Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกายและการตรวจครรภ์ (การตรวจร่างกายทั่วไป (สังเกตอาการบวม…
การตรวจร่างกายและการตรวจครรภ์
การตรวจร่างกายทั่วไป
การวัดส่วนสูง สตรีที่มีความสูงต่ำกว่า 135-140 cm. ให้คำนึงถึงสภาพภายในของเชิงกรานที่อาจเล็กกว่าปกติ
การชั่งน้ำหนัก
การวัดความดันโลหิตสูง ไม่ควรสูงเกิน 140/90 mm.Hg สตรีตั้งครรภ์โดยเฉพาะในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ที่นอนหงาย มดลูกที่มีขนาดใหญ่จะกดทับลงบนเส้นเลือด Inferior vena cava ทำให้เลือดไหลกลับและผ่านหัวใจน้อยลง จึงเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เป็นลม เรียกว่า Supine hypotensive syndrome
การตรวจในช่องปาก
การตรวจหัวใจและปอด
การตรวจเยื่อบุต่างๆ เช่น เปลือกตาด้านใน เหงือก เพื่อดูภาวะซีด
การตรวจลำคอ เพื่อตรวจดูต่อมไทรอยด์
สังเกตอาการบวม โดยเฉพาะใบหน้า มือ ขา
dependent edema บวมของอวัยวะที่อยู่ต่ำที่สุด คือ ฝ่าเท้า ข้อเท้า และอาจรมไปถึงฝ่ามือด้วย
pitting edema คืออาการบวมแบบกดบุ๋ม
1+ กดบุ๋มลึก 2 mm. อาการบุ๋มจะหายไปอย่างรวดเร็ว
2+ กดบุ๋ม 4 mm. จะหายไปภายใน 10-15 วินาที
3+ กดบุ๋มลึก 6 mm. จะหายไปมากกว่า 1 นาที
4+ กดบุ๋มลึก 8 mm. จะหายไปใน 2-3 นาที
pathologic edema คือ อาการบามที่พบได้บริเวณหน้า มือ ท้อง
1+ บวมเล็กน้อยบรอเวณขาส่วนล่าง
2+ บวมมากที่บริเวณขาส่วนล่าง
3+ บวมที่บริเวณขาส่วนล่าง หน้า มือ และบริเวณก้นกบ
4+ บวมทั่งกาย รวมถึงอาการบวมในช่องท้อง
สังเกตเส้นเลือดขอด Varicose vein อาจจะเกิดที่ขา หรือสตรีตั้งครรภ์บางคนอาจเกิดที่อวัยวะสืบพันธุ์ด้วย จากระดับฌปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น
การตรวจเต้านม หัวนม
วิธีตรวจเต้านม
ให้สตรีตั้งครรภ์นอนหงาย ใช้หมอนหนุนศีรษะและไหล่ ผู้ตรวจยืนหันหน้าไปทางศีรษะของสตรีตั้งครรภ์
ตรวจดูลักษณะทั่วไปของเต้านมเพื่อหาความผิดปกติ ใช้เพียง 3 นิ้วมือ คือนิ้วชี้ กลาง นาง วางราบลงบนเต้านมและค่อยๆคลำไปให้ทั่วบริเวณเต้านม
การคลำ อาจคลำวนรอบๆเต้านม คลำเป็นวงกลมวนจากรอบนอกเข้ามาภายใน
วิธีตรวจหัวนม
ดูขนาดหัวนม ถ้าเล็กเกินไปอาจทำให้ทารกดูดไม่ติด หรือถ้าโตเกินไปจนคับปากทารกจะดูดไม่ได้
ดูว่าหัวนมแตกหรือแยกหรือไม่
ดูว่านมแบนหรือบุ๋มหรือไม่ วิธีการตรวจที่นิยมคือ waller's test วางมือข้างที่ถนัดบนเต้านม นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางแนบกับเต้านมและชิดหัวนม กดนิ้วมือลงเล็กน้อยแล้วบีบนิ้วทั้งสองเข้าหากัน ถ้าหัวนมปกตินิ้วมือทั้งสองจะจับหัวนมได้ติด ถ้าหัวนมแบนหรือบุ๋ม ขณะบีบจะผลุบลงไประหว่างนิ้วทั้งสอง
การประเมินความยืดหยุ่นของลานนมหรือลานหัวนม ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือจับฐานหัวนมแล้วดึงยืดขึ้นและปล่อยเป็นจังหวะ ถ้าหัวนมยืดตามแรงได้ดี แสดงว่าลานนมมีความยืดหยุ่นดี
เกณฑ์การประเมินความผิดปกติของหัวนมและลานหัวนม
Nipple ความยาวปกติ 1cm.
บอดสนิทหรือบุ๋ม grade 0
สั้นประมาณ 0.1-0.3 cm. grad 1+
สั้นประมาณ 0.4-0.6 cm grade 2+
สั้นประมาณ 0.7-1.0 cm. grade 3+
Areola
ลานหัวนมตึงมาก grade 0
ตึงค่อนข้างมาก grade 1+
ตึงปานกลาง grade 2+
หัวนมนุ่มดี grade 3+
หัวนมเหลว grade 4+
วิธีการแก้ไขความผิดปกติของหัวนม
Hoffmann's maneuver โดยให้วางหัวแม่มือชิดโคนหัวนม กดนิ้วพร้อมรูดจากฐานหัวนมในทิศทางซ้ายขวาออกเบาๆ เปลี่ยนเป็นวางในทิศบนล่างและดึงออกเบาๆ นับเป็น 1 ครั้ง บริหารข้างละ 30 ครั้งหลังอาบน้ำ จนกว่าจะคลอดให้ผลดีในรายหัวนมบุ๋มเล็กน้อย
การใช้ปทุมแก้ว Breast shells หรือ Breast cups โดยจะใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เริ่มต้นด้วยใส่วันละ 2-3 hr. สามารถใช้ได้ทุกอายุครรภ์
nipple puller ใช้นิ้วมือบีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนม ปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบาๆ หรือการใช้ syring puller โดยดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอก แล้วนำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิท ดึงลูกสูบช้าๆจนเห็วหัวนมยื่นยาวออกมา สำหรับการใช้ Syring puller และ nipple puller ใช้เมื่อายุครรภ์ 24 wk.ขึ้นไป
การตรวจครรภ์
วัตถุประสงค์
เปรีบเทียบขนาดของมดลูกกับระยะ ปจด.
วินิจฉัยสภาพของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในลักษณะเช่นไร
วินิจฉัยว่าทารกมีชีวิตอยู่ไหม
วินิจฉัยความผิดปกติอื่นๆ
การประเมินลักษณะทารกในครรภ์มารดา
Fetal Ovoid ทุกส่วนของร่างกายงอเข้าหากัน ลักษณะเป็นรูปไข่ มีแกนตามยาว คือแนวยาวตามลำตัวทารก มีขั้ว 2 ขั้วคือ cephalic pole ทางด้านหัว และ caudal pole ได้แก่ ก้นทารกหรือ breech หมายถึงก้นและส่วนต่างๆของทารกด้วย
ส่วนต่างๆของทารก
รอยต่อระหว่างกระดูก Suture ที่สำคัญในการคลอด
Frontal suture อยู่ระหว่างกระดูก frontal
Coronal suture อยู่ระหว่าง frontal และกระดูก parietal
Sagittal suture หรือรอยต่อแสกกลางอยู่ระหว่างกระดูก parietalcสำคัญมากที่สุดในการคลอด
Lambdoid suture อยู่ระหว่างกระดูก parietalและ occipital
ขม่อม Frontanal
ขม่อมหน้าหรือขม่อมใหญ่ anterior/greater/large fontanal รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
ขม่อมหลังหรือขม่อมน้อย posterior/lesser/small fontanal เป็นรูป 3 เหลี่ยม
ส่วนต่างๆของหัวเด็ก
ส่วนหน้า face จากคางถึงระหว่างคิ้ว glabella
ส่วนหน้าผาก sinciput/brow ส่วนจาก glbella ถึงขม่อมหน้าหรือบริเวณกระดูก frontal
ส่วนยอดศีรษะ vertex จากบริเวณขม่อมหน้าถึงขม่อมหลัง
ส่วนท้ายทอย occiput บริเวณที่อยู่ระหว่างขม่อมหลังถึงปุ่มกระดูก occiptal protuberance
ส่วนใต้ท้ายทอย subocciput ส่วนที่อยู่ต่ำกว่าปุ่มกระดูก occipital protuberance มีความสำคัญในการคลอดมาก
ส่วนใต้คาง submentum
ขนาดของส่วนต่างๆของเด็กที่ใช้ในการคลอดท่าต่างๆ
Biparietal อยู่ระหว่างส่วนนูนที่สุดของกระดูก parietal เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของหัว ไม่ว่าหัวเด็กจะก้มหรือเงยมากน้อยเพียงใจ กว้าง 9.25 cm.
Bitemporal อยู่ระหว่างที่สุดของกระดูก temporal กว้าง 8 cm.
Suboccipito-bregmatic (SOB) วัดจากบริเวณใต้ท้ายทอยถึงบริเวณขม่อมหน้า ความยาวด้านหลัง 9.5 cm. เป็นส่วนของทารกใช้คลอดปกติ ในลักษณะที่ศีรษะก้มเต็มที่
Suboccipito-frontal (SOF) วัดจากบริเวณท้ายทอยถึงบริเวณส่วนที่นูนที่สุดของกระดูกfrontal ความยาวด้านหน้าและหลัง 10.5 cm. ส่วนนี้จะเกิดในรายที่หัวเด็กก้มไม่เต็มที่ มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของหัวที่จะผ่านบริเวณปากช่องคลอดออกมาในการคลอดปกติ
Occipito-frontal (OF) วัดจากบริเวณส่วนนูนที่สุดบนกระดูก occipital ถึงกระดูก frontal ความยาวหน้าหลัง 11.5 cm
Occipito-mental (OM) วัดจากคางถึงขม่อมหลัง ความยาวหน้าหลัง 13.0-13.5 cm. จะเกิดขึ้นในรายที่หน้าแหงนปานกลาง จะคลอดไม่ได้
Frontal-mental (FM) ส่วนโยรอบของใบหน้า ทารกจะเอาส่วนนี้ลงในการคลอดท่าหน้า ความยาวหน้าหลัง 9 cm
Submento-bregmatic (SMB) วัดจาดใต้คางถึงขม่อมหน้า ยาวหน้าหลัง 11 cm. ส่วนนี้จะผ่านช่องเชิงกรานในการคลอดท่าหน้า เป็นส่วนใหญ่ที่สุดในการคลอดท่าหน้า