Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาระยะตั้งครรภ์ (การเปลี่ยนแปลงทาง metabolism…
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาระยะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
Vulva and Vagina ขยายใหญ่จากการกระตุ้นของ estriol เลือดมาเลี้ยงอุ้งเชิงกรานมากขึ้น เยื่อบุช่องคลอดเป็นจากสีชมพูเป็นสีม่วง เรียกว่า Chadwick's sing เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 8 wk.
Cervix จะนุ่มและเปลี่ยนเป็นสีดำจากการมีเลือดมาเลี้ยงมาก เรียกว่า Goodell's sing นอกจากนั้นพบว่าต่อมปากมดลูกจะแบ่งตัวออกมาในปากมดลูกส่วนนอก เห็นเป็นสีแดงคล้ายกำมะหยี่เรียกว่า eversion
Uterus มี นน.เพิ่มจาก 70 g เป็น 1,100 g และมีความจุเพิ่มขึ้นประมาณ 500-1,000 เท่าเมื่อครบกำหนดคลอด จะเพิ่มการไหลเวียนเป็น 500 ml/min ในการตั้งครรภ์
Uterine Contraction ไตรมาสแรกกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดตัวเป็นครั้งคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่เจ็บ เรียกว่า Braxton Hicks contractions เมื่ออายุครรภ์มากการหดรัดตัวของมดลูกมากขึ้น 1-2 wk.สุดท้าย อาจเกิดบ่อยทุก 10-15 นาที เรียกว่า การเจ็บครรภ์เตือน (false labour pain) เมื่อครบกำหนดการหดรัดตัวถี่ขึ้นแรงขึ้นเรียกว่าการเจ็บครรภ์จริง true labour pain
Ovaries and Fallopian tubes ในระยะตั้งครรภ์จะไม่มีการเจริญเติบโตของ fallicle และไม่มีการตกของไข่ ทำให้ไม่มีการตกไข่ Ovulation
เอ็นข้อต่อของกระดูกและอวัยวะในอ้งเชิงกราน เอ็นยึดและข้อต่อต่างๆ จะยืดขยายและนุ่มขึ้นกว่าเดิม
เต้านม Breasts ระยะแยกหญิงตั้งครรภ์จะรู้สึกตึงและเจ็บคล้ายกับมีของแหลมๆเล็ๆมาแทงทำให้รู้สึกแปล๊บปล๊าบ (prickling and sensation) สัปดาห์ที่ 8 ขึ้นไปจะมีตุ่มเล็กๆประมาณ 12-30 ตุ่มเกิดขึ้นบริเวณลานนมจากการขยายของต่อมไขมัน เรียกว่า Montgomery's tubercle ทำให้หัวนมอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น
Cardiovascular system
heart and heart sound หัวใจจะถูกดันไปด้านซ้ายและสูงกว่าปกติ เสียงหัวใจ mur mur จะฟังได้ชัดเจนบริเวณกระดูกซี่โครงที่ 2 และบริเวณยอดหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของการไหลเวียนเลือด พบในหญิงตั้งครรภ์ 90 %
Cardiac output ระดับ resing cardiac output ในระยะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นสูง 30-35% โดยเพิ่มสูงสุดขณะอายุครรภ์ 20-24 wk.
blood pressure จะลดลงเล็กน้อย ความดัน systolic จะลดลงประมาณ 2-3 mmHg และค่า diastolic ลดลงประมาณ 5-10 mmHg ค่าความดันจะสูงสุดในท่านั่ง ปานกลางท่านอนหงาย ต่ำสุดในท่านอนตะแคง หลังจากอายุครรภ์ได้ 20 wk. ถ้า SBP มากกว่า 30 mmHg และ DBP มากว่า 15 mmHg ถือว่าผิดปกติ
Circulatory changes มดลูกมีโลหิตไหลเวียนมากขึ้น 20-40 เท่าของก่อนตั้งครรภ์ ไตมีโลหิตเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในระยะไตรมาส 1,2 แต่จะลดลงในไตรมาส 3
blood volume ปริมาณโลหิตเพิ่มขุ้น 30-40 % / 1,500 ml RBC จะเพิ่มขึ้นช้าๆ ประมาณ 33% ส่วน plasm จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาส 1,2 จะเพิ่มสูงสุดเมื่อ 34 wk.
RBC ค่า Hb ,Hct ลดลงอาเกิดภาวะโลหิตจางได้ WBC มีการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 5,000-12,000 ระหว่างคลอดอาจสูง 25,000 Coagulation factor ความเข้มข้นของ fibrinogen เพิ่มประมาณ 50% ระยะเวลาในการแข็งตัวอยู่ในช่วง 8-12 นาที
Respiratory system ร่างกายต้องการ O2 มากขึ้นร้อยละ 15 หรือ 30 ml/min
Endocrine system
placenta ทำหน้าทีผลิตฮอร์โมน
Human chorinic gonadotropin : HCG สร้างโดย cytotrophoblast ของ chorionic villi ในวันที่ 8-10 หลังการปฏิสนธิ มีอยู่ประมาณ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ สามารถตรวจพบระดับฮอร์โมนนี้สูงสุด 50,000 - 100,000 miu/ml แล้วจึงลดค่าลงเมื่ออายุครรภ์ 20 wk.
