Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (เซ็นเซอร์ (เซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ…
อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เซ็นเซอร์
เซนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนปริมาณทางกายภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เซนเซอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้ากันจำนวนมาก
1.เซ็นเซอร์ตรวจจับการสัมผัส (touch sensor)
1.สวิตช์กลไก (mechanical switch) เป็นอุปกรณ์แบบกลไก ทำหน้าที่ตัด ต่อ วงจร ไฟฟ้าเมื่อได้รับแรงกดสวิตช์แบบนี้มักจะนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือเครื่องจักรที่เป็นระบบอัตโนมัติ
2.เซ็นเซอร์ตรวจจับแสง (optical sensor)
โฟโตไดโอด (phonto diode) เป็นเซ็นเซอร์แสงที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยค่าการนำกระแสไฟฟ้าจะมากขึ้นเมื่อความเข้มแสงมากขึ้น ใช้งานในวงจร เปิด-ปิดไฟถนนอัตโนมัติ
3.เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ (lemperature sensor)
อาทีดี(Resistor Temperature Detector: RTD) ใช้หลักการที่มีค่าความต้านทานมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยุ่กับค่าอุณหภูมิ มักใช้ในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีราคาแพง
4.เซ็นเซอร์ตรวจจับเสียง (sound sensor)
1.คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (condenser microphone) เปลี่ยนเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนจะขึ้นกับค่าความดังและความถี่เสียงไมโครโฟนชนิดนี้นำไปใช้ในโทรศัพท์ไร้สายวงจรตรวจจับเสียง
มอเตอร์
มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ลักษณะของมอเตอร์ประกอบไปด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว สำหรับเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้ามีแกนเหล็กยื่นออกมาจากตัวมอเตอร์ เรียกว่าเพลามอเตอร์ ซึ้งเป็นส่วนต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ต้องการให้เกิดการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุน เช่น ใบพัด เพลาของอุปกรณ์ต่างๆ
มอเตอร์สามารถแบ่งตามประเภทการใช้กระแสไฟฟ้าได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง(direct current motor) หรือ (D.C. Motor)เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เช่น เซลล์ไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ มอเตอร์ ประเภทนี้สามารถควบคุมการหมุนให้หมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนทวนเข็มนาฬิกา หรือหยุดหมุนได้ง่าย ซึ้งอัตราเร็วของการหมุนขึ้นอยู่กับแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่จ่ายให้กับมอเตอร์
2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current motor) หรือ (A.C.motor) เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน ในชีวิตประจำวันมีการใช้งานของมอเตอร์กระแสสลับในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบหมุน เช่น เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่องปั่น
มอเตอร์กระแสสลับมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.มอเตอร์แบบหนึ่งเฟส
เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีกำลังพิกัดต่ำกว่า1แรงม้า ขนาดใหญาสุดไม่เกิน 5 แรงม้า จะใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์ มีสายไฟเข้า 2 สาย แรงม้าไม่สูง ส่วนใหญ่ตามบ้านเรือน
2.มอเตอร์แบบสามเฟส
เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้ความต่างศักย์ 380 โวลต์ มีสายไฟเข้ามอเตอร์ 3 สาย มีกำลังต่ำกว่า 1 แรงมาจนถึงขนาดแรงม้ามาก นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น ขับลูกกลิ้ง รงงานถลุงเหล็ก
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดมักมีส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ้งมีลักษณะและการทำงานที่แตกต่างกันไป
อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผ่านของกระแสไฟฟ้าใสวงจร ซึ้งมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสเป็นส่วนประกอบเพื่อควบคุมการผ่านของกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1.ตัวต้านทาน (resistor) เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโอมห์ม ในวงจรไฟฟ้าตัวต้านทานจะมีค่ามากจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ตัวต้านทานคงที้ (fixed resistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าคงที่ สามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากแถบสีที่คาดอยู่บนตัวต้านทาน
2.แอลดีอาร์ (Light Dependent Resistor : LDR) เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ โดยมีความต้านทาน เปลี่ยนไปตามปริมาณแสงที่ตกกระทบ ถ้าประมาณแสงที่ตกกระทบแอลดีอาร์มาก แอลดีอาร์จะมีค่าความต้านทานต่ำ
2.ตัวเก็บประจุ (capacitor) ทำหน้าที่เก็บสะสมประจุไฟฟ้า โดยนำสารตัวนำ 2 ชิ้นมาวางในลักษณะขนานกัน โดยระหว่างตัวนำทั้งสองจะถูกกั้นด้วยฉนวนที่เรียกว่า ไดอิเล็กตริก (dilectric) ซึ่งไดอิเล็กตริกนี้อาจจะเป็นอากาศ ไมก้า พลาสติก เซรามิก หรืสารที่มีสภาพคล้ายฉนวนอื่นๆ ประเภทของตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ ซึ่งมีในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีหลายประเภท ดังนี้
1.ตัวเก็บประจุประเถทอิเล็กโทรไลท์ ใช้ในงานที่ต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มีค่าสูงและมีเสถียรถาพดีในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง โดยมากนิยมใช้ในวงกรจ่ายกำลังไฟฟ้าสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
2.ตัวเก็บประจุประเภทเซรามิกเป็นตัวเก็บประจุที่ใช้เซรามิกเป็นไดอิเล็กตริกและเก็บประจุได้ไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด นิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก เหมาะสำหรับใช้ในวงจรย่านความถี่วิทยุ