Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารแรกเกิดที่มีภาวะหายใจลำบาก (Meconium aspiration syndrome (ปัจจัยเสี่ยง,…
ทารแรกเกิดที่มีภาวะหายใจลำบาก
ภาวะคัดจมูก
เกิดจากการใช้ลูกยางแดงดูดจมูกในห้องคลอด ทารกจะมีอาหารหายใจลำบากร่วมกับได้ยินเสียง sniffle แก้ไขโดยหยอดน้ำเกลือเข้ารูจมูกข้างละ 5 หยดทุก 2-3 ชั่วโมง
ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการใช้ลูกสูบยางแดดดูดจมูกทารกในห้องคลอด ควรใช้ผ้าซับจมูกแทน
Respiratory distress syndrome (RDS)
เกิดจากสาร surfactant ไม่เพียงพอจากการคลอดก่อนกำเนด หรือผ่าท้องทำคลอดโดยยังไม่เจ็บครรภ์
สารsurfactant สร้างสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ 35 weeks สารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอด ทำให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ทารกแรกเกิดที่มีสาร surfactant ไม่เพียงพอ ทำให้compliance ลดลง > การระบายอากาศที่ถุงลมลดลง > ventilation-perfusion imbalance > hypoxia > เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งกรดแลกติก > เพิ่การไหลลัดวงจนของเลือดจากขวาไปซ้าย ทารกจะเกิดอาการหายใจลำบาก
CXR พบhypoaeration
Transient tachypnea of the new born(TTN)
เกิดจากการปอดบวมน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการขจัดสารน้ำในถุงลมช้ากว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
การเกิดก่อนกำหนด
การผ่าท้องทำคลอดโดยที่ยังไม่เจ็บครรภ์ เพราะทารกที่คลอดผ่าทางหน้าท้อง ช่องทรวงอกจะไม่ถูกบีบ น้ำในปอดจะไม่ถูกบีบออกมาเหมือนทารกที่คลอดธรรมชาติ
มารดาเป็นเบาาหวานหรือหอบหืด
ทารกน้ำหนักตัวเกิน
ครรภ์แฝด
อาการหายใจลำบากจะหายใน 48-72 ชั่วโมง
Meconium aspiration syndrome
ทารกหายใจลำบากจากการสำลักขี้เทาขณะคลอด
ขี้เทาขนาดเล็กจะไปอุดหลอดลมฝอยไม่สมบูรณ์ ทำให้อากาศถูกกักบริเวณที่ถูกอุด และเสี่ยงต่อถุงลมแตก
ขี้เทาขนาดใหญ่จะไปอุดกั้นหลอดลมอย่างสมบูรณ์ ทำให้ถุงลมแฟบ
นอกจากนี้ส่วนประกอบของขี้เทาจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบและการทำงานของ cytokine ทำให้ neutrophil และ macrophage ไปอยู่ในถุงลม หลอดลมใหญ่ และเนื้อปอด
ปัจจัยเสี่ยง
ตั้งครรภ์เกินกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์
fetal distress
cord compression
CXR พบ hyperaeration กระบังลมขวาอยู่ต่ำกว่า intercostal ที่ 8 ร่วมกับ ปอดดำ (hyperlucency) หรือ patchy infiltrates มักพบ pneumothoraxได้บ่อย
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
มีอาการหายใจเร็วโดยไม่มี retraction มีอาการเขียวแม้ให้ oxygen
การวินิจฉัย
ประวัติการตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์แฝด(มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงเสี่ยงต่อ RDS)
ภาวะน้ำคร่ำน้อย(สัมพันธ์กับภาวะปอดเจริญน้อย)
น้ำคร่ำมากเกิดการอุดตันของหลอดอาหาร หรือลำไส้ส่วนต้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะหายใจลำบากได้บ่อย
เบาหวานในมารดา(พบRDS,TTN)
CXR
ประวัติการคลอด
PROM
หากมี PROMควรส่ง CBC,hemoculture
การคลอดก่อนกำหนด (พบ RDS ร้อยละ 60)
คลอดแบบ elective cesarean section
เบ่งคลอดน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในครรภ์แรก สั้นกว่า 30 นาทีในครรภ์หลัง
น้ำคร่ำมีขี้เทา
หายใจน้อยกว่า 30 ครั้ง/นาที หรือ มากกว่า 60 ครั้ง/นาที
เวลาที่ปรากฏอาการ
RDS,TTN,MAS มักเกิดขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมงแรกเกิด
หากเกิน 3 ชั่่วโมงมักจะเป็น หัวใจพิการแต่กำเนิด pneumothorax
การรักษา
ให้ออกซิเจน Humidified high flow nasal cannula : HHFNC หรือ continuous positive airway pressure : CPAP
รักษา O2 saturation 90-95 %
ช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ เมื่อมีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่ง
ภาวะ respiratory acidosis PaCO2 > 50 mmHg ,pH > 7.2
Hypoxia PaCO2<50mmHg เมื่อได้รับออกซิเจนความเข้มข้น 50%
ภาวะหยุดหายใจรุนแรง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญ
ลักษณะการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการอุดกั้นของหลอดลม / มีการขยายตัวของปอดลดลง
การกำจัดเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการอุดกั้นของหลอดลมจากสารคัดหลั่งหรือสิ่งแปลกปลอม
มีภาวะพร่องในการแลกเปลี่ยนก๊าซเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อของหลอดเลือดฝอยในถุงลม / มีการสูดสำลักขี้เทา / ขาดสารลดแรงตึงผิวในถุงลม
การพยาบาล
ควบคุมการทำงานของ humidifier ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ
จัดท่านอนคอเหยียดเล็กน้อย เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง
ถ้ามีเสมหะ ให้จัดท่านอนทารก นอนราบตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้เสมหะไหลออกได้ง่าย
หากหายใจลำบาก ให้นอนศีรษะสูงหรือนอนราบ และใช้ผ้าหนุนบริเวณคอและไหล่เพื่อให้ศีรษะหงายไปด้านหลัง จะทำให้ทางเดินหายใจเปิดตลอดเวลา
ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น