Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) ทำโดยนางสาวนาตยา หมานจิตร …
โรคชิคุนกุนยา
(Chikungunya)
ทำโดยนางสาวนาตยา หมานจิตร
รหัสนักศึกษา 592901033
เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก… ไม่มีการรักษาจำเพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ
อาการของโรค
ลักษณะของอาการปวดข้อ จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย (migratory polyarthritis) บางครั้งจะอักเสบบวมแดง และเจ็บจนกระทั่งไม่สามารถขยับข้อได้
อาการปวดข้อมักจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ (โดยปกติ) หรือบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และมีอาการอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ โดยเฉพาะข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า
อาการไข้จะลดลงภาในเวลา 2-3 วัน
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน (38-40 °C) ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
สาเหตุของโรค
“เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา” ติดต่อโดยมียุงลาย (Aedes mosquitoes) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ซึ่งรวมทั้งยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูงซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ เรียกวงชีวิตดังกล่าวว่า วงจรในเมือง (Urban cycle or Domestic cycle)
สถานการณ์การระบาด
ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2525 ได้มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาทั่วประเทศแถบแอฟริกาและเอเซีย หลังจากนั้นโรคก็หายไปช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 ได้มีการกลับมาระบาดซ้ำ (re-emerging) ในประเทศอินเดียและได้มีการกระจายของโรคไปทั่วทวีปเอเซีย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2501 ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียดนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย ล่าสุดจะพบการระบาดอีกครั้งในช่วงต้นปี 2552 ที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา และปัตตานีส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาสะสมรวมกว่า 17,954 รายแล้ว
(ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2552)
การวินิจฉัยโรค
2.
โดยการเพาะเชื้อในลูกหนูแรกเกิด ในยุง หรือในเซลล์เพาะเลี้ยง
3.
สำหรับวิธี RT-PCR (Reverse transcriptase–polymerase chain reaction) มีการใช้กัน มากขึ้น
1.
โดยวิธีการตรวจหาไตเตอร์ในซีรัม เช่น Enzyme-linked immunosorbent assays (ELISA) เพื่อตรวจหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG ต่อเชื้อ Alphavirus ซึ่งระดับ IgM มักจะสูงสุดช่วง 3-5 สัปดาห์หลังเริ่มป่วย และคงอยู่นานประมาณ 2 เดือน และอาจแยกเชื้อไวรัสจากเลือดผู้ป่วยระยะเริ่มมีอาการในช่วง 2-3 วันได้
4.
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาโดยใช้ real-time PCR และเทคนิคทาง bioinformatics ร่วมกับ molecular (genetics and proteomics) tecniques เข้ามาใช้ในการวินิจฉัยเพื่อยืนยันการติดเชื้อและแยกสายพันธ์ของไวรัสชิคุนกุนยาเพิ่มมากขึ้น
การรักษา
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ กินยาแก้ปวด เพื่อลดไข้ (ห้ามกิน ยาแอสไพรินลดไข้ เนื่องจากจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น) และเช็ดตัวด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะเพื่อช่วยลดไข้ รวมทั้งให้ผู้ป่วยดื่มน้ำและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง สำหรับวัคซีนในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสชิคุนกุนยาแต่มีทีมนักวิจัยพยายามพัฒนาวัคซีนชนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น formalin inactivated vaccine, live attenuate vaccine, DNA vaccine และ recombinant vaccine เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างไข้เดงกี (Dengue fever : DF)
กับการติดเชื้อ chikungunya
3.
พบอาการปวดข้อร่วมกับข้ออักเสบบวมแดงในชิคุนกุนยามากกว่าไข้เดงกี
4.
การตรวจพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนังได้ทั้งไข้เดงกีและชิคุนกุนยา แต่เมื่อเปรียบเทียบการพบจุดเลือดออกจากการทดสอบทูนิเกต์จะพบในชิคุนกุนยาน้อยกว่า ไข้เดงกี
2.
ระยะของไข้สั้นกว่าในไข้เดงกี ผู้ป่วย chikungunya จะมีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน แต่ในไข้เดงกีส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
5.
พบผื่นที่มีลักษณะวงขาวๆ ( convalescent petechial rash) ในชิคุนกุนยาน้อยกว่า ไข้เดงกี
1.
ภาวะไข้สูงในชิคุนกุนยามักจะเกิดขึ้นฉับพลันกว่าในไข้เดงกี
แหล่งอ้างอิง :อาจารย์นัฏฐเนศวร์ ลับเลิศลบ.โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya ) สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562จากเวปไซต์ :
http://www.tm.mahidol.ac.th/eng/tropical-medicine-knowledge/chikungunya.htm