Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Epidural hematoma ภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก…
Epidural hematoma
ภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ภาวะเลือดออกที่ผิวสมอง
สาเหตุ
อุบัติเหตุที่ศีรษะ ทั้งอุบัติเหตุทางการจราจร ตกจากที่สูง การกระแทกที่ศีรษะ หรือจากการเล่นกีฬา
อาการและอาการแสดง
ภาวะสับสน วิงเวียนศีรษะ ซึมลง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง ชัก
แขนขาอ่อนแรง พูดลำบาก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก รอยฟกช้ำบริเวณเบ้าตา หลังหู (จากล้มแล้วมีเลือดออก) น้ำใสๆไหลออกจากหู และ/หรือจากจมูก (CSF rhinorrhea, น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง, ที่เกิดจากมีรอยฉีกขาดของเยื่อหุ้มสมอง) หมดสติ โคม่า
ผู้ป่วย: ภาวะสับสน ปวดศีรษะ pain score 3/10 คะแนน ขาอ่อนแรง motor power grade 4 มึนศีรษะ
พยาธิสรีรภาพ
จากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะด้านซ้ายส่งผลให้หนังศีรษะ ที่ทำหน้าที่ปกป้องและลดอันตรายแก่กะโหลกศีรษะช้ำบวม และมีการหลุดของผิวหนังและมีการฉีกขาดเป็นบาดแผลขอบไม่เรียบกะโหลกศีรษะด้าน temporal Bone แตกร้าว และ มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มดูรา ส่งผลให้เนื้อสมองช้ำและมีเลือดออกบริเวณชั้น epidural การเกิดหลอดเลือดฉีกขาดจนทำให้เกิดก้อนเลือดมี ทำให้หลอดเลือดที่แตกแขนงไปเลี้ยงกะโหลกศีรษะถูกดึงรั้งจนฉีกขาด การที่เลือดออกจากหลอดเลือดจะทำให้มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยอาศัยแรงดันในหลอดเลือดแดงและก้อนเลือดจะเซาะหลอดเลือดออกจากกะโหลกศีรษะ จึงทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกะโหลกศีรษะเพิ่มเกิดจุดเลือดออกมากขึ้นและเกิดเป็นก้อนเลือดที่รวมตัวจากการมีเลือดออกจากหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ middlemeningeal หลอดเลือดดำ superior sagittal sinus และ diploic ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการเลวลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาต่อมา ซึ่งเลือดออกเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดเป็นก้อนเลือดในชั้น epidural ส่งผลให้ก้อนเนื้อกดดันสมองฝั่งซ้าย เคลื่อนไปทางด้านขวา เกิดภาวะ IICP Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น และ Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
เลือดออกบริเวณเหนือเยื่อหุ้มสมองดูรา ส่วนใหญ่เกิดจากแขนงของหลอดเลือด middle meningeal artery ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เลี้ยงเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด เลือดมักออกบริเวณที่ถูกกระทบโดยตรง (coup injury) และสัมพันธ์กับการแตกของกะโหลกศีรษะ ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงที่เป็น classic manifestation คือ สลบไปชั่วครู่หลัง ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเนื่องจากมี cerebral concussion หลังจากนั้นตื่นมาปกติ ซึ่งช่วงนี้เรียกว่า “lucid interval” แล้วซึมลงอีก ครั้งหลายชั่วโมงถัดมา เนื่องจาก increased ICP อย่างไรก็ตาม lucid interval นี้พบได้เพียง 20% เท่านั้น ผู้ป่วยที่มี EDH ถ้า ได้รับการผ่าตัดโดยรวดเร็วผู้ป่วยมักมีการพยากรณ์โรคที่ดี สามารถกลับมาปกติได้ เนื่องจาก primary brain injury ไม่มาก ซึ่ง ต่างกับเลือดออกในสมองชนิดอื่น ๆ แต่ถ้าได้รับการผ่าตัดช้า อาจเกิดสมองขาดเลือดจาก ICP ที่สูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้ เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้
การรักษา
การรักษาภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ โดยประเมินจาก อาการผิดปกติของผู้ป่วย, ค่าคะแนนจาก “มาตรกลาสโกวโคม่า (Glasgow Coma Scale GCS)” และจากลักษณะความผิดปกติที่พบจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทั้งนี้ โดยทั่ว ไป การรักษาจะเป็นการผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติทางระบบประสาท, มีการกดเบียดเนื้อสมองจากก้อนเลือดที่ออก, และ/หรือ เมื่อมีเลือดออกหนามากกว่า 10 มม.(มิลลิเมตร) โดยเป็นการการผ่าตัดที่นำเลือดออกมา
นอกจากนั้น การรักษาอื่นๆ คือ การให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ยาแก้ปวดศีรษะ ยาลดสมองบวม อาจให้ยากันชัก เพื่อป้องกันการชักด้วย และการทำกายภาพบำบัดกรณีมีความพิการเกิดขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่สมองจากการผ่าตัดเอาก้อนเลือดออก
เสี่ยงต่อการเกิดแผลผ่าตัดติดเชื้อเนื่องจากมีแผลเปิดสู่ภายนอก
4.เสี่ยงพร่องออกซิเจนเนื่องจากการระบายอากาศลดลงจากการมีเสมหะ
5.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักเนื่องจากมีพยาธิสภาพที่สมอง
6.เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะสับสนจากการมีพยาธิสภาพที่สมองและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
7.พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากมีภาวะสับสนและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ความหมาย
ภาวะที่มีเลือดออกระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก คือชั้นที่เรียกว่า ดูรา (Dura) โดยเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมอง หรือหลอดเลือดระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา ส่งผลให้เนื้อสมองมีการถูกกดเบียด