Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์ (การซักประวัติ (อายุ…
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
ไตรมาส 1 มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย Ambivalence มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ไม่แน่ใจว่าตนเองตั้งครรภ์ หรือรู้สึกไม่พร้อมจะมีบุตร ระยะนี้อาจมีการทำแท้งมาก
ไตรมาส 2 หญิงตั้งครรภ์จะเริ่มยอมรับการตั้งครรภ์ Acceptance โดยใส่ชุดคลุมท้องแม้ว่ารูปร่างยังเปลี่ยนแปลงไม่มาก
ไตรมาส 3 สตรีตั้งครรภ์จะเริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้นแต่จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับสิทธิพิเศษจากสังคม ทั้งนี้อาจเกิดความหมกมุ่น Introvertion อารมณ์แปรปรวน Emotional lability ได้
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์
ไตรมาส 1 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยังไม่ปรากฎชัดเจน
ไตรมาส 2 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น หน้าท้องใหญ่ขึ้น ในรายที่พร้องตั้งครรภ์จะมีทัศนคติที่ดีต่อการตั้งครรภ์ ส่วนสตรีที่ยังไม่พร้อม จะกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เปลี่ยนไป
ไตรมาส 3 มีความรู้สึกเกี่ยวกับร่างกายหลายอย่างปนกัน มีความรู้สึกด้านลบกับภาพลักษณ์จากผลของการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง รูปร่าง เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์
ไตรมาส 1 อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง จากความไม่สุขสบายด้านร่างกาย
ไตรมาส 2 จะมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้นและร่างกายตอบสนองทางเพศดีขึ้น เนื่องจากร่างกายสุขภาพดีขึ้น อาการไม่สุขสบายหายไป
ไตรมาส 3 รูปร่างมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นมดลูกขยายใหญ่ขึ้น รู้สึกอึดอัดและอับอายในรูปร่างของตนเอง ทำให้มีความร฿้สึกทางเพศลดลง
การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
พัฒนกิจขั้นที่ 1 สร้างความมั่นใจและการยอมรับการตั้งครรภ์ (Pregnancy validation)
พัฒนกิจขั้นที่ 2 การมีตัวตนของบุตร รับรู้ว่าบุตรเป็นส่วนนึงของตน
พัฒนกิจขั้นที่ 3 การยอมรับว่าทารกเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากตน
พัฒนกิจขั้นที่ 4 การเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา Role transition
หลักการพยาบาลภาวะจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1
เปิดโอกาสในสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้พูดคุยและเปลี่ยนความรู้สึกต่างๆต่อกัน
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเรื่องความรู้สึกไม่มั่นใจ ลังเลใจ
ให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือในการลดความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น
ไตรมาสที่ 2
เตรียมสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวในการปรับต่อปฏิกิริยาตอบสนองการตั้งครรภ์หรือการมีสมาชิกใหม่ของครอบครัว
ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่าสตรีตั้งครรภ์กับทารกในครรภ์
ไตรมาสที่ 3
ประเมินและให้คำแนะนำการเตรียมตัวเพื่อการคลอดและการรับบทบาทบิดามารดา
กระตุ้นให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวพูดคุย แลกเปลี่ยนคววามคิดเห็น
กระตุ้นให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวมีการพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนหารดูแลทารก การดำเนินชีวิต
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์
อาการที่สงสัยว่าตั้งครรภ์ Presumptive sings /Subjective sings สามารถวินิจฉัยได้ร้อยละ 50
ขาดประจำเดือน amenorrhea ขาดเกิน 10 วัน
อาการแพ้ท้อง nauses and vomiting มักปรากฎขึ้นขณะอายุครรภ์ 6 wk.
อาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย fatigue
ปัสสาวะบ่อย urinary fatiquency
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม Breast changes มีรูเปิดของต่อมไข่มัน Montgomery's tubercles
Skin change เช่นมีฝ้าที่ใบหน้า หน้าผาก แก้ม (choasma) ที่หน้าท้องมีเส้นสีดำยาวตั้งแต่หัวเหน่าถึง xyphoid process เรียกว่า linea nigra รอยแตกบริเวณหน้าท้อง ต้นขา (striae gravidarum)
มารดารู้สึกลูกดิ้น quickening เมื่ออายุครรภ์แรกได้ 18-20 wk. ครรภ์หลังจะรู้สึกเมื่อ 16-18 wk.
อาการแสดงที่น่าจะมีการตั้งครรภ์ Probable signs / Objective signs วินิจฉัยได้ 70%
ท้องโตขึ้น enlargement of the abdomen
การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด และความนุ่มของมดลูก Change in the uterus
von Fernwald's sign มดลูกบริเวณยอดมดลูกในบริเวณที่รกเกาะนุ่มลง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 4-5 wk.
Ladin's sign มดลูกนุ่มลงที่แนวกลางด้านหน้าตามแนวรอยต่อปากมดลูกและตัวมดลูก พบเมื่อ 6 wk.
Hegar's sign ส่วน isthmus นุ่มมาก สามารถกดเข้าหากันได้จากการตรวจภายใน ขณะที่มือกดทางหน้าท้อง ตรวจพบ 6-8 wk.
Piskacek's sign การตรวจภายใจพบว่ามดลูกขยายใหญ่ออกไปข้างหนึ่ง คล้ายมดลูกโตไม่สม่ำเสมอ
McDonald'sign การที่มดลูกยืดหยุ่น หักงอได้ตำแหน่ง utrocervical junction
การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก Changes in the cervix ปากมดลูกนุ่มลงไม่ตั้งครรภ์จะแข็งเหมือนปลายจมูก หากตั้งครรภ์จะนุ่มเหมือนริมฝีปาก เมื่ออายุครรภ์ 6-8 wk. เรียกว่า Goodell's sign เยื่อบุช่องคลอดมีสีคล้ำขึ้นเป็นสีม่วงและบวมขึ้นเรียกว่า Chadwick's sign
การหดรัดตัวของมดลูก Braxton Hicks contractions พบได้ 16 wk.ขึ้นไป
Ballotment เมื่อกระตุ้นมดลูกทารกจะโก่งตัวลอยมากระทบมือผู้ตรวจ พบ 16-18 wk.
External ballottment ตรวจพบ 24 wk. วิธีตรวจ วางมือข้างมดลูกด้านหนุ่ง มืออีกข้างหนึ่งกดบนมดลูกเร็วและแรงพอประมาณแรงที่กดบนมดลูกจะผ่านน้ำคร่ำกระทบตัวทารกให้ลอยมากระทบมือผู้ตรวจอีกข้าง
Internal ballottment ตรวจพบ 14 wk. วิธีตรวจใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสอดเข้าไปในช่องคลอด Anterior fornix อีกมือกดที่ยอดมดลูกกระตุ้นมือที่อยู่ในช่องคลอดเบาๆจะมีความรู้สึกทารกกระทบมือทั้ง 2 ข้าง
คลำได้ขอบหรือรูปร่างของทารก Outlining คลำได้ 22 wk.ขึ้นไป
ฟังเสียงฟู่จากหน้าท้อง Uterine souffle
ผลทดสอบทางฮอร์โมนให้ผลบวก positive pregnancy test
อาการแสดงว่ามีการตั้งครรภ์แน่นอน Postitive signs/Diagnosis signs วินิจฉัยได้ 100 %
การตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก Fetal heatbeat/Fetal heart sond ได้ยินเมื่อ 17-19 wk. การเต้นของหัวใจ 120-160 bpm
การตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ fetal movement พบได้ 20 wk.
การซักประวัติ
อายุ ที่เหมาะตั้งครรภ์ในช่วง 20-30 ปี อายุน้อยกว่า 17 ปี Teenage pregnancy อาจมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ อายุมากกว่า 35 อาจมีความผิดปกติ
สภาพสมรส
เจตคติต่อการตั้งครรภ์
การใช้ยาและสิ่งเสพติด
ศาสนา
ระดับการศึกษา
อาชีพ
สุขนิสัยทั่วๆไป เช่น การพักผ่อน อาหาร การขับถ่าย
ประวัติครอบครัว Family history
ประวัติสามี ได้แก่ อายุ อาชีพ
โรคทางพันธุกรรมและโรคติดต่อ
ประวัติการตั้งครรภ์แฝด
ประวัติทางสูติกรรม Obstetric history
ประวัติการแท้งและขูดมดลูก
ประวัติการคลอดครั้งก่อน
วิธการคลอด
การเจ็บป่วยหรือการตายของทารกหลังคลอด
ประวัติการมีลูกยาก Infertility
ประวัติล้วงรก
ประวัติการตกเลือกภายหลังคลอด
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน present history
ประวัติประจำเดือน
ประวัติการคุมกำเนิด
ประวัติอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์
ประวัติการดิ้นของทารก