Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจ (2.ระบบเศรษฐกิจ (2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิมย…
หน่วยเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจ
1.หน่วยเศรษฐกิจ
1.1 ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ
ธุรกิจ
ทำฟน้าที่เอาปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการมาจำหน่ายแกผู้บริโภค
องค์กรรัฐบาล
เป็นทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นผู้ผลติและผู้บริโภคในคราวเดียวกัน ทำหนาที่ควบคุมดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ
ครัวเรือน
ทำหน้าที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้บริโภค
1.2 ความสัมพันธุ์ของหน่วยเศรษฐกิจ
ภาคครัวเรือน
เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและนำปัจจัยการผลิต ( ที่ดิน ทุน แรงงานและผู้ประกอบการ) จำหน่ายรายได้จากการขายปัจจัยการผลิต และมีรายได้จากการซ์้อสินค้าและบริการ
ภาคธุรกิจ
ผลิตสินค้าและบริการ ตอบแทนครัวเรือนในรูปแบบของสินค้าและบริการโดยตรง มีรายได้จากการขายสินค้า บริการ และปัจจัยการผลิตให้หน่วยครัวเรือน
2.ระบบเศรษฐกิจ
2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิมยม
1) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้ควบคุมดำเนินการผลิต การประกอบการ โดยเน้นด้านสวัสดิการของประชาชนในประเทศเป็นสำคัญ
1) รัฐจะเข้าควบคุมและโอนกิจการธนาคารทั้งหมดมาเป็นของรัฐ
2) รัฐจะเข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมต่างๆไว้
3) รัฐจะเข้าไปควบคุมกิจสาธารณูปโภค
4) รัฐจะเข้าไปจัดสวัสดิการให้กับประชาชน
5) รัฐเปิดโอกาศให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย
2) ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1) ประชาชนได้รับการดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการจากรัฐค่อนข้างดี
2) รัฐบาลเข้าไปควบคุมกิจการบางอย่าง ทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ที่ดี
3) การที่รัฐเข้าไปดำเนินกิจกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เป็นการขจัดการแข่งขันทางด้านโฆษณาที่ไม่เกิดผลประโยชน์ และยังล้มเลิกการผูกขาดของเอกชนในธุรกิจบางชนิด
3) ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1) การวางแผนจากส่วนกลางและการดำเนินงานของรัฐ หากผู้วางแผนและนโยบายไม่ดี ก็อาจทำให้การตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรไม่เป็นไปตามหลักที่จะก่อประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ไม่มีโอกาสเลือกบริโภคสินค้ามากนัก
2) ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุระกิจที่ตนเองมีความรู้ความสามารถหรือต้องการทำ อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ขาดกำลังใจที่จะปรับปรุงกิจการใหม่ให้มีประสิทธิ์ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
3) ขาดแรงจูงใจที่จะกระตุ้นให้ทำการลิตหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
2.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ได้นำเอาลักษณะบางอย่างที่เหมาะสมของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาผสมผสานให้เป็นระบบใหม่
1) เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมในการใช้กลไลราคาและการวางแผนในการตัดสินใจ ว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรจะกระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่ใครเพื่อให้เกอดลประโยชน์และมีความเป็นธรรมมากที่สุด
2) เอกชนและรัฐบาลสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่รัฐจะปล่อยให้เอกชนดำเนินการผลิต แต่อาจจะมีการจำกัดสิทธิ์เสรีภาพการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐเห็นว่าเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ
3) กำไรราคาเป็นสิ่งที่กำหนดสินค้าและบริการ
4) รัฐจะเข้าไปควบคุม ส่วเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1) มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
2) รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ที่ทำงานตามกำลังและความสามารถที่กระทำได้ ไม่ใช่ตามความจำเป็น
3) เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมีการแข่งขันผลิตสินค้า
4) เอกชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1) ไม่มีแรงจูงใจสำหรับเอกชน
2) รัฐเข้ามาวางแผนได้บางส่วน ทำให้เวลาที่จะเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ อาจไม่มีประสิทธิภาพ
3) การวางแผนเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐและเอกชน ทำได้ยาก
4) การบริหารงานบริการของรัฐบางประเภทมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเอกชน
2.1 ระบบเสรษฐกิจแบบทุนนิยม
1) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทูนนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรผลิตอย่างไรและผลิตเพื่อใคร เอกชนมีสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตโดย รัฐบาลไม่มีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ อยู่ในรูปของการบริการให้ความสะดวกแกผู้ผลิตนั้น
1.1) กรรมสิทธิ์
เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆตามกฎหมาย
1.2) การดำเนินการผลิตเป็นไปในรูปแบบเอกชน
เอกชนจะมีเสรีภาพในการตัดสินใจทำการผลิต การจำหน่าย และการดำเนินงานทุกอย่างโดยตนเอง รัฐบาลจะข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องการทหาร ตำรวจและตุลาการ เพื่อป้องกันประเทศ การรักษาความยุติธรรมและการดำเนินงานบางอย่างที่เอกชนไม่อาจกระทำได้เท่านั้น
1.3) การดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ
ดำเนินไปโดยผ่านกลไกราคา โดยถ้าผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการชนิดใดเขาก็เต็มใจจ่ายเงิน ซื้อสินค้าและบริการเป็นจำนวนมาก ผู้ผลิตเห็นโอกาศที่จะได้กำไรก็จะผลิตสินค้ามากขึ้น
1.4) การแข่งขัน
เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะป้องกันการแสวงหากำไรเกินควร เนื่องจากทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าออกระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นถ้าเมื่อใดมีผู้มีรายใดหรือกลุ่มใด ผลิตสินค้าได้กำไรสูง ก็จะทำให้มีผู้อยากผลิตสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้สินค้ามีปริมาณที่มากขึ้นราคาและกำไรจะลดลง แต่ถ้าในระบบเศรษฐกิจมีผู้ผลิตน้อยราย โอกาศที่ผู้ผลิตจะรวมกันเพื่อการผูกขาดก็จะมีมากขึ้น
2) ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1) เกิดแรงจูงใจในการผลิตและการทำงาน
2) เนื้องจากผู้ผลิตต้องแข่งขันการขายสินค้า จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอ
3) บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีอิสระเสรีในการใช้ทรัพยากร
4) ผู้บริโภคมีโอกาศบริโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ
3) ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
1) ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน
2) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้ในทุกสถานการณ์ในบางครั้งรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมราคา หรือ แบ่งปันสิ่งของบางอย่างเมื่อเกิดการขาดแคลน
3) หากผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย โอกาศที่จะผูกขาดการผลิตจะเป็นไปได้ง่าย เพราะรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทนกแซงทางเศรษฐกิจจึงส่งผลเสียให้กับผู้บริโภคต้องบริโภคสินค้าราคาสูง ขณะเดียวกะนก็จะถูกกดค่าจ้างแรงงาน