Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนครอบครัวและการให้คำแนะนำ (จุดมุ่งหมาย (หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พ…
การวางแผนครอบครัวและการให้คำแนะนำ
การคุมกำเนิด Contraception
ความหมาย
การป้องกันการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิหรือป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนที่ถูกผสมแล้ว
จุดมุ่งหมาย
สามารถมีบุตรเฉพาะเวลาที่ต้องการ
เว้นระยะการตั้งครรภ์ให้ห่างพอสมควร
ใช้เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์
จำกัดจำนวนบุตร
การเลือกวิธีคุมกำเนิด
ประสิทธิภาพ Effective
ความปลอดภัย Safe
ภาวะการเจริญพันธุ์ภายหลังคุมกำเนิด Return of fertility
ใช้ง่าย Simple
คนส่วนใหญ่ยอมรับ Acceptable
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว Temporary contraception
1.การกำหนดระยะปลอดภัย Safe period,Rhythm medthod คุมกำเนิดโดยการงดร่วมเพศในวันที่มีการตกไข่ การตกไข่เกิดขึ้นประมาณวันที่ 14 ของเดือน การคำนวณควรบันทึกประจำเดือนอย่างน้อย 6 เดือน หารอบที่สั้นที่สุดและยาวที่สุด
วันที่ไม่ปลอดภัย = รอบเดือนที่สั้นที่สุด - 18
วันสุดท้ายที่ไม่ปลอดภัย = รอบเดือนที่ยาวที่สุด - 11
2.วิธีวัดอุณหภูมิ Temparature method ควรวัดอุณหภูมิก่อนเข้านอนและตอนเช้า บันทึกเป็นเวลา 3 เดือน โดยก่อนเวลาตกไข่ 12-24 hr. อุณหภูมิร่างกายจะลดลงเล็กน้อย หลังตกไข่อุณหภูมจะเพิ่มขึ้น 0.2-0.5 องศสดังนั้นก่อนระยะที่มีไข่ตกจะต้องงดร่วมเพศจนกระทั่งไข่ตกไปแล้วอย่างน้อย 3 วัน
สังเกตมูกจากปาดมดลูก Cervical mucous method
-หลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ จะไม่มีมูกหรือมีมูกเล็กน้อย
-ก่อนวันตกไข่ มีมูกมากขึ้น สีเหลืองหรือขาว ขุ่นๆเหนียวๆ
-ระยะตกไข่ มูกมาก ใสลื่นคล้ายไข่ขาวดิบ ยืดได้มากกว่า 6 cm.
-หลังไข่ตกใหม่ๆ มูกน้อยลง ขุ่นข้น
-ก่อนมีประจำเดือน แห้งหรือมีมูกเป็นน้ำใสๆ
Condom
Male condom
แบบปลายเรียบมน plain end
แบบปลายกระเปาะ pocket end or reservoir
ข้อดี
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
ใช้ได้เองไม่ต้องปรึกษาแพทย์
ราคาถูก ปลอดภัย
มั่นใจในประสิทธิภาพ
ฝ่ายชายมีบทบาทในการคุมกำเนิด
ยืดระยะเวลาการหลั่งน้ำอสุจิ
ข้อเสีย
มีการล้มเหลวได้สูงหากใช้ไม่ถูกต้อง
อาจทำให้รู้สึกระคายเคือง
อาจเกิดการขัดจังหวะและสูญเสียความรู้สึกสัมผัส
Female condom
ข้อดี
ฝ่ายหญิงสามารถป้องกันได้
มีความหนาเหนียวไม่ขาดง่าย
ข้อเสีย
รูปร่างเทอะทะ ไม่น่าใช้
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
มีราคาแพง
ห่วงยางอนามัยคุมกำเนิด Intrauterine contraception device
1.ห่วงที่ไม่มีสารช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์
2.ห่วงที่มีสารช่วยส่งเสริมการออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
1.มีผลต่อตัวอ่อนก่อนระยะการฝังตัว
2.มีผลต่ออสุจิ โพรงมดลูกอาจทำให้ตัวอสุจิที่ผ่านจากโพรงมดลูกไปถึงท่อนำไข่ลดลง
ทำให้อายุของ corpus luteum ลดลง
การให้คำแนะนำ
ระยะเวลาที่เหมาะสม
ภายใน 1-10วันหลังมีประจำเดือน
หลังคอลดบุตรทางช่องคลอดทันทีหรือ 4-6 สัปดาห์
หลังคลอดบุตรโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง 8 สัปดาห์
หลังแท้งบุตรทันทีที่ไม่มีหารติดเชื้อ หรือภายใน 2-3 สัปดาห์
บอกชนิและวิธีการใส่เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจอย่างถูกต้อง
อาการข้างเคียง
เลือดออกกระปริกระปรอย หายภายใน 2-3 เดือน
ปวดท้องน้อย หายไปใน 2-3 เดือน
ตกขาว หากมีกลิ่นหรือสีผิดปกติควรมาพบแพทย์
การอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ห่วงหลุด
มดลูกทะลุ
แนะนำการตรวจสายไนร่อนควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนรวมถึงหลังมีเพศสัมพันธุ์ทุกครั้ง
ตรวจติดตามภายหลังใส่ห่วง 1,2,3,6,12 เดือนและต่อไปปีละครั้ง
งดร่วมเพศ 5-7 วันแรกหลังใส่ห่วงยาง
คำจำกัดความ
family planing คือ คู่สมรสวางแผนไว้ว่าจะมีบุตรกี่คน โดยให้บุตรเกิดมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
การวางแผนครอบครัวในประเทศไทย
1.แต่ละครอบครัวมีบุตรไม่เกิน 2 คน
2.บุตรคนแรกและคนที่ 2 ห่างกันอย่างน้อย 3 ปี
3.มารดามีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 20 ปี
จุดมุ่งหมาย
หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ควบคุมระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ให้เหมาะสม
ให้มีการตั้งครรภ์เมื่อต้องการ
เว้นระยะการมีบุตรอย่างเหมาะสม
มีจำนวนบุตรที่เหมาะสม
ยาเม็ดคุมกำเนิด Oral contraception pill
เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มี Estrogen หรือ progestogen หรือ progestins
กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์
1.ยับยั้งการตกไข่
2.ทำให้เยื่อเมือกปากมดลูกเหนียวข้น ตัวอสุจิผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ยาก
3.ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมที่จะฝังตัว
4.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อทางเดินของตัวอสุจิและไข่ในการฝังตัว
ผลจาก Estrogen
ยับยั้งการหลัง FSH ทำให้ follicle ไม่สามารถเติบโตจนถึงระยะตกไข่
เพิ่มฤทธิ์ของ Progestogen ต่อเนื้อเยื่อเป้าหมาย
ลดปัญหาเลือดออกกระปริบกระปรอยจากการใช้ Progestogen
ผลจาก progestogen
ยังยั้งการหลั่ง LH และ FSH ทำให้ follicle ไม่สามารถเจริญเติบโตและไม่มีการตกไข่
ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น
ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อตัว
มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูกและการเคลื่อนไหวของท่อนำไข่
ชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิด
1.ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม combined pill มีฮอร์โมน Estrogen และ Progertogen มีชนิดแผงละ 21 , 28 เม็ด
2.ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนตัวเดียว progestogenonlt pill หรือ mini pill มีชุดละ 28 เม็ด เช่น Exluton
3.ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนปริมาณที่สูงหรือใช้ภายหลังการร่วมเพศ postcoital pills or morning after pills การใช้ประสิทธิภาพสูงสุดไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังร่วมเพศ
ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว 1 แผงมี 2 เม็ด มีฮอร์โมน levonorgestrel สูงถึง 750
ไมโครกรัม เช่น portinor , madonna
ชนิดฮอร์โมนรวม มี Estrogen 30 , levonorgestrel 150 การรักประทาน รับประทานครั้งแรก 4 เม็ดทันที ไม่เกิน 72 ชม. ครั้งที่ 2 อีก 4 เม็ด ไม่แนะนำให้รับประทานครั้งเดียว 8 เม็ดเพราะจะมีอาการคลื่นใส้อาเจียนมาก
วิธีรับประทาน
1.รับประทานภายในวันที่ 1-5 ของรอบประจำเดือน ชนิด 28 เม็ด รับประทานจนหมดแผงแล้วเริ่มแผงใหม่ทันที / ชนิด 21-22 เม็ดรับประทานหมดแผงแล้วหยุดยา 7-6 วันจึงเริ่มแผงใหม่
หากลืมรับประทานยา 1 เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้
หากลืม 2 เม็ดในช่วงสัปดาห์แรก ให้รับประทานวันละ 2 เม็ด เช้า-เย็น ติดต่อกัน 2 วันแล้วรับประทานยาที่เหลือตามปกติ
หากลืม 2 เม็ดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ให้หยุดยา และคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น
2.ภายหลังคลอดบุตร ภายใน 4-6 สัปดาห์
3.ภายหลังแท้งบุตร ถ้าแท้งในไตรมาสแรก ให้รับประทานทันที ถ้าแท้งไตรมาส 2 ให้รับประทานหลังแท้ง 2-3 สัปดาห์
การตรวจสุขภาพของผู้ใช้ยาคุมฉุกเฉิน
ซักประวัติก่อนรับประทานยา ถ้าอายุมากกว่า 35 ปี ควรพิจารณาตรวจระดับน้ำตาบและไขมันในเลือด
ในระยะแรกควรนัดมาตรวจประมาณ 2-3 เดือน
ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด
ตั้งครรภ์
Thromboemlism
ความดันโลหิตสูงรุนแรง เบาหวาน หัวใจ
โรคตับ
มะเร็งเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์
โรคไต
ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ
ปวดศีรษะ
สตรีที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
อาการข้างเคียง
คลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะ 1-2 แผงแรก
น้ำหนักตัวเพิ่ม
เป็นฝ้า
สิว
เลือดออกกระปริบกระปรอย
ปวดศีรษะ
เจ็บตึงเต้านม
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์