estrogen สร้างตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6-12 wk.จะลดลงหลังคลอดทารก ทำให้ pituitary ส่วนหน้าผลิต prolactin เป็นการเริ่มสร้างน้ำนม นอกจากนี้ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อมดลูก เพิ่มการคั่งของน้ำและโซเดียม ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้าเนื้ออ่อนตัว มีผลให้หลังอ่อน ปวดหลัง ถ่วงบริเวณกระดูกหัวเหน่า ,มีการสะสม melanin pigment ทำให้สีผิวเข้มขึ้น ผลด้านอารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวนมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น
progesterone ผลิตจาก corpus luteam มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังเพื่อรองรับการฝังตัวของทารก , ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว,กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม,ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
Human placenta lactogen : HPL เริ่มสร้างตั้งแต่ wk. ที่ 5 และสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 34 wk. มีหน้าที่ ยังยั้งการทำงานของอินซูลิน ,กระตุ้นการเจริญเติบโตของทารก,ลดการเผาผลาญโปรตีนในนมมารดา,ลดการสร้างและหลั่งน้ำนม
pituitary gland
growth hormone มีผลต่อ metabolism ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
prolactin hormone ทำหน้าที่สร้างน้ำนมให้กับเซลล์น้ำนม แต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อการสร้างน้ำนมได้ เพราะถูกยับยั้งจากโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน
Oxytocin มีผลให้มดลูกหดรัดตัว ฮอร์โมนจะสูงสุดขณะเบ่งคลอด
Ovary ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
pancreas ช่วยในการสร้างอินซูลิน
Thyroid gland :thyroxin มีผลต่อการเผาผลาญ ทำให้ชีพจรเร็ว หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก
parathyroid gland ทำงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระยะครึ่งหลังการตั้งครรภ์จะพบระดับฮอร์โมนนี้สูงมากขึ้น
Adrenal gland ผลิต corticosteroid ได้แก่ cortisone ช่วยใน
การสังเคราะห์น้ำตาล ส่วน aldosterone ป้องกันการสูญเสีย Na จากอิทธิพลของโปรเจสเตอโรน
การเปลี่ยนแปลงทาง metabolism
carbohydrate metabolism เกี่ยวข้องกับกลูโคส
Protein metabolism จะถูกสังเคราะห์เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของเนื้อเยื่อต่างๆที่เจริญระหว่างการตั้งครรภ์
Fat metabolism ไขมันในเลือดจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
Mineral metabolism ระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากถึง 800 mg/day โดยเฉพาะไตรมาส 3 ระหว่างตั้งครรภ์แคลเซียมจะลดลงเล็กน้อย
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ประมาณ 10-12 kg. โดยไตรมาสแรกเพิ่ม 1 kg. ไตรมาส 2,3 เพิ่มไตรมาสละ 5 kg.
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยปกติน้ำจะเริ่มคั่งเมื่อตั้งครรภ์ได้ 30 wk.
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต มีโลหิตไหลผ่านมากขึ้นประมาณ 25-30% ในไตรมาส 2 และจะลดลงไตรมาสที่ 3 อาจพบโปรตีนในปัสสาวะได้ แต่ไม่เกิน +1 ไม่มีอาการบวม
กรวยไตและท่อไต กรวตไตข้างขวาจะขยายออก จากการเบียดของมดลูก ท่อไตจะถูกกดและบีบตัวน้อยลงทำให้เกิดภาวะปัสสาวะคั่งในกรอยไตและท่อไต
กระเพาะปัสสาวะ มีความจุมากขึ้น 1,500 cc กล้ามเนื้อเรียบของปัสสาวะลดความตึงตัวลง ทำให้ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นจึงเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้
ระบบทางเดินอาหาร โปรเจสเตอโรน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ คลื่นไส้ อาเจียน เกิดอาการไม่สุขสบาย
ปากและช่องปาก อาจมีเลือดออกง่าย มีเลือดมาคั่งมาก ทำให้เกิดอาการเหงือกบวม gingivitis ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาก
หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว แสบร้อนในอกและลำคอ อิทธิพลของโปรเจสเตอโรนทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกได้ง่าย และริดสีดวงทวารหนักจะพบได้ง่าย เนื่องจากมีความดันเลือดสูง
ตับ การทำงานของตับในระยะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นโดยพบว่าระดับ cholesterol,lipoprotien,triglyceride สูงขึ้น
ถุงน้ำดี โป่งพองข้อง ความตึงตัวลดลงจากอิทธิพลของโปรเจสเตอโรน ทำให้น้ำดีไหลช้า
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะเดินหลังแอ่นมากขึ้นหากอายุครรภ์เพิ่มขึ้น ปวดหลังช่วงล่างและก้นกบ ในไตรมาส 3
ระบบผิวหนัง
Striae gravidarum เป็นเส้นกดลงไปในผิวหนัง สีค่อนข้างแดง พบที่ เต้านม ก้นและขา เป็นผลจากฮอร์โมนต่อมหมวกไตที่เพิ่มขึ้น
Diastasis Recti กล้ามเนื้อ rectus หน้าท้องแยกออกในแนวกลางลำตัว
Pigmertation มีการสะสมของ pigment สีน้ำตาลตามผิวหนัง ถ้าที่หน้าท้องกลางลำตัวเรียกว่า linea nigra บริเวณใบหน้าเรียกว่า chloasma,melisma gravidarum,mask of pregnancy
การเปลี่ยนแปลงของเส้นโลหิตที่ผิวหนังอาจพบ angiomas หรือ vascular spiders