Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน (2.ระบบเศรษฐกิจ (2.2ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม…
ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
1.หน่วยเศรษฐกิจ
1.1ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ
2)ธุรกิจ
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผสมผสานผลิตเป็นสินค้าหรือบริการแล้วนำไปขายให้แก่ผู้บริโภค หน่วยธุรกิจประกอบด้วยสมาชิก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งหน่วยธุรกิจบางหน่วย ทำหน้าที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย
3)องค์กรรัฐบาล
หน่วยงานของรัฐ หรือส่วนราชการต่าง ๆ ที่จัดตั้งเพื่อดำเนินการของรัฐบาล มีหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ
1)ครัวเรือน
หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป มีการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือปัจจัยทางด้านการเงินเพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ตนหรือกลุ่มตนมากที่สุด
1.2ความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ
ในทางทฤษฎี บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค เเละเจ้าของปัจจัยการผลิต เเต่ในทางปฏิบัติการเเบ่งหน้าที่เเบบนี้เเยกจากกันโดยเด็ดขาดได้ยาก
2.ระบบเศรษฐกิจ
2.2ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น
มีการวางแผนจากส่วนกลาง
รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
2.3ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เอกชนมีเสรีภาพ
มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว กล่าวคือ มีการใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ กิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
2.1ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ
มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน