Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นายสมบูรณ์ สิงห์เวียง Dx. Inverted papilloma left nasal cavity stage 3…
นายสมบูรณ์ สิงห์เวียง Dx. Inverted papilloma left nasal cavity stage 3
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 ผิวหนังอาจเกิดการระคายเคืองหลังการได้รับรังสีรักษา
S : - O: แพทย์วินิฉัยว่าเป็น inverted papilloma ได้รับการฉายรังสี
กิจกรรมการพยาบาล
กรุณารักษาเส้น Skin Marker บริเวณที่ฉายรังสีที่แพทย์และเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ เพราะถ้าเส้นลบต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งและความถูกต้องใหม่ ทำให้เสียเวลาในการรักษา และกรุณาอย่าขีดเส้นที่ลบเลือนด้วยตนเอง
ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณลำคอ ผิวหนังอาจมีสีแดง แห้งตึง เกิดอาการคัน ดำคล้ำ และตกสะเก็ด หรือแตกเป็นแผล ห้ามถู แกะ เกา
ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ เนื้อผ้านุ่ม เบาสบาย ระบายอากาศได้ดี ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อลดการเสียดสีผิวหนัง
ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือยาทาผิวหนังบริเวณฉายรังสีให้อยู่ภายใต้การดูแล และคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของไข้
ห้ามวางกระเป๋าน้ำร้อน หรือประคบน้ำแข็งบริเวณที่ฉายรังสี และควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานานๆ หรือการสัมผัสบริเวณที่ฉายรังสีโดยตรงกับความร้อนหรือความเย็น เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ แต่ควรใช้เป็นน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ แป้ง เพราะแป้งฝุ่นอาจมีส่วนผสมของโลหะหนัก ทำให้ระคายเคือง ผิวดำคล้ำมากขึ้น ให้ใช้แป้งข้าวโพดบริสุทธิ์แทน และภายหลังการอาบน้ำควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่อ่อนนุ่มซับเบาๆให้แห้งแทนการเช็ดตัวปกติ
ควรดูแลบริเวณที่ฉายรังสีให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความสามารถในการมองเห็นลดลง
S: ญาติให้ประวัติว่าผู้ป่วยตาซ้ายมองไม่เห็น O: ผู้ป่วยมีเนื้องอกในโพรงจมูกข้างซ้ายทำให้การมองเห็นลดลง
วัตถุประสงค์: ไม่เกิดอุบัติเหตุ
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลเกิดขึ้นที่ใดของร่างกาย
ผู้ป่วยไม่ตกเตียง
กิจกรรมการพยาบาล
ดึงไม้กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ข้างทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยอยู่ลำพัง
จัดแก้วน้ำและเครื่องใช้ต่างๆไว้ใกล้ผู้ป่วย เพื่อสะดวกต่อการหยิบจับ จะได้ไม่ต้องเอื้อมหยิบ ป้องกันการตกเตียง
ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว
ดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยตามความเหมาะสม
5.กระตุ้นให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย