Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน (2.ระบบเศรษฐกิจ (ข้อดีเเละข้อเสียของระบบเศรษฐกิจ…
ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
1.หน่วยเศรษฐกิจ
1.1.ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ
1)ครัวเรือน อาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกัน
2)ธุรกิจ เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตต่างๆไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
3)องค์กรรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการต่างๆ
1.2.ความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ
ธุรกิจ (ต้นทุน) > ตลาดปัจจัยการผลิด (รายได้) > ครัวเรือน (ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ) > ตลาดสินค้าและบริการ (รายรับ) > ธุรกิจ
ธุรกิจ (สินค้าและบริการ) > ตลาดสินค้าและบริการ (สินค้าและบริการ) > ครัวเรือน (ปัจจัยการผลิต) > ตลาดปัจจัยการผลิด (ปัจจัยการผลิต) > ธุรกิจ
2.ระบบเศรษฐกิจ
2.1.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism)
1)ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่เอกชนมีกรรมสิทธฺ์ในทรัพย์สินเเละมีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร
1.1)กรรมสิทธิ์ เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของตามกฏหมาย
1.2)การดำเนินการผลิตเป็นไปในรูปแบบเอกชน เอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจทำการผลิต การจำหน่าย และดำเนินงานทุกอย่างเอง
1.3)การดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ ดำเนินผ่านกลไกราคา โดยผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการชนิดใดอย่างเต็มใจจ่ายเงินผู้ผลิตจะผลิตสินค้ามากขึ้นหากผู้บริโภคมีความต้องการจำนวนมาก
1.4)การแข่งขันเป็นปัจจัยหลักในการป้องกันการเเสวงหากำไรเกินควร
ข้อดีเเละข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ข้อดี
1.เกิดเเรงจูงใจในการผลิตเเละทำงาน
2.เนื่องจากผู้ผลิตเเต่ละรายต้องเเข่งขันกันขายกินค้าจึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอ
3.บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีอืสระเสรีในการใช้ทรัพยากร
4.ผู้บริโภคมีฮอกาสบริโภคสินค้าเเละบริการต่างๆที่เป็นธรรม
ข้อเสีย
1.ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่ากัน
2.ระบบเศรษฐกิจเเบบทุนนิยมไม่เหมาะสมที่จะใช้ในทุกสถานการณ์
3.หากมีผู้ผลิตสินค้าน้อยรายโอกาสที่ผู้ผลิตจะรวมตัวกันผูกขาดการผลิตสินค้าเเละบริการเป็นไปได้ง่าย
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1)ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.รัฐจะเข้าควบคุมและโอนกิจการธนาคารทั้งหมดเป็นของรัฐ
2.รัฐจะเข้าไปควบคุมอุตสาหกรรม
3.รัฐจะเข้าไปควบคุมกิจการสาธารณูปโภค
4.รัฐจะเข้าไปจัดการสวัสดิการให้กับประชาชน
5.รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย
ข้อดีเเละข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ข้อดี
1.ประชาชนได้รับการดูแลสวัสดิการค่อนข้างดี
2.รัฐทำให้การจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ที่ดี
3.รัฐทำให้การขจัดการแข่งขันทางด้านโฆษณาที่ไม่เกิดประโยชน์และ ยังยกเลิกการผูกขาดโดยเอกชนในธุรกิจบางชนิด
ข้อเสีย
1.การวางเเผนดำเนินกิจการขนาดใหญ่โดยรัฐหากผู้วางแผนเเละนโยบายไม่ดีอาจทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่เป็นไปตามหลักที่จะก่อเกิดประโยชน์สูงสุด
2.ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจของตน
3.ขาดเเรงจูงใจในการผลิตหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1)ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมใฝนการใช้กลไกราคาและวางแผนในการตัดสินใจ
2.เอกชนเเละรัฐบาลสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสินค้าเเละบริการ
3.กลไกราคาเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดราคาสินค้าเเละบริการ
4.รัฐจะเข้าไปควบคุม ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้วยการสร้าโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ข้อดีเเละข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ข้อดี
1.มีความคล่องตัวในการดำเนินการเพราะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของสภาพเศรษฐกิจได้
2.รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงาน
3.เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันผลิตสินค้า
4.เอกชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ
ข้อเสีย
1.กำลังใจหรือเเรงจูงใจสำหรับเอกชนมีไม่มากพอ
2.ระบบเศรษฐกิจแบบผสมรัฐได้เข้ามาวางแผนเป็นบางส่วนจึงอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
3.การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐกับเอกชนให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยาก
4.การบริหารงานของรัฐในกิจการอุตสาหกรรมบางประเภทหรือการบริการยังขาดประสิทธิภาพ
หมายถึง กระบวนการเศรษฐกิจที่เกิดจากความร่วมมือกันของมนุษย์ ในการสร้างเเละใช้ทรัพยากร
3.ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
3.1.ความสำคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจ
1.ช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าและบริการได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
2.ช่วยให้ผู้บริโภคมีมารตรฐานครองชีพสูงขึ้น เพราะสามารถบริโภคสินค้าที่ผลิตเองไม่ได้
3.ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศชยายตัวสูงขึ้น
3.2.ขนาดของตลาด
1.การคมนาคมและการสื่อการถ้าระบบการติดต่อสื่อสารมีการพัฒนาขยายตัว ตลาดก็จะมีอาณาเขตกว้างขวางขึ้น
2.ลักษณะของสินค้า สินค้าเภทใดเน่าเสียง่าย มีน้ำหนักมาก มีการเคลื่อย้ายสินค้าทำได้ยากตลาดจะมีอาณาเขตเเคบ เเต่สินค้ามี่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็กตลาดจะมีอาณาเขตกว้าง
3.นโยบายของรัฐ ประเทศใดที่มีการเปิดประเทศมาก จะช่วยให้ตลาดสินค้าของประเทศเหล่านี้กว้างขวาง
คนกลางในตลาด
1.พ่อค้าคนกลางในตลาดท้องถิ่น เป็นพ่อค้าคนกลางที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดท้องถิ่น
2.พ่อค้าคนกลางในตลาดปลายทาง เป็นพ่อค้ารับซื้อสินค้าในตลาดปลายทาง
3.พ่อค้าปลีก เป็นผู้ที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย
3.4.ประเภทของตลาด
1)การเเบ่งตลาดตามฃนิดของสินค้า
(1)ตลาดสินค้าอุปโภค เช่น อาหาร เสื้อผ้า
(2)ตลาดปัจจัยการผลิต เช่น เครื่องสูบน้ำ รถบรรทุก
(3)ตลาดเงินเเละตลาดทุน เช่น การกู้ยืมเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์
2)การแบ่งตลาดตามการดำเนินการของผู้ขาย
(1)ตลาดขายส่ง เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าครั้งละมากๆโดยจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง
(2)ตลาดขายปลีก เป็นตลาดที่มีการขาบสินค้าให้เเก่ผู้บริโภคโดยตรง
3)การแบ่งตลาดตามกลุ่มของผู้ซื้อ
(1)ตลาดผู้บริโภค เป็นกลุ่มของผู้บริโภคที่เป็นบุคคลหรือครัวเรือน
(2)ตลาดผู้ผลิต เป็นการซื้อสินค้าของผู้ผลิตเพื่อนำไปแปรรูปหรือใช้ในการผลิตสินค้า
(3)ตลาดผู้ขายต่อ เป็นการซื้อสินค้าของผู้ประสงค์จะนำสินค้าไปขายต่อโดยหวังกำไร
(4)ตลาดรัฐบาล เป็นการซื้อสินค้าของหนน่วยราชการเพื่อนำไปใช้ในองค์การ
(5)ตลาดระหว่างประเทศ เป็นการซื้อสินค้าระหว่างประเทศ
4)การแบ่งตลาดตามลักษณะของการเเข่งขัน
(1)ตลาดที่มีการเเข่งขันอย่างสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้
1.มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก
2.สินค้าที่ซื้อหรือขายจะต้องมีลักษณะเดียวกัน
3.ผู้ซื้อเเละผู้ขายจะต้องมีความรู้สภาวะตลาด
4.การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำโดยสะดวก
5.หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าโดยเสรี
(2)ตลาดที่มีการเเข่งขันไม่สมบูรณ์ฺ
1.ตลาดผูกขาด เป็นตลาดที่มีผู้ข่ยเพียงรายเดียง
2.ตลาดกึ่งเเข่งขันกึ่งผูกขาด
3.ตลาดผู้ชายน้อยราย เป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย
หมายถึง สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีการติดต่อกันได้โดยสะดวกจนสามารถทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ตลาดนัยเเรก หมายถึง สถานที่ที่ผู้ซื้อผู้ขายมาติดต่อซื้อขายกันตลาดนัยที่สอง หมานถึง การติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
4.การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ
4.1.การกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน
2)หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาตามอุปสงค์อุปทาน อุปสงค์และอุปทานมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้า โดยเมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ผู้ซื้อสินค้าเเละบริการจะเพิ่มขึ้น
1)ความหมายของอุปสงค์และอุปทาน
1.1)อุปสงค์ (demand) หมายถึง ความต้องการของผู้บริโภค
(1)กฎของอุปสงค์ ประชาชนมีตวามต้องการสินค้าเเละบริการต่างกันเเต่ละคนจึงมีอุปสงค์ที่ต่างกัน
1.2)อุปทาน (supply) หมายถึง ปริมาณสินค้า
(1)กฎของอุปทาน ผู้ผลิตมีความต้องการผลิตสินค้าเเละบริการต่างกัน การผลิตสินค้าเเละบริการของผู้ผลิตในระยะเวลาหนึ่งจะขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเเละบริการนั้นๆ
3)การเปลี่ยนแปลงของราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
1.1)อุปทานอยู่คงที่และอุปสงค์เปลี่ยนไป ซึ่งอุปสงค์เปลี่ยน
แปลงได้ 2อย่างคือ เพิ่มขึ้น และ ลดลง
1.2อุปสงค์อยู่คงที่และอุปทานเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอุปทานเปลี่ยนแปลงได้ 2 อย่างคือ เพิ่มขึ้น และ ลดลง
1.3อุปสงค์และอุปทานอาจเปลี่ยนไปพร้อมๆกันได้อิสระ
4)ข้อดีและข้อเสียของการกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน
ข้อดี)
1)เป็นเครื่องมือในการจัดสรรให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น
2)ทำให้ผู้ประกอบการมีการจัดสรรปัจจัยการผลิด
ข้อเสีย)
1)ผุ้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้จะเสียเปรียบเพราะจะทำให้กำไรลดลงจนถึงขาดทุน
2)ความผันของราคาทำให้ประชาชนเดือนร้อน
4.2.การกำหนดราคาในเชิงกลยุทธ์ที่มีในสังคมไทย
1)ปัจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าในทางปฏิบัติ
(1)สภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
ประชาชนมีงานทำเเละมีรายได้มาก เงินหมุนเวียนในระบบสูง
สินค้าราคาสูงขึ้น เพราะกำลังการซื้อมีมาก
(2)สภาวะแข่งขันในตลาด ต้องกำหนดราคาใกล้เคียงกับ
ธุระกิจอื่น เพราะถ้ากำหนดสูงกว่าจะมีโอกาสขายได้น้อย
(3)ต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย สินค้าส่วนใหญ่ มักกำหนดราคาสินค้าโดยบวกเพิ่มต้นทุกการผลิตและการจำหน่าย
(4)กลุ่มเป้าหมายและลักษณะของสินค้า การผลิตจะคำนึงถึงผู้ซื้อ
หากผู้ซื้อมีรายได้สูงก็จะเน้นไปในเรื่องรูปแบบและคุณภาพที่ดี กำหนดราคาที่สูงเพราะ ผู้บริโภคสามาราซื้อสินค้าได้
2)หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาสินค้าของธุรกิจ
(1)การกำหนดราคาโดยบวกเพิ่มเข้าไปกับต้นทุนที่ประมาณได้
(2)การกำหนดราคาสินค้าที่ขายให้เเตกต่างกันตามปริมาณสินค้าที่ซื้อ
(3)การกำหนดราคาขายให้เเตกต่างกันตามลักษณะของผู้ซื้อ
(4)การกำหนดราคาสินค้าตามช่วงเวลาที่ต่างกัน
3)ข้อดี-ข้อเสียของการกำหนดราคาเชิงกลยุทธ์ในสังคมไทย
ข้อดี
1)กระตุ้นยอดขายสินค้าเเละบริกาเพิ่มมากขึ้น
2)ได้รับจากผู้บริโภคในวงกว้าง
3)มีสินค้าเเละบริการให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ
ได้หลากหลายได้รับความพึงพอใจสูงสุด
ข้อเสีย
1)ผลประกอบการของผู้ประกอบการลดลง
เนื่องจากไม่ได้เป็นการสะท้อนต้นทุนการ
ผลิดที่เเท้จริง
2)ในระยะยาวอาจมีการลดคุณภาพของสินค้า
เเละบริการลงเนื่องจากมีปัญหาต้นทุน
3)มีการบริโภคสินค้าและบริการมากขึ้นจน
เกิดการสิ้นเปลืองอย่างไม่จำเป็น
4.3.บทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบราคาเพื่อการแจกจ่ายและจัดสรรในทางเศรษฐกิจ
1)บทบาทในการให้การส่งเสริมของรัฐ ได้แก่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน ไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อเป็นการจูงใจให้ธุรกิจเข้ามามากขึ้น
2)บทบาททางด้านการจัดการและการควบคุม
การแทรกเเซงมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น
(1)การประกันราคาและการพยุงราคา
(2)การรับจำนำสินค้าเกษตร
(3) การให้การอุดหนุด้านปัจจัยการผลิต
(4)การควบคุมราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินไป
5.การกำหนดค่าจ้าง อัตราค่าจ้างแรงงานในสังคมไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1)การกำหนดอัตราหรือค่าจ้างนั้น เเตกต่างกันไปตามความสามารถของเเต่ละบุคคล เนื่องจากเเต่ละคนมีความชำนาญที่เเตกต่างกัน เเต่เนื่องจากไม่ให้มีการเหลื่อมล้ำกันเกินไปจึงมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเกิดขึ้น
2)พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวดที่6 มาตรา 79 กำหนดให้มีกรรมการค่าจ้าง เพื่อการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