Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะมีบุตรยาก Infertility (การรายงานการวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Normozoospermia…
ภาวะมีบุตรยาก Infertility
ความหมาย
การมีสามารถตั้งครรภ์ได้ภายหลังจากได้พยายามให้ตั้งครรภ์ด้วยการมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่คุมกำเนิด สัปดาห์ละอย่างน้อย 2-3 ครั้งจะมีการตั้งครรภ์ 50% ภายใน 5 เดือน และเพิ่มขึ้น 80-90% ในเวลา 1 ปี สำหรับสตรี 30-35 ปีขึ้นไปจะกำหนดเวลาที่ 6 เดือนในการวินิจฉัยว่าภาวะมีบุตรยาก
ประเภทของภาวะมีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยากปฐมภูมิ Primary infertility คือ คู่สมรสที่ไม่เคยตั้งครรภ์ พยายามตั้งครรภ์โดยไม่คมกำเนิด นานอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่ตั้งครรภ์
ภาวะมีบุตรยากทุติยภูมิ Secondary infertility คู่สมรสที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน แล้วไม่ตั้งครรภ์อีกหลังจากพยายามตั้งครรภ์นานอย่างน้อย 1 ปี
สาเหตุ
สาเหตุในฝ่ายหญิง
ไม่มีการตกไข่
ความผิดปกติของอวัยวะอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ท่อนำไข่ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ความผิดปกติของปากมดลูก เช่น การอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกติแต่กำเนิด
สาเหตุในฝ่ายชาย
การหลั่งเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ
ความผิดปกตืของอัณฑะ เช่นอัณฑะเล็ก
การติดเชื้อหรือการอักเสบ เช่น คางทูม วัณโรค กามโรค ซิฟิลิส
อัณฑะมีสภาพไม่เหมาะสม เช่น มีเส้นเลือดขอดในถุงอันฑะ
ความผิดปกติของต่อไร้ท่อ
เกิดภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ
สภาพจิตใจ เช่น วิตกกังวล เครียด
ความผิดปกติของทางผ่านเชื้อสุจิ
ความผิดปกติในน้ำอสุจิ
ความผิดปกติในการหลั่งเชื้ออสุจิเข้าช่องคลอด
สาเหตุอื่นๆ เช่น ร่วมเพศบ่อยเกินไป
สาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของทั้งสองฝ่าย
อายุของคู่สมรส อายุที่เหมาะสม 20-30 ปี
มีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป
มีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินไป ซึ่งอสุจิจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับตนเองใช้เวลาประมาณ 60-72 ชม. เมื่อขับออกจะใช้เวลาประมาณ 2 วันถึงจะผลิตออกมาเต็มที่
ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
ขาดความรู้หรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ปัจจัยเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่มีผลทำให้โอกาสการตั้งครรภ์น้อยลง เช่น การใช้ท่า น้ำยาหล่อลื่น
ภาวะมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ
ภาวะจิตใจและอารมณ์
การวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
ค้นหาสาเหตุในฝ่ายหญิง
การซักประวัติ
ความเจ็บป่วยในอดีต
การคุมกำเนิด โดยเฉพาะการคุมกำเนิดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
การมีประจำเดือน
การตั้งครรภ์และปัญหาแทรกซ้อนหลังคลอด
การแต่งงาน จำนวนครั้งในการแต่งงาน
ปัญหาและอุปสรรค์ในการมีเพศสัมพันธ์
ประวัติการมีน้ำนมไหล
อาชีพและปัญหาการใช้ยาเสพติด
การตรวจร่างกาย ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อ เต้านม
การตรวจภายใน ดูความผิดปกติของปากมดลูก ปีกมดลูก รังไข่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อดูหมู่เลือด และฮอร์โมน
ตรวจหาเชื้อและความผิดปกติของเนื้อเยื่อ ตรวจหาเชื้อหนองใน หาเซลล์มะเร็งปากมดลูก
ตรวจเลือดหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
การตรวจพิเศษทางนรีเวช
การตรวจปีกมดลูก Tubal patency test
การตรวจสอบการตกไข่ Ovulation test
.ใช้กล้องส่องไปในมดูก
การวัดอุณหภูมิร่างกายขณะก่อนนอนและตอนเช้า
การขูดมดลูกเพื่อตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก
การตรวจมูกบริเวณปากมดลูก
ตรวจสอบความเป็นกรด -ด่างของมูกที่บริเวณปากมดลูก ค่าที่เหมาะ 7 - 8.5
การตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิในมูกในระยะที่มีการตกไข่
การตรวจดูความผิดปกติและพยาธิสภาพของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
การประเมินคุณภาพของมูกที่ปากมดลูก
ค้นหาสาเหตุในฝ่ายชาย
ซักประวัติ
อายุ ระยะเวลาของการสมรส
ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เทคนิค วิธีการ
ประวัติการมีบุตรมาก่อน
ประวัติการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยากที่เคยผ่านมา
การผ่าตัดที่เคยได้รับหรือการได้รับบาดเจ็บต่อลูกอัณฑะ
ประวัติในครอบครัวกับการเกิดภาวะมีบุตรยาก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การอักเสบของอัณฑะที่เกิดจากเชื้อคางทูม
ประวัติพัฒนาทางเพศ
อาการที่ผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
ประวัติการได้รับยาหรือการใช้สารเสพติด
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายทั่วไป นน. สส. BMI , BP , ภาวะทางโภชนาการ
การตรวจเต้านมเพื่อดูภาวะ Gynecomastia หรือ Galactorrhea
การตรวจต่อมไทรอยด์
การคลำขนาดของตับ เพื่อค้นหาภาวะบางอย่างเช่น Cirrhosis
การคลำดูต่อมน้ำเหลือง มักสัมพันธ์กับ Hodgkin's disease
การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์
การตรวจองคชาต
การคลำต่อมลูกหมาก
การตรวจหลอดนำอสุจิ
การคลำ vas adeferens
การตรวจอัณฑะ
การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ Semen analysis
งดมีเพศสัมพันธ์รวมถึงการหลั่งน้ำกามอย่างน้อย 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน
ล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดก่อนเก็บน้ำอสุจิ
เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง Masturbation
ไม่ควรใช้วิธีมีเพศสัมพันธ์แล้วหลั่งนอก
ห้ามเก็บโดยใช้ถุงยางอนามัย
ควรเก็บอสุจิทุกหยดเพื่อจะได้มีการวิเคราะห์เป็นค่าเฉลี่ยที่ถูกต้อง
เก็บน้ำอสุจิใส่ภาชนะที่สะอาดและแห้งมีฝาปิดสนิท
หากเก็บอสุจิมาแต่บ้าน ควบคุมอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 20 c ไม่เกิน 40 c แล้วนำส่งตรวจภายใน 1 hr.
การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ
ปริมาณ Volume/การหลั่ง 1 ครั้ง = 2 ml
ความเข้มข้นของตัวอสุจิ Sperm concentration = 20 ล้านตัว / ml
จำนวนตัวอสุจิทั้งหมด Total sperm number = 40 ล้านตัว
การเคลื่อนไหว motility = 50% ของอสุจิทั้งหมด เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
ลักษณะปกติ Morphology = 30% ของอสุจิทั้งหมดมีลักษณะปกติ
การมีชีวิตของตัวอสุจิ Vitality 75 %ของอสุจิทั้งหมดที่มีชีวิต
จำนวนเม็ดเลือดขาว = น้อยกว่า 1 ล้านตัว
ค่าความเป็นกรด - ด่าง = 7.2 -8
การรายงานการวิเคราะห์น้ำอสุจิ
Normozoospermia น้ำอสุจิมีค่าปกติทั้งหมด
Oligozoospermia มีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่า 20 ล้านตัว/ml
Asthenozoospermia อสุจิที่เคลื่อนไหวผิดปกติมากกว่า 50%
Teratozoospermia อสุจิรูปร่างผิดปกติมากกว่า 30%
Necrozoospermia ตัวอสุจิทั้งหมดไม่มีการเคลื่อนไหว
Azoospermia ไม่พบตัวอสุจิ
Aspermia ไม่มีน้ำอสุจิออกมาเลย
การค้นหาในฝ่ายชาย (ต่อ)
การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
การตรวจประเมินทางพันธุกรรม
การตรวจระดับฮอร์โมน
การทดสอบคสามารถของเชื้ออสุจิ
การประเมินสภาพจิตใจ