรือ ตัวเลขที่บอกลักษณะอาการหรือปริมาณของตัวแปรที่ศึกษา
5. กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ
กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยเหมือนโจทย์หรือข้อสอบแบความเรียง (อัตนัย)ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น การกำหนดประเด็นปัญหาต้องอาศัย ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ดังกล่าวแล้วมาสรุปประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ
วิธีการการเขียน กรอบแนวคิดการวิจัย
1. แบบพรรณนาความ
ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวข้องกับปัญหาของการวิจัย
ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร
มีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน
2. แบบแผนภาพ
เป็นการเสนอกรอบแนวคิด โดยใช้แผนภาพ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
3. แบบจำลอง
เป็นการเสนอกรอบแนวคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือสมการ ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม การเสนอในลักษณะนี้ส่วนหนึ่งจะชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการวิเคราะห์ ข้อมูลว่าเป็นการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือหลายตัว อีกส่วนหนึ่งจะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและทิศทาง ของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
4. แบบผสมผสาน
เป็นการผสมผสานระหว่างแบบพรรณนากับแบบจำลอง การพรรณนากับแผนภาพ และแผนภาพกับแบบจำลอง
นางสาวอินทิรา หัสจักร์ รหัสนักศึกษา 592901080