Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจในโลกประจุบัน (2.ระบบเศรษฐกิจ (2.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม…
ระบบเศรษฐกิจในโลกประจุบัน
1.หน่วยเศรษฐกิจ
1.1 ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ
1.ครัวเรือน เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่อาจเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่เป็นเงิน แรงงานและทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ธุรกิจ เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตต่างๆแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
3.องค์กรรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่และความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆในระบบเศรฐกิจ
1.2 ความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ
ในทางทฤษฎี บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู็บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ในทางปฏิบัติการแบ่งหน้าที่แบบนี้จะแยกจากกันโดยเด็ดขาดยาก เพราะบุคคลคนเดียวอาจทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิตและบริโภคร่วมกันไปด้วย
2.ระบบเศรษฐกิจ
2.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อดังนี้
1.ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีลักษณะต่างๆดังนี้
1.2การดำเนินการผลิตเป็นไปในรูปแบบเอกชน เอกชนมีการตัดสินใจทำการผลิต การจำหน่าย และกรดำเนินงานทุกอย่างโดยตนเอง
1.3การดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ ดำเนินไปโดยผ่านกลไกราคา
1.1กรรมสิทธิ์ เอกชนมีสิทธิเป้นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ
1.4การแข่งขัน เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะป้องกันการแสวงหากำไรเกินควร
2.ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีลักษณะดังนี้
2.2ผู้ผลิตแต่ละรายต้องการที่จะแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด จึงต้องมีการปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอ
2.3บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีอิสรเสรีในการใช้ทรัพยากร หรือประกอบกิจการที่ต้องการ
2.1เกิดแรงจูงใจในการผลิตและการทำงาน
2.4ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ที่เป็นธรรมมากขึ้น
3.ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
3.2ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอาจไม่เหมาะสมที่จะใช่ในทุกสถานการณ์
3.3หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อย โอกาสที่ผู้ผลิตจะรวมตัวกันผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย
3.1ทำให้กระจายรายได้ของประชสชนไม่เท่าเทียมกัน
2.2ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม(socialism) แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อดังนี้
1.ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีลักษณะเด่นดังนี้
1.1รัฐจะเข้าควบคุมและโอนกิจการธนาคารทั้งหมดมาเป็นของรัฐ
1.2รัฐจะเข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมหนักต่างๆ ไว้ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นต้น
1.3รัฐจะเข้าควบคุมกิจการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา รถไฟ โทรศัพท์ โทรคมนาคม ไว้ทั้งหมด
1.4รัฐจะเข้าไปจัดสวัสดิการให้กับประชาชน เช่น การช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล การเลี้ยงดูคนชรา การประกันการว่างงาน การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ การจัดหาอาชีพให้ประชาชน เป็นต้น
1.5รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย
2.ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
2.2รัฐบาลเข้าไปควบคุมกิจการบางอย่างทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ที่ดี
2.3การที่รัฐเข้าไปดำเนินกิจกรรมขนาดใหญ่ทำให้เป็นการขจัดการแข่งขันทางด้านการโฆษณาที่ไม่เกิดประโยชน์
2.1ประชาชนได้รับการดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการจากรัฐค่อนข้างดี
3.ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
3.2ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ความสามารถหรือต้องการทำ
3.3ขาดแรงจูงใจที่จะกระตุ้นให้ทำการผลิตหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพราะเอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
3.1การวางแผนจากส่วนกลางและการดำเนินกิจการขนาดใหญ่โดยรัฐ
2.3ระบบเศรษฐกิจแบบผสม(mixed economy) แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อดังนี้
1.ลักษณะของเศรษฐกิจแบบผสม มีลักษณะดังนี้
1.2เอกชนและรัฐบาลสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
1.3กลไกราคาเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ แต่รัฐมีอำนาจเข้าไปแทรกแซง
1.1เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมในการใช้กลไกราคาและการวางแผนในการตัดสินใจ
1.4รัฐเข้าไปควบคุม ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ท่าเรือ สนามบิน ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
2.ข้อดีของระบบเศรษฐแบบผสม
2.2รายได้นำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังความสามารถที่กระทำได้ ไม่ใช่ตามความจำเป็น
2.3เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันผลิตสินค้า
2.1มีความคล่องตัวในการดำเนินการ เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของสภาพเศรษฐกิจได้
2.4เอกชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการพื้นฐานอื่นๆ
3.ข้อเสียของระบบเศรษฐแบบผสม
3.3การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐกับเอกชนให้เกิดผลดีต่อส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยาก
3.4การบริหารงานของรัฐในกิจการอุตสาหกรรมบางประเภท หรือการบริการจำนวนมากยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการบริหารของเอกชน
3.2ระบบเศรษฐกิจแบบผสม รัฐได้เข้ามาวางแผนเพียงบางส่วนเท่านั้นจึงอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
3.1กำลังใจหรือแรงจูงใจสำหรับเอกชนอาจมีไม่เพียงพอ