Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่มีภาวะติดเชื้อ (ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด …
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ที่มีภาวะติดเชื้อ
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด
(neonatal sepsis)
แบ่งเป็น 2 ระยะ
ภาวะติดเชื้อในระยะแรก(Early onset sepsis; EOS)
เป็นภาวะที่การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นก่อน 72 ชั่วโมง หลังเกิด เป็นการติดเชื้อที่ติดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์เกิดขึ้นระหว่างทารกเกิดและหลังทารกเกิด
มักพบ ในทารกเกิดก่อนกำหนด ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การคลอดล่าช้า หรือการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ E.Coli, group B streptococci, Hemophilus Influenza, Enterobacter
ภาวะติดเชื้อในระยะหลัง (Late onset sepsis; LOS)
การติดเชื้อที่เกิดระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection) โดยการปนเปื้อนเชื้อจากทารกรายอื่น บุคลากรหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ทุกระบบปัจจัยเสี่ยงได้แก่การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวทารก (ยิ่งน้อยยิ่งติดเชื้อได้ง่าย) สิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย ได้แก่อัตราส่วนของทารกต่อพยาบาล
อ่างล้างมือ การถ่ายเทอากาศ เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ Candida, staphylococci, Klebsiella, Enterococci, pseudomonas เป็นต้น
อาการตามระบบที่พบ
ระบบทางเดินอาหาร เช่นมีอาการของ poor feeding ไม่ดูดนม หรือดูดนมน้อยลง ท้องอืด สำรอกนม มีอาการตัวเหลืองที่มีตับโต (คลำตับได้มากกว่า 2 เซนติเมตรใต้ชายโครงขวา) ม้ามโตร่วมด้วยซึ่งมักพบในทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง
ระบบไหลเวียนโลหิต ทารกในครรภ์ที่มีอาการหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 180 ครั้ง/นาทีเป็นอาการเริ่มแรกที่บ่งบอกการติดเชื้อของทารก ทารกแรกเกิดบางรายอาจมีหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ความดันโลหิตต่ำ
ระบบประสาท เช่น ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น ลักษณะดูไม่ปกติ
ซึม เคลื่อนไหวน้อยลง ชัก
ระบบหายใจ เช่น หายใจเร็ว หายใจหน้าอกบุ๋ม จมูกบาน หรือมีเสียงร้องครางเวลาหายใจออก (grunting) หยุดหายใจ ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
ระบบโลหิตวิทยา เช่นมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ( petechiae)
การควบคุมอุณหภูมิกาย อาจจะมีไข้หรืออุณหภูมิกายต่ำ ถ้าทารกเกิดก่อนกำหนดมีอุณหภูมิกายต่ำ แม้จะเพิ่มอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมแล้ว มักจะบ่งชี้ว่าทารกมีการติดเชื้อ
ระบบเมตาบอลิซึม จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึมเนื่องจากการควบคุมน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้ำตาลในเลือดต่ำ
ตามด้วยเลือดเป็นกรด และน้ำตาลในเลือดสูง
การวินิจฉัย
1) การซักประวัติเช่นประวัติน้ำเดินก่อนคลอด การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
2) การตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ
3) การวินิจฉัยเฉพาะ ( Specific diagnosis ) เช่น การเพาะเชื้อในเลือด เพาะเชื้อน้ำไขสันหลัง เพาะเชื้อปัสสาวะ เพาะเชื้อเสมหะในปอด และอื่นๆ
4) การตรวจเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนภาวะติดเชื้อ เช่น การตรวจ CBC, CRP, Micro-ESR
การรักษา
การรักษาเสริม ได้แก่ Intravenous immunoglobulin, IVIG เพื่อเพิ่ม Ig G โดยให้ 500-750 mg/kg ครั้งเดียวในรายที่ติดเชื้อรุนแรง การให้เม็ดเลือดขาว glanulocyte ทางหลอดเลือดดำ การเปลี่ยนถ่ายเลือด การให้ lactoferrin ทางปาก
การรักษาประคับประคอง การรักษาภาวะช็อค electrolyte imbalance การดูแลทารกแรกเกิดตามอาการที่เกิดขึ้น เช่นเช็ดตัวในรายที่มีไข้ รักษาความอบอุ่นถ้าทารกมีอุณหภูมิกายต่ำ เป็นต้น
การให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็น EOS ให้ยากลุ่ม penicillin เช่น ampicillin
ร่วมกับยากลุ่ม aminoglycoside ได้แก่ gentamycin ถ้้ามีอาการหลัง 3-4 วัน (LOS) ให้gentamycin หรือ amikacin ร่วมกับ cloxacillin หรือ vancomysin ระยะเวลาที่ให้ 7-10 วันในรายที่ผลเพราะเชื้อเป็นบวก
ในรายที่ผลเป็นลบหยุดยาเมื่อให้ครบ 3 วัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญ
มีภาวะติดเชื้อทั่วร่างกายเนื่องจากการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ/
การคลอดล่าช้า
กิจกรรมการพยาบาล
ใช้เครื่องมือที่ผ่านการทำให้สะอาดปราศจากเชื้อ
แยกทารกที่มีการติดเชื้อ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยสวมหมวก ผูกผ้าปิดปากและจมูก
ดูแลให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่จำเป็น เช่น ทารกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีสุกอีใสสูงควรได้รับ varicella zoster immune globulin (VZIG) หรือแม่มี HBeAg ในเลือดทารกควรได้รับ Hepatitis B immune globulin (HBIG) 0.5 เข้ากล้ามเนื้อหลังคลอดตามด้วย Hepatitis B vaccine ตามปกติ
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลัก aseptic technique
ส่งเสริมให้ได้รับนมแม่เพื่อให้ทารกได้รับ Ig G Ig A antibody เฉพาะ
ดูแลทำความสะอาดร่างกายทารกด้วยผลิตภัณฑ์ที่มี pH 5.5 เพราะเด็กทารกจะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ซึ่ง pH 5.5 จะเป็นกรดอ่อนๆ ไม่มีค่าเป็นกรดหรือด่างสูง ช่วยปกป้องผิวจากเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคต่างๆ
บิดามารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตรและไม่สามารถแสดงบทบาทบิดามารดาได้เต็มที่
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้แก่บิดา มารดาเกี่ยวกับอาการสุขภาพของทารก
เปิดโอกาสให้บิดา มารดาเข้าเยี่ยมและอุ้มทารกหรือดูแลทารก
จัดให้บิดา มารดาได้พบปะพูดคุยกับแพทย์เพื่อรับทราบแผนการรักษา
ตอบคำถาม ข้อข้องใจของบิดามารดา
เปิดโอกาสให้บิดา มารดาได้ซักถามหรือระบายความรู้สึก
ความหมาย
เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด เนื่องจากทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันทั่วไป และภูมิคุ้มกันเฉพาะต่ำ มีการ ตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางเคมีช้า ไม่มี IgA และมี IgM จำนวนน้อย ซึ่งภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย
Necrotizing Enterocolitis (NEC)
ความหมาย
ภาวะติดเชื้อในลำไส้เล็กทำใหเ้กิด
การอักเสบเน่า พบมากที่สุดที่ลำไส้เล็ก
ส่วน ileam
แบ่งเป็น 3 ระยะ
Stage 2 Definite NEC
ท้องอืดมากขึ้น ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
film abdomen พบ ileus และ
pneumatosis intestinalis (ก๊าซที่ผนังลำไส้)
Stage 3 Advanced NEC
อาการเหมือนระยะที่ 2 ร่วมกับสัญญาณชีพแย่ลง มี
septic shock film abdomen พบ ascitis (มีของเหลวในช่องท้อง), portal vein gas (มีก๊าซในหลอดเลือดดำ),
persistent dilated bowel loops (เห็นลำไส้โป่งพองและอยู่คงที่) , pneumoperitoneam (มีลมในช่องท้อง)
Stage 1 Suspected NEC
Stage 1 Suspected NEC มีประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารก stress ในระยะ perinatal รับนมไม่ได้ มี residual content เหลือมาก อาเจียนน้ำดีหรือเลือดปน ท้องอืดเล็กน้อย ตรวจอุจจาระมีเลือดปน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ซึม หยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า film abdomen พบ ileus
การวินิจฉัย
film abdomen
ascitis (มีของเหลวในช่องท้อง) , portal vein gas (มีก๊าซในหลอดเลือดดำ) , persistent dilated bowel loop (เห็นลำไส้โป่งพองและอยู่คงที่)
ตรวจร่างกาย
ท้องอืด ผนังหน้าท้องมีสีแดง คลำได้ก้อนในช่องท้อง
การรักษา
Stage 1,2
รักษาโดยไม่ผ่าตัดโดยให้ NPO 1-2 สัปดาห์ ใส่ NG tube ดูดของเหลวและลมออกจากกระเพาะอาหาร ให้สารน้ำ electrolyte
และสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Stage 3
รักษาโดยการผ่าตัด
Anastomosis ในรายที่ทารกมีลำไส้เน่าเสียไม่มาก สามารถตัดต่อได้ใ้นห้องผ่าตัด
Ostomy ในรายที่ลำไส้เน่าเสีย มีความยาว >5-10 cm ต้องตัดลำไส้ส่วนนั้นทิ้งและเปิดปลายลำไส้ออกทางหน้าท้องเพื่อระบายอุจจาระ หลังจากนั้นผ่าตัด pull through operation เมื่อทารกน้ำหนัก 10 kg หรือเมื่ออายุ 1 ปี
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะติดเชื้อทั่วร่างกายเนื่องจากสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดยังทำงานไม่สมบูรณ์
ดูแลความสะอาดร่างกายของทารก
โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี PH 5.5
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
ทุกครั้ง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยสวมหมวก ผูกผ้าปิดปากและจมูก
ใส่กาวน์ เมื่อพยาบาลและเจ้าหน้าที่ป่วยเป็นโรคทางเดินระบบหายใจ
ท้องเดิน ติดเชื้อที่ผิวหนัง
ใช้เครื่องมือที่สะอาด หรือผ่านวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อ
ประเมินแหล่งของการติดเชื้อต่างๆ
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชม.
พร้อมทั้งสังเกตอาการและอาการแสดงต่างๆที่ผิดปกติ
ปฏิบัติการพยาบาลแก่ทารก
โดยใช้หลัก aseptic technique
ดูแลให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่จำเป็น
ส่งเสริมให้ได้รับนมแม่เพื่อให้ทารกได้รับ Ig G Ig A antibody เฉพาะ
ติดตามและบันทึกผล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลทารกให้ได้รับยาฆ่าเชื้อ ตามแผนการรักษาของแพทย์ และสังเกตผลข้างเคียงของยา
บิดามารดามีความวิตกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตร
ให้ความรู้แก่บิดา มารดาเกี่ยวกับอาหาสุขภาพของทารก และความจำเป็นของการรักษาพยาบาล พร้อมเหตุผลตามความเหมาะสม
เปิดโอกาสให้บิดา มารดาเข้าเยี่ยมและอุ้มทารกหรือดูแลทารก
เปิดโอกาสให้บิดา มารดาได้ซักถามหรือระบายความรู้สึก พร้อมทั้งแสดงความเห็นใจและให้กำลังใจ
ตอบคำถาม ข้อคับข้องใจของบิดามารดา
จัดให้บิดา มารดาได้พบปะพูดคุย
กับแพทย์เพื่อรับทราบแผนการรักษา